823. Appreciative Inquiry


Appreciative Inquiry (AI) เป็นศาสตร์การพัฒนาองค์กรศาสตร์ใหม่   ผมสอนเรื่องนี้มาสิบปีแล้ว ก็ยังรู้สึกว่ามีอะไรใหม่ๆ เนื่องจากมีคนถามมากว่ามันคืออะไร วันนี้จะมาอธิบายอีกครั้งครับ   ผมขออธิบายผ่านหนังโฆษณาของ TMB เรื่องปันหยี FC นะครับ

ถ้าคุณดูจนจบ คุณจะเห็นเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นของเด็กกลุ่มหนึ่ง ที่ชอบเล่นฟุตบอล แต่เนื่องจากอยู่บนเกาะพื้นที่แคบ ทั้งหมดเลยได้แต่ดูอลทาง TV ซึ่งก็เหมือนผู้ใหญ่ที่ได้แต่เชียร์ บนเกาะเล็กๆ ไม่มีอะไรมากกว่าการโม้ว่าใครจับปลาได้มากกว่า กับการแข่งเรือหางยาว วันหนึ่งเด็กๆ เล็กๆ กลุ่มนี้ก็อยากเล่นบอล อยากเป็นแชมป์โลก แต่ไม่มีสนาม ก็เลยถามว่าทำไงกันดี ทั้งหมดเลยลงความเห็นว่า ต้องสร้างสนามบอล ทั้งหมดถูกผู้ใหญ่แซวว่าบ้าไปแล้ว เกาะนี้ไม่มีสนามจะไปเป็นแชมป์ได้อย่างไร 

ไม่มีใครบ่น ทุกคนพยายามหาทางออก ทั้งหมดเลยไปหาวัสดุเหลือใช้ที่ทิ้งอยู่รอบเกาะ แล้วเอามาผูกกับแพปลาที่มีอยู่แล้ว จากนั้นก็ซ้อมกัน ไม่มีรองเท้า สนามลื่น ต้องเลี้ยงหลบตะปู  ทั้งหมดเล่นบอลอย่างสนุกสนาน จนกระทั่งมีโอกาสไปลงแข่ง ก็สามารฝ่าฟันจนเข้ารอบชิง แต่แพ้ แต่ก็ได้ใจชาวบ้านที่สุด ชาวบ้านก็สร้างสนามบอล และหันมาสนับสนุน ปัจจุบันปันหยี FC ถือเป็นทีมบอลชั้นนำของภาคใต้

ชัดไหมครับ ไม่มีใครบ่น คุณจะเห็นเด็กอยากเล่นบอล อยากไปแชมป์โลก ไม่มีสนามก็สร้างสนามเอง ไม่มัวมาแคร์อุปสรรค เพราะอุปสรรค หรือจุดอ่อน กลับกลายทำให้เด็กกลุ่มนี้แกร่งขึ้น

ครับถ้าถามว่าอะไรจะอธิบายเรื่อง Appreciative Inquiry ได้ดีที่สุดก็เรื่องปันหยี FC นี่แหละครับ มาเจาะกันต่อครับ

Appreciative Inquiry คือ การพัฒนาองค์กรด้วยการตั้งคำถามเชิงบวก โดยมีสมมติฐานคือ “ในทุกระบบ ทุกตัวคน ทุกองค์กร มีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้น รอการค้นพบอยู่” เราสามารถดึงเอาเรื่องดีๆ มาสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไม่จบสิ้น  

AI เกี่ยวข้องการการเลือกที่จะ Focus ครับ 

คุณจะเห็นว่าทั้งเรื่อง...

“เราจะเป็นแชมป์โลก”

“แล้วเราจะทำไงกันดี”  

แทนที่จะ Focus ว่าใครๆก็ไม่เล่นบอล ไม่มีสนาม ผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน นั่นคือ Focus แต่สิ่งที่เป็นจุดออ่อน หรือสิ่งที่ไม่มี ก็มา Focus ที่ความรักในฟุตบอล ไม่มีสนามก็มา Focus ที่สนาม มา Focus ที่การฝึกตัวเอง ลุย ติดปัญหาก็แก้เป็นจุดๆ ไป

นี่คือ AI เลย

AI เช่นกันครับ 

AI เริ่มจากการตั้งโจทย์ Affirmative Choice ซึ่งคือการตั้งเป้าหมายหรือทิศทางการพัฒนาผ่านประโยคที่มีผลลัพธ์เชิงบวกผูกอยู่  .... AI เริ่มกันตั้งแต่ Choice คือการเลือกเลย เลือกว่าเราจะสร้างสรรค์อะไร ไม่แคร์ว่าไม่มีอะไร ไม่สนใจเสียงนกเสียงกา 

Affirmative Choice ของเด็กกลุ่มนี้คือ “เราตั้งทีมบอล เราจะเป็นแชมป์โลก”

จากนั้นก็เขาสู่วงจร  4 D ดังนี้

 Discovery  คือ การถามว่าเรามีอะไรดีๆ อยู่ 

 Dream  เราจะเอาสิ่งดีๆที่มีอยู่ไปทำอะไร

 Design   มีฝันแล้วจะทำให้ฝันเป็นจริงอย่างไร 

 Destiny  แบ่งหน้าที่  ลงมือทำตามความฝัน ทำไปประเมินผลไป เรียนรู้ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานไป หมุนวงจรไปเรื่อยๆ จนความฝันกลายเป็นจริงขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับเด็กปันหยี ความรักฟุตบอล ทำให้เราได้ Affirmative Choice คือ “เราจะเป็นแชมป์โลก”

Discovery สิ่งที่เรามีอยู่คือความรักฟุตบอล ทักษะการเล่นบอล ฝีมือช่างไม้แบบตามมีตามเกิด เศษไม้ วัสดุเหลือใช้ที่อยู่รอบเกาะ แพปลา 

Dream  เราจะเป็นแชมป์โลก 

Design ต้องมีสนามเล่น ไม่มีก็ทำเอาเอง หาเศษไม้มาผูกแพปลาก็ได้

Destiny ได้สนามแล้ว แบ่งหน้าที่กันตามตำแหน่งต่างๆในสนามบอล แล้วเล่นทุกวัน ฝึกไป  เจออุปสรรคคือตะปู ก็หลบเอา  มีที่ไหนแข่งก็ไป  ระหว่างเล่นฝนตกก็ถอดรองเท้าเล่น ไม่แคร์อะไรมาก  ที่สุดก็เริ่มได้แชมป์ 

AI คือ The Power of Positive Focus 

เราจะ Focus ไปที่อะไรก็ได้  แล้วแต่คุณจะเลือกสร้างสรรค์อะไร  Affirmative  Choice  

Affirmative Choice อาจมีที่มาได้จากหลายทาง เช่น ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งชื่อบูมชอบบอร์ดเกมส์มากๆ  พอเรียน MBA ป.โทจะจบ เกิดงงชีวิต จะทำไงดีครับอาจารย์ Board game จะทำอะไรได้ ตอนนี้คงต้องหางานแล้ว คิดว่าคงต้องเล่นเป็นงานอดิเรกไปเรื่อยๆ  

ผมก็เลยคุยกับเขาว่าอาจเปลี่ยนเป็นอาขีพได้นะ ลอง “เลือก” สิ  

“ผมไม่มีเงินนะอาจารย์ ไม่มีทุนทำร้าน” 

“เลือก” เลย 

เอาหล่ะลองทำดู เลยถามว่าชาวโลกกำลังเดือดร้อนอะไร 

เพราะถ้าคุณจะทำเป็นธุรกิจ คุณต้องเอาความสามารถของคุณไปแก้ปัญหาที่ชาวโลกต้องการ

“อาจารย์ครับ ตอนนี้โลกเป็นสังคมก้มหน้า ผมพบว่า ถ้าคนในครอบครัวเล่น Borad Game จะทำให้คนเลิกเล่นมือถือไปอย่างน้อยสองชั่วโมง” 

Affirmative Choice ของบูมคือ “สร้างธุรกิจสอนเล่น Boardgame เพื่อทำให้คนหันมาสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน”

มาเข้าวงจร 4 D

Discovery ความภาคภูมิใจของบูมคือ บูมสามารถสอนคนเล่นเกมส์ได้หลากหลาย เอาเป็นว่าถ้าปู่จะเล่นกับหลานอาจารย์ 6-7 ขวบ บูมก็มีความสามารถในการแนะนำได้

Dream สร้างธุรกิจ Board Game แก้ปัญหาสังคม

Design ออกแบบชื่อร้าน Logo Khon Kaen Board Game Society (KKBS)  ไปขอใช้พื้นที่คนอื่น

Destiny ทำคนเเดียว ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ไปๆมา เลยได้หุ้นส่วนที่เป็นลูกศิษย์ AI อีกกลุ่มไปตั้งร้านใหม่ ตอนนี้ขยายไปทำกาแฟต่อ  

นี่ครับ AI Focus ในสิ่งที่มี เอามาขยายผล สร้างความฝัน ทำไปเรื่อย เดี๋ยวมีคนสนับสนุนเอง เด็กปันหยี กับบูมเจอปรากฏการณ์เดียวกัน  

และนี่คือวิชา Appreciative Inquiry ครับ 

ค้นหาของดี เอาไปขยายผล สร้างความฝัน อย่างไร้ขีดจำกัด 

วันนี้อะไรที่คุณกำลัง Focus ไปเป็นแชมป์โลกกันไหมครับ?

คุณล่ะ...คิดอย่างไร

วันนี้พอเท่านี้นะครับ เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ 

Note:

Affirmative Choices (AC) จะกำหนดวิธีการตั้งคำถามเพื่อดึงศักยภาพออกมา

  1. ถ้า AC  เป็นการตั้งกิจการ ก็จะเน้นถามว่า คุณภาคภูมิใจอะไร คุณรักอะไร มีทักษะอะไร มันมีความโดดเด่นตรงไหน  
  2. ถ้าเป็น AC เรื่องอื่นต้องออกแบบ เช่นลดต้นทุน อาจใช้คำถามเช่นตอนที่ทำอะไรได้เร็ว หรือมีของเสียน้อยตอนนั้นทำอย่างไร
  3. เรื่องศิลปะการออกแบบคำถามผมจะเล่าในตอนต่อๆไป ครับ 




หมายเลขบันทึก: 630942เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2017 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2017 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ ที่แบ่งปัน้รื่องราวดีๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท