(คุยกับตนเอง5) "มองในองค์กรและไปให้ถึง LO"


(คุยกับตนเอง5) "มองในองค์กรและไปให้ถึง LO"

หลายๆ หน่วยงานที่ประสานมาว่าต้องการขับเคลื่อน KM R2R เพื่อนำไปสู่การเกิด Learning Organization หรือ LO ซึ่งเป็นโจทย์ที่น่าท้าทายมาก แม้แต่ผู้บริหารของโรงพยาบาลยโสธรเอง( กองเม็ง คำทอง / Nid Thiraphon ) ก็สื่อสารว่า "พวกเรามีความถึงพร้อมที่จะเปิดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ (Learning Center)ได้ เพราะเกือบทุกหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง KM R2R ฝังเนียนเนื้อเข้าไปในวิถี ดังนั้นจะเรียกว่า โรงพยาบาลของเราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็ว่าได้

ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาและหลายๆ ครั้งของการสนทนากับ อ.นพ.ชลอ ศานติวรางคณา (Chalor Santiwarangkana)  ซึ่งท่านมีมุมมองของความเป็นผู้บริหารที่มององค์กรในเชิงระบบ ท่านจะพูดเสมอว่า "ความยากนั้นอยู่ที่ความคิดของคน แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้" ท่านย้ำอยู่หลายครั้ง ซึ่งเมื่อไตร่ตรองทำให้มองเห็นว่า ตัวท่านเองก็มองบุคคลเป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้

การที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้นั้น ต้องมีเครื่องมือ ซึ่งไม่ว่าจะเป็น R2R หรือ CQI หรือ KM หรือจะเป็นเครื่องมืออื่นๆ ต่างก็เป็นเครื่องมือที่จะนำมาให้บุคคลเกิดการพัฒนาตนเองและงานที่ทำ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ แรงต้านทางความคิด

ซึ่งในฐานะกระบวนกรและผู้ออกแบบการเรียนรู้ การได้รับฟังมุมมองของผู้บริหารนับว่าเป็นเรื่องที่มีคุณค่าและสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เกิดการมองอย่างรอบด้าน และเก็บรายละเอียดมาต่อจิ๊กซอว์ร่วมกันกับมุมมองของคนทำงาน เพราะหากเป้าหมายที่มุ่งไปสู่  LO รายละเอียดเหล่านี้จะนำไปสู่การขับออกมาจากภายในของตัวบุคคลไม่ใช่จากการสั่งการ ซึ่งตรงกับเจตนารมณ์ของท่าน ผอ.สปสช.เขต4 เอง

ช่องว่างหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นจากการทำงานในหลายสิบปีใน สปสช.เองหรือในองค์กรอื่นๆ ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก กลไกสำคัญคือ บุคคล ซึ่งจะเป็นผู้ขับเคลื่อน "ความมีตัวตน" ทำให้โอกาสของการเปิดใจไปสู่การเรียนรู้ทำได้ยาก

ท่านให้มุมมองว่า "ยุทธศาสตร์ในองค์กร" มีความชัดเจน แล้วคนในองค์กรมามองร่วมกัน จะทำให้มองเห็นประเด็นที่จะนำไปสู่การพัฒนาโดยใช้เครื่องมือ R2R หรืออย่างอื่นมาใช้ได้ทั้งนั้น และที่สำคัญเป้าหมายของการพัฒนาดังกล่าวต้องนำไปสู่การสนับสนุนแนวคิดเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน

ในส่วนตัวของท่านเห็นความสำคัญของเครื่องมือ R2R
และยินดีสนับสนับสนุนให้เกิดการทำในองค์กร หรือแม้แต่นอกองค์กรเองก็ยินดีถ้าสิ่งที่ทำนั้นไปส่งเสริมในเรื่องการเข้าถึงระบบบริการที่มีคุณภาพของประชาชน


#KMUC
#KMR2RtoLO


หมายเลขบันทึก: 631202เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่แก้ว ก็เดินทางสายนี้ ลองผิด ลองถูก ใช้เวลานานมาก

ลองหลายวิธีที่จะนำพาเพื่อนร่วมงาน มาใช้เครื่องมือ KM R2R RU EBP

หลายคนเดินทางร่วมกันจนจบ

หลายคน หลุดมือ 

แต่เรามองว่าทุกคนล้วนคิดดี อยากทำงานให้มีคุณภาพ

วันนี้ พี่เริ่มหากลยุทธ์ใหม่ โดยปูพื้นความรู้เพิ่มเติม ในการทำ Capstone project ผ่านแกนนำ

พยาบาลที่จะสมัคร หัวหน้าหอผู้ป่วย ผตก รวมทั้งกลุ่มคนที่สนใจพัฒนางาน เขียนโครงการพัฒนาเชิงระบบ

เริ่มมองเห็นแสง ที่ปลายอุโมงค์

....

พี่แก้ว


แนวคิดเหล่านี้เข้าถึงท้องถิ่นยากที่สุด  เนื่องจาก ไม่อยากยุ่งยาก ไม่อยากทำ ไม่ใช่องค์กร วิชาการ ขาดคนริเริ่ม ปัญหาที่สำคัญคือโครงสร้างที่ผู้บริหารมาจากการเลือกต้้ง พื้นฐานด้านความรู้จึงต่างกัน แต่ละนโยบายก็ต่างกัน แล้วแต่จะให้นโยบายอย่างไร งานด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตถูกมองข้ามน่าตาเฉย  บุคลากรจึงขาดโอกาสการพัฒนา  งานบางงานทำซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะผ่านการตรวจแล้ว จึงทำอีกเพื่อความปลอดภัยจากการตรวจสอบ 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท