824.​ Positive Deviance ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


Positive Deviance (PD) เป็นวิธีการสร้างการเปลี่ยนแปลง ต่อชุมชน องค์กรแบบง่ายที่สุด ...มีสมมติฐานว่า ในทุกองค์กร ทุกชุมชน มีใครบางคนแก้ปัญหาที่คนอื่นแก้ไม่ได้เสมอ    PD ไม่ได้ห่างจากตัวเรามากครับ ...PD ทำง่ายๆ คุณก็เคยทำ จำได้ไหม เด็กๆ ถ้าจะสอบฟิสิกส์แล้ว คุณเรียนไม่รู้เรื่องเลย ...คุณจะทำอย่างไร

  1. พึ่งตัวเอง... ตายแน่
  2. ถามเพื่อนที่งงๆ เหมือนเรา ...นี่ก็ตาย
  3. ถามเพื่อนที่งงกว่าเราไปอีก... ตายหยั่งเขียด
  4. ถามเพื่อนที่เก่งกว่า ...โอกาสรอดสูง

ถ้าเราเลือกข้อสี่เรามีโอกาสมากกว่า

PD หาได้ด้วยเทคนิคง่ายๆครับ ที่ทำๆกันมาก็ถามว่า...

ที่เป็นปัญหาเรื่องนี้ ใครที่แก้ได้ เขาทำอย่างไร  แล้วเอามาขยายผล 

ผมเขียนไว้ในตอนก่อนโดยละเอียด

ดูที่นี่ครับ https://www.gotoknow.org/posts...

วันนี้ผมจะแนะนำเทคนิคการทำ PD อีกแนวโดยใช้ Appreciative Inquiry หรือการตั้งคำถามเชิงบวก เพื่อค้นหาคำตอบไปสร้างฝัน สร้างการเปลี่ยนแปลง สมมติฐานของ AI คือในทุกคน ทุกระบบ มีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้นรอการค้นพบอยู่ (AI คล้าย PD มากๆ)

AI ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้คุณเจอ PD ..ผมบอกเลยเรามักเจอคนที่ตรงหน้า โดยเฉพาะตอนที่เราเปิดโอกาสให้เขาเล่าเรื่องที่เขาภาคภูมิใจที่สุดออกมา ...เรามักจะเจอคนเล่า หรือไม่ก็ตัวละครในเรื่อง เป็น PD (Positive Deviant) ซึ่งคือคนที่สามารถแก้ปัญหาบางเรื่องที่คนอื่นทำไม่ได้เสมอครับ  

เช่นมีครั้งหนึ่งผมไปสอน AI ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ...

ผมให้ผู้บริหารเล่าเรื่องที่เขาภาคภูมิใจคนละเรื่อง...

มีท่านหนึ่งเล่าครับ ว่าเป็นผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนพิการ ...ภูมิใจมากเวลามีผู้พิการกลับมาในวันครู (เขาสอนด้วย) แล้วมากราบขอบคุณครูว่า เป็นเพราะครู ทำให้เขาที่จากไม่มีอะไรเลย เป็นผู้พิการ ปัจจุบันมีครอบครัว มีงาน มีทั้งรถ มีทั้งบ้าน....

ฟังเท่านี้บางคนมองผ่าน...ส่วนผม ตื่นเต้นเลย... มีครอบครัว มีงาน มีรถ มีบ้าน... คนปรกตินับล้านๆ ยังทำไม่ได้ เลย .. ผู้พิการจำนวนมากก็ทำไม่ได้ ...นี่มัน PD ชัดๆ ... คนๆ นี้อาจเป็นคำตอบของคนนับล้าน  

เพราะในขณะที่ผู้พิการที่ยากจนคนอื่นอาจงงไม่รู้จะทำอย่างไร ไปถามคนที่ไม่มีทางไปยากจนเหมือนกัน หรือแร้นแค้นกว่า ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ...ถามผู้พิการที่มีชีวิตที่ดีขึ้น จะได้คำตอบที่ดีกว่า

ผมเลยแนะนำไปค้นหาต่อว่าผู้พิการคนนั้นทำอย่างไร ถึงได้อย่างทุกวันนี้

ผมไม่ได้ตาม case นั้นต่อเลยค้น Clip ไปเจอ ท่านนี้


เท่าที่เห็นเอา Passion เรื่องเครื่องเสียงมาทำเป็นอาชีพ และพยายามดูแลตัวเอง ดัดแปลงร่างกายไปทำอะไรได้เยอะแยะ (หาปลายังได้เลย)

เพราะฉะนั้นได้คำตอบแล้วว่า Passion

Passion คือรักแบบเจาะลึก ถ้าจะช่วยผู้พิการ ต้องถามว่าเขาชอบอะไร รักอะไร ..List มาหลายอย่าง อาจทำ Passion Test ประมาณว่าถามว่าคุณทำกิจกรรมอะไร แล้วคุณ Happy สุดๆ ทำได้แบบไม่มีใครบังคับ กิจกรรมนั้นไม่เพียงเล่นๆ เท่านั้น คุณยังเจาะลึกทำไปเรื่อยๆ ด้วย จากนั้นก็เอามาพัฒนาเป็นอาชีพ สร้างความฝันของคุณ 

PD คือทางออกครับ..
ลองจัด Session ง่ายๆ ให้คนในองค์กร ในชุมชน มาเล่าเรื่องงที่เขาภูมิใจ ผลงานที่ภูมิใจ แค่คนละเรื่องๆ คุณจะเจอตัวละคร ที่เป็น PD ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาบางอย่างที่คนทั่วไปทำไม่ได้เสมอ..

คุณละคิดอย่างไร…</p><p>Credit รูป https://www.jrhsupport.co.uk/s…</p>

หมายเลขบันทึก: 630946เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2017 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2017 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเรื่องที่สร้างแรงจูงใจได้ดีมากครับ

ขอบคุณมากๆครับ

อาจารย์หายไปนานมากๆ

คิดถึงๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท