การจ้องดูปัจจุบันขณะของตนเอง


  ส่วนมากการจะรับรู้อารมณ์ต่างๆของตน รู้ทันถ้วนทั่วน่าจะเป็นช่วงเวลาเงียบๆ ตัวอย่างเช่น หลังสวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตาก่อนนอน การกำหนดลมหายใจเข้าออก แม้กระทั่งการออกวิ่งในตอนเช้าใกล่รุ่งของแต่ละวัน ความเงียบสงัดของค่ำคืนผู้คนหลับนอนกันแล้ว ความเงียบสงบของเช้ามืดก่อนที่ผู้คนเริ่มจะตื่นจากหลับนอน เริ่มเคลื่อนไหว เริ่มต้นชีวิตในแต่ละวัน

   การจ้องดูปัจจุบันขณะของตนเอง ณ เวลาดังกล่าวจึงค่อนข้างจะมีสมาธิดีมาก อาจจะมีวอกแวกในบางวันที่จิตใจยังวางปัญหาเรื่องงานไม่ได้ แต่ก็ดึงกลับมาด้วยจิตที่ยังพอรู้สึกตัวว่ากำลังออกนอกปัจจุบันขณะแห่งการกำหนดรู้ 

   ส่วนในระหว่างการทำงานของแต่ละวัน ระหว่างการใช้ชีวิตในแต่ละวันที่ต้องปฏิสัมพันธุ์กับบุคคลอื่นทั้งคนใกล้ชิด ญาติมิตร  เพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมทางตลอดถึงคนแปลกหน้ามากมายที่เราพบเจอ การปฏิสัมพันธ์ุที่แตกต่างย่อมนำการรับรู้จิตในปัจจุบันขณะแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน เช่น ระหว่างการทำงานที่มีปัญหาให้แก้ไขหน้างานอยู่เสมอ กับการอยู่กับญาติมิตร ย่อมแตกต่างกันในการกำหนดรู้จิต งานที่ต่อเนื่องยาวนานอาจลืมตัวเพลิดเพลิน หรือเคร่งเครียดไปกับเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้น จนถึงช่วงเวลาที่เป็นรอยต่อ อาจโชคดีที่สติมีปัญญาเกิดเรียกจิตให้กลับมาดูปัจจุบันขณะของตนเองอีกครั้ง

   ดังนั้นการฝึกฝนขณะที่อยู่ในที่เงียบสงบ อยู่คนเดียว จึงเป็นวิธีที่จะพัฒนาการกำหนดรู้จิต รู้ทันอารมณ์ของตน ให้ท่วงทันกับปัจจุบันขณะแม้นในชีวิตจริงที่อยู่ระหว่างการทำงาน การดำรงชีวิตในที่ต่างๆทั้งกลางวันกลางคืน

........................

หมายเลขบันทึก: 631204เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท