ว่าด้วยเรื่องความมั่งคั่ง (About Wealth) ตอนที่ 1


Total Wealth = Financial Capital + Human Capital

ถ้าพูดถึงเรื่องความมั่งคั่ง มันจะหมายถึงเรื่องเงินใช่ไหรือไม่ ผมคิดว่ามีหลายองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดเป็นความมั่งคั่ง แต่ทุกองค์ประกอบคงจะวนเวียนไปมากับการมีเงินเป็นตัวอธิบายและชี้วัดถึงปริมาณ หรือแม้กระทั่งระดับความสำเร็จซึ่งให้ความรู้สึกสอดคล้องกับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ จึงอาจกล่าวได้ว่า ความมั่งคั่ง เงิน และทรัพย์สิน มีความใกล้ชิดจนเกือบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ต่างกันตรงที่วาระในการสื่อสารเท่านั้น สำหรับความมั่งคั่งของมนุษย์คนหนึ่ง หากพิจารณากันให้กว้างกว่าเพียงเรื่องของเงินหรือทรัพย์สินในระนาบเดียว (One-dimensional) แล้ว ก็ควรจะต้องคำนึงถึงความสามารถของบุคคลที่สามารถสร้างรายได้ในปัจจุบัน ตลอดจนโอกาสที่จะสามารถสร้างรายได้ในอนาคตมาประกอบกัน จึงจะทำให้เห็นมูลค่าหรือต้นทุนที่แท้จริงของบุคคลคนนั้นได้อย่างชัดเจน

Total Wealth = Financial Capital + Human Capital

  1. ทุนทางการเงิน (Financial Capital) - จัดว่าเป็นความมั่งคั่งที่มองเห็นได้ (Visible Wealth) พิจารณาง่ายๆจากผลตอบแทนที่ได้จากเงินและทรัพย์สินที่มีอยู่
  2. ทุนทางความสามารถ (Human Capital) - จัดว่าเป็นความมั่งคั่งที่มองไม่เห็น (Invisible Wealth) ในความเป็นจริงแล้วควรจะหมายความถึง ทุนมนุษย์ ซึ่งหมายถึงส่วนผสมของทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทุนทางสังคม (Social Capital) และทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) แต่ในกรณีของความมั่งคั่งนี้ ขอให้มุ่งเน้นถึงผลลัพธ์ของบุคคลที่มีต้นทุนมนุษย์ต่อความสามารถในการสร้างรายได้ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า ทุนทางความสามารถนั่นเอง ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากรายได้ในปัจจุบันกับรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ทุนทางการเงินมักจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นจากประสบการณ์ทำงานที่เพิ่มพูน ตรงข้ามกับทุนทางความสามารถที่มีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุมากขึ้นตามโอกาสและความสามารถในการเรียนรู้ที่ลดลง แต่หันไปพึ่งพาประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ในอีกมุมหนึ่ง ทุนทางความสามารถลดลงลงก็เพราะช่วงเวลาการสร้างรายได้ที่ลดลงตามอายุที่มากขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ ทุนทางความสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้พิจารณาประกอบสำหรับทุนทางการเงินด้วยเช่นกัน

อ้างอิง : thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 631198เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2017 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท