ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๔๐. ใช้พฤติกรรม ถ้อยคำ และท่าทางที่แสดงว่ารักศิษย์




บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง 


ภาค ๙  สร้างความสัมพันธ์


ภาค ๙  สร้างความสัมพันธ์ แปลจาก Chapter 9 : Building Relationships   เป็นเรื่องการสร้างสภาพจิตใจของนักเรียนว่าตนเป็นคนมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น คือครูและเพื่อนๆ    ซึ่งเป็นสภาพจิตที่เอื้อต่อการเรียนรู้    เพราะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจ     โดยมียุทธศาสตร์เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ๓ ยุทธศาสตร์ ดังเสนอในตอนที่ ๔๐ - ๔๒

 

ตอนที่ ๔๐ ใช้พฤติกรรม ถ้อยคำ และท่าทางที่แสดงว่ารักศิษย์  ตีความจาก Element 38 : Using Verbal and Nonverbal Behaviors That Indicate Affection to Students


การใช้พฤติกรรม ถ้อยคำ และท่าทางที่แสดงว่ารักศิษย์ เป็นสิ่งตรงไปตรงมาสำหรับแสดงให้นักเรียนเห็นว่าตนได้รับการต้อนรับ ยอมรับ และเห็นคุณค่า    

 

คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการใช้พฤติกรรม ถ้อยคำ และท่าทางที่แสดงว่ารักศิษย์    คือ    “ครูจะแสดงพฤติกรรม ถ้อยคำ และท่าทางอย่างไร ถที่แสดงว่ารักศิษย์”

ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้พฤติกรรม ถ้อยคำ และท่าทาง ที่แสดงว่ารักศิษย์   มีดังต่อไปนี้





หลักการสำคัญคือ การสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างครูกับนักเรียน  และระหว่างนักเรียนกับนักเรียน    เพื่อให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเป็นบุคคลสำคัญ ที่จะต้องรักษาสถานะนี้ไว้ โดยการประพฤติดี     และสภาพจิตใจที่รู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับ จะช่วยเป็นพื้นฐานที่หนุนความสำเร็จในการเรียนรู้


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนบอกว่าครูเอาใจใส่นักเรียน
  • นักเรียนบอกว่าชั้นเรียนเป็นสถานที่แห่งมิตรภาพ
  • นักเรียนตอบสนองคำพูดของครู
  • นักเรียตอบสนองอวัจนะภาษาของครู



วิจารณ์ พานิช

๑๓ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 632046เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท