SCImago Institutions Ranking 2017


เกณฑ์ในการพิจารณาจัดอันดับองค์กรวิจัยระดับโลกใน SIR 2017 ประกอบด้วย 12 ตัวชี้วัด จำแนกได้เป็น 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย (Research) 50%, ด้านนวัตกรรม (Innovation) 30% และด้านผลกระทบต่อสังคม (Societal Impact) 20%

SIR 2017

ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 มีการเผยแพร่ผลการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยระดับโลก ประจำปี ค.ศ. 2017 ที่เรียกว่า SCImago Institutions Rankings 2017 (เรียกย่อว่า SIR 2017) ที่ http://www.scimagoir.com/rankings.php?sector=all

                  ใน SIR 2017 มีองค์กรที่มีผลงานวิจัยทั่วโลก 5250 แห่ง ได้รับการจัดอันดับ โดย 2966 แห่งเป็นมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา นอกนั้นเป็นองค์กรอื่นๆ ได้แก่สถาบันวิจัย โรงพยาบาล และศูนย์วิจัยต่างๆ ปรากฏผลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

World Top 10 - All Sectors : 1 Chinese Academy of Sciences, China; 2 Centre National de la Recherché Scientifique, France; 3 Harvard University, USA; 4 National Institutes of Health, USA; 5 Helmholtz Gemeinschaft, Germany; 6 Stanford University, USA; 7 Google Inc., USA; 8 Massachusetts Institute of Technology (MIT), USA; 9 Johns Hopkins University, USA; 10 Max Planck Gesellschaft, Germany

Western Europe Top 10 : 2 Centre National de la Recherche Scientifique, France; 5 Helmholtz Gemeinschaft, Germany; 10 Max Planck Gesellschaft, Germany; 11 Institut National de la Sante et de la Recherche Medicale, France; 13 University of Oxford, UK; 16 Consejo Superior de Investigaciones Cientificas, Spain; 26 University College London, UK; 27 University of Cambridge, UK; 37 Imperial College, UK; 41 Assistance Publique Hopitaux de Paris, France

Asiatic Region Top 10 : 1 Chinese Academy of Sciences, China; 15 Tsinghua University, China; 22 Peking University, China; 23 Zhejiang University, China; 31 University of Tokyo, Japan; 32 National University of Singapore; 35 Shanghai Jiao Tong University, China; 40 Seoul National University, South Korea; 42 Graduate University of the Chinese Academy of Sciences; 44 Japan Science & Technology Agency, Japan

                  ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคอาเซียน มีองค์กรวิจัยที่ได้รับการจัดอันดับใน SIR 2017 ดังนี้

Singapore : มี 27 องค์กรได้รับการจัดอันดับอยู่ในช่วง 32-653 ของโลก โดย 5 อันดับแรก คือ 32 National University of Singapore; 48 Nanyang Technological University; 94  Agency for Science, Technology and Research Singapore; 171 Institute of Bioengineering & Nanotechnology; 273 Genome Institute of Singapore

Malaysia : มี 29 องค์กรได้รับการจัดอันดับอยู่ในช่วง 194-680 โดย 5 อันดับแรกคือ 194 University of Malaya; 332 University Putra Malaysia; 384 University of Science, Malaysia; 400 University of Technology, Malaysia; 405 National University of Malaysia

Vietnam : มี 6 องค์กรได้รับการจัดอันดับอยู่ในช่วง 468-622 คือ 468 National Hospital for Tropical Diseases; 469 Hospital for Tropical Diseases; 588 Vietnam Academy of Science and Technology; 596 Vietnam National University, Ho Chi Minh City; 600 Hanoi University of Science and Technology; 622 Vietnam National University, Hanoi

Philippines : มี 4 องค์กรได้รับการจัดอันดับอยู่ในช่วง 545-668 คือ 545 International Rice Research Institute Filipinas; 651 University of the Philippines Diliman; 652 De La Salle University; 668 University of the Philippines Manila

Indonesia : มี 10 องค์กรได้รับการจัดอันดับอยู่ในช่วง 626-689 โดย 5 อันดับแรกคือ 626 Bandung Institute of Technology; 632 University of Indonesia; 639 Gadjah Mada University; 664 Bogor Agricultural University; 666 Udayana University

Brunei Darussalam : มี 1 องค์กรได้รับการจัดอันดับ คือ 650 Universiti Brunei Darussalam

                  สำหรับประเทศไทยมีองค์กรที่มีผลงานวิจัยในระดับสากลที่ได้รับการจัดอันดับใน SIR 2017 จำนวน 24 แห่ง โดยมีอันดับโลก (Global Rank) พร้อมด้วย Percentiles (Overall, Research, Innovation และ Societal Impact) ดังต่อไปนี้

 

Rank

Institution

Overall

Research

Innovation

Societal

439

Mahidol University (MU)

17th

19th

15th

14th

456

Chulalongkorn University (CU)

18th

15th

23rd

14th

538

Chiang Mai University (CMU)

32nd

32nd

43rd

4th

543

National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (NCGEB)

33rd

69th

19th

25th

549

Prince of Songkla University (PSU)

35th

39th

40th

8th

562

Khon Kaen University (KKU)

39th

34th

49th

14th

565

Ministry of Public Health (MPH)

40th

68th

29th

10th

567

Kasetsart University (KU)

40th

42nd

49th

8th

573

King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT)

42nd

41st

48th

16th

574

National Science and Technology Development Agency (NSTDA)

43rd

64th

28th

83rd

589

Srinakharinwirot University (SWU)

49th

83rd

37th

8th

592

Mae Fah Luang University (MFU)

50th

48th

50th

36th

597

Silpakorn University (SU)

71st 52nd

52nd

43rd

15th

600

Siriraj Hospital

54th

69th

39th

89th

613

National Electronics and Computer Technology Center (NECTC)

61st

66th

51st

36th

613

Suranaree University of Technology (SUT)

61st

62nd

54th

40th

622

Thammasat University (TU)

66th

62nd

63rd

40th

623

National Metal and Materials Technology Center (NMMTC)

66th

79th

48th

36th

624

Asian Institute of Technology (AIT)

67th

59th

67th

40th

625

Naresuan University (NU)

67th

73rd

54th

46th

633

King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL)

72nd

65th

70th

76th

637

Ramathibodi Hospital

74th

76th

63th

86th

649

Mahasarakham University (MSU)

82nd

84th

68th

79th

657

Burapha University (BU)

86th

85th

76th

56th

 

                  องค์กรวิจัยที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาของไทยส่วนใหญ่อันดับดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้น 5 สถาบันที่อันดับแย่ลง คือ KU (560=>567), KMUTT (538=>573), MFU (574=>592), AIT (610=>624), และ MSU (632=>649) โดย BU ได้รับการจัดอันดับเป็นครั้งแรกในปีนี้ ส่วนองค์กรอื่นๆที่มิใช่สถาบันอุดมศึกษา 7 แห่ง มีอันดับดีขึ้นในปีนี้เพียง 2 แห่ง คือ MPH (603=>565) และ Ramathibodi Hospital (653=>637)

                  เกณฑ์ในการพิจารณาจัดอันดับองค์กรวิจัยระดับโลกใน SIR 2017 ประกอบด้วย 12 ตัวชี้วัด จำแนกได้เป็น 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย (Research) 50%, ด้านนวัตกรรม (Innovation) 30% และด้านผลกระทบต่อสังคม (Societal Impact) 20% โดยรายละเอียดทั้งหมดผู้ที่สนใจสามารถติดตามดูได้ที่

http://www.scimagoir.com/methodology.php

                  ผมจึงขอส่งอีเมลเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อโปรดพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัย ตามที่เห็นสมควรต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง

                  มงคล รายะนาคร

                  28 กรกฎาคม 2560

 

 

                  

หมายเลขบันทึก: 631775เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2017 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2017 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมขอแก้ไขอักษรย่อภาษาอังกฤษสำหรับองค์กรของไทยที่มีผลงานวิจัยในระดับสากลที่ได้รับการจัดอันดับใน SIR 2017 อันดับ 657 Burapha University จาก BU เป็น BUU และแก้ไขข้อความในย่อหน้ารองสุดท้าย จาก "BU ได้รับการจัดอันดับเป็นครั้งแรกในปีนี้" เป็น "BUU ได้รับการจัดอันดับเป็นครั้งแรกในปีนี้" ทั่งนี้เพราะ BU เป็นอักษรย่อของ Bangkok University มาก่อน (ขอขอบคุณคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มช. ที่กรุณาท้วงติงมาด้วยความปรารถนาดี)

ผมขอเรียนปรึกษาว่าหากเรามุ่งไปสู่การวัดดังกล่าว การพัฒนานิสิตขั้นพื้นฐาน เช่น การสอนปริญญาตรี จะแทบไม่มีน้ำหนัก ถ้าเข้ามาดูในมหาวิทยาลัยอย่างละเอียดจะเห็นได้ว่าคนที่ก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นบุคลากรที่มหาวิทยาลัยและประเทศชื่นชมจะเป็นพวกที่เน้นทำวิจัยและจำนวนไม่น้อยละเลยการดูแลปริญญาตรีให้ดี อาจารย์ลองไปสังเกตข้อมูลอาจารย์ที่ดูแลหลักสูตรปริญญาตรีดูได้ว่าส่วนใหญ่ตำแหน่งทางวิชาการจะไม่ได้ดีเท่าไหร่ ไม่ใช่ว่าเพราะคุณสมบัติไม่ถึงที่จะไปดูแลระดับบัณฑิตศึกษา แต่น่าจะเป็นเพราะเค้าเสียสละมารับภาระอันหนักในขณะที่ผมตอบแทนเชิงคุณค่าในตัวชี้วัดเหล่านี้แทบไม่มีเลย ผมเลยขอเรียนปรึกษาว่าถ้าปล่อยไปอย่างนี้ อนาคตการศึกษาระดับปริญญาตรีจะเป็นอย่างไรครับ 

ขอแสดงความยินดีกับทุกสถาบันครับ และก็แอบชื่นชมทุกๆปีที่มีข่าวพร้อมกับน้ำตาตกในด้วยขมขื่นว่า ทำไมหนอในเมื่อเรามีนักวิทยาศาสตร์/สถาบันฯต่างๆที่มีคุณภาพติดระดับโลก แต่ทำไมประเทศไทยจึงไม่ได้รับอานิสงส์จากความเก่งนี้มาช่วยแก้ปัญหาพื้น อาทิ ทำอย่างไรการผลิตข้าวจะมีคุณภาพและปริมาณต่อไร่สูงกว่านี้ การแปรรูปข้าวให้มีมูลค่าสูงขึ้น ยางพารา/มันสำปะหลัง/ข้าวโพด ก็เช่นกัน ถ้านักวิจัยเราเอาความเก่งมาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของประเทศๆน่าจะเจริญกว่านี้และมีเงินวิจัย:GDP สูงกว่านี้ ด้วยความเคารพ ฝากให้คิดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท