โครงการโรงเรียนสุจริต


โครงการโรงเรียนสุจริต

-----------------

ดร.ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

โครงการโรงเรียนสุจริต (ปีงบประมาณ 2559) ประกอบด้วยกิจกรรมหลักที่สำคัญ 6 กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานหน่วยงานภาครัฐ

กิจกรรมที่ 2 ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน

กิจกรรมที่ 3 ค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน”

กิจกรรมที่ 4 1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย

กิจกรรมที่ 5 บริษัทสร้างการดี

กิจกรรมที่ 6 โรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน

ใน 6 กิจกรรมข้างต้นมีกิจกรรมที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐานดำเนินการจำนวน 3 กิจกรรมได้แก่

1) การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

2) กิจกรรม 1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย และ

3) กิจกรรมโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน

ส่วนที่เหลือเป็นกิจกรรมที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โอนจัดสรรงบประมาณไปให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาดำเนินการเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานผลมายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำมาสรุปรวมผลการดำเนินงานเป็นรายกิจกรรม ทั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมทั้งสรุปภาพความสำเร็จของการดำเนินงานในแต่ละระดับ รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตในปีต่อไปสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมแล้วที่จะขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผ่านโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ( โครงการโรงเรียนสุจริต) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 - 2564) ที่ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งเป็นการลงทุนด้านป้องกันระยะยาว โดยดำ เนินการตามยุทธศาสตร์ “ สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต”เริ่มตั้งแต่การสร้างกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมผ่านโรงเรียนสุจริต เพื่อสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ปรับฐานความคิดให้สามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม พร้อมทั้งปลูกฝัง ความมีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียงและมีจิตสาธารณะ ให้เด็กและเยาวชนได้เติบใหญ่เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพมีความเสียสละเพื่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังต้องมีการเสริมพลังการมีส่วนร่วมของผู้บริหารครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีพฤติกรรมที่ไม่ยอมรับและต่อต้านการทุจริตในทุกรูปแบบควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน”

ความเป็นมาของโครงการโรงเรียนสุจริต

โครงการโรงเรียนสุจริต เรียกชื่อเต็ม โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา“ป้องกันการทุจริต” เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้หน่วยงานในสังกัด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติให้มีคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย 1) ทักษะกระบวนการคิด 2) มีวินัย 3) ซื่อสัตย์สุจริต 4) อยู่อย่างพอเพียงและ 5) จิตสาธารณะซึ่งโครงการโรงเรียนสุจริตเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในปีแรกเป็นโรงเรียนสุจริตต้นแบบ จำนวน 225 โรงเรียน ต่อมาในปีงบประมาณ 2557 ได้ขยายเครือข่ายโรงเรียนสุจริตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ของจำนวนโรงเรียนในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3,216 โรงเรียน

ต่อมาในปีงบประมาณ 2558 ขยายเครือข่ายโรงเรียนสุจริต เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 ของจำนวนโรงเรียนในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 6,432 โรงเรียน ในขณะนี้มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสุจริต จำนวนทั้งสิ้น 9,873 โรงเรียนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต ดำเนินงานตามปฏิญญาโครงการโรงเรียนสุจริต ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสุจริต 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา

ความเป็นมา

ด้วยยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (พ.ศ.2556 - 2560) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “สังคมไทยมีวินัย โปร่งใส ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมและร่วมกันป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นที่ยอมรับในระดับสากล” มีเป้าหมายหลักเพื่อลดปัญหาการทุจริตในสังคมไทย และยกระดับคุณธรรมจริยธรรมของคนไทยให้สูงขึ้นอันจะส่งผลต่อค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index : CPI) ของประเทศไทยให้สูงขึ้น โดยตั้งค่าเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 50 ในปี พ.ศ. 2560 (โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้คะแนนความโปร่งใสร้อยละ 38 อยู่อันดับที่ 76 จากการจัดอันดับทั้งหมด 168 ประเทศทั่วโลก)

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ยังได้กำหนดแนวทางเพื่อยกระดับมาตรฐานความสุจริต ระดับคุณธรรม และความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 4 “พัฒนาระบบบริหารและเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต” เนื่องจากเป็นประเด็นที่ส่งผลต่อค่าดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index : CPI) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำ เนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต”(โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อยกระดับมาตรฐานความสุจริต คุณธรรม และความโปร่งใส ให้เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ข้อ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) พัฒนาระบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) โดยบูรณาการและปรับปรุงเครื่องมือการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน (Integrity Assessment) หน่วยงานภาครัฐที่นำมาจากแนวคิดของสาธารณรัฐเกาหลี และดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกันเพื่อให้การประเมินคุณธรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการสร้างเครื่องมือการประเมินที่ผนวกหลักการประเมินเชิงภาพลักษณ์ (Perception based) เข้ากับหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence based) โดยมุ่งหวังให้เกิดการบริหารงานที่โปร่งใสและเป็นธรรมในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยให้มีการจัดระดับ Integrity Assessmentตามผลที่ได้รับจากการประเมินดังกล่าว เพื่อให้แต่ละหน่วยงานนำข้อมูลผลการประเมินไปช่วยในการพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการทุจริตของประเทศได้อีกทางหนึ่ง

เป้าหมาย

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 225 เขต

2. โรงเรียนสุจริตต้นแบบ จำนวน 225 โรงเรียน

3. เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 10 จำนวน 3,216 โรงเรียน

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ระดับ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึก

ความโปร่งใส (Transparency)

ประเมินจากความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ และจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence – Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน

ความพร้อมรับผิด (Accountability)

ประเมินจากความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้เสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ

ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน (Corruption Free Index)

ประเมินจากการรับรู้และประสบการณ์โดยตรงของประชาชนผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ

วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture)

ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐและจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน

คุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity)

ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

วิธีดำเนินการ

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยแบ่งสายการประเมินออกเป็น 30 สายการประเมิน

2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดประชุมเตรียมความพร้อมคณะกรรมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 205 เขตพื้นที่การศึกษา เตรียมรับการประเมินระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2558 – 31 มกราคม 2559

4. คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามกำหนดการประเมิน ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2558 – 31 มกราคม 2559

5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระหว่างวันที่ 1 – 6 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อทำการแปลผลข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินสำหรับการปรับปรุงหรือพัฒนาในเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับการประเมิน

6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการแจ้งข้อสังเกตของคณะกรรมการประเมินด้านEvidence - Based Integrity and Transparency Assessment (EBIT) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เข้ารับการประเมินได้รับทราบ เพื่อพิจารณาว่าจะขออุทธรณ์ข้อสังเกตของคณะกรรมการประเมินหรือไม่

7. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อสังเกตด้าน Evidence - Based Integrity and Transparency Assessment (EBIT)

ระหว่างวันที่ 23 – 25 กุมภาพันธ์ 2559

8. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระหว่างวันที่ 14 – 17 มีนาคม 2559

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐระดับสถานศึกษา

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชี้แจงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ให้กับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสุจริตเครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 10

2. สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินจัดส่งรายชื่อผู้ประสานงานรายชื่อบุคลากรภายในสถานศึกษา และรายชื่อผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3. คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินโดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็น Internal Integrity & Transparency Assessment (IIT) และแบบสำรวจความคิดเห็น External Integrity & Transparency Assessment (EIT)

4. สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินตอบข้อคำถามพร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบข้อคำถามตามแบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence-Based Integrity & Transparency Assessment (EBIT)

5. คณะกรรมการแปลผลคะแนน ประมวลผลคะแนนระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) จากแบบประเมินทั้ง 3 แบบ (Internal / External / Evidence-Based Integrity & Transparency Assessment)

6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดส่งผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้แก่สถานศึกษา (เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 10) ที่เข้ารับการประเมิน

7. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารับและพิจารณาการอุทธรณ์จากสถานศึกษา (เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 10) ที่เข้ารับการประเมิน

8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดส่งผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) พร้อมข้อเสนอแนะในการพัฒนาการทำงานของสถานศึกษา (เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 10) ที่เข้ารับการประเมิน

9. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งรายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ระดับสถานศึกษา ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการดำเนินงาน

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 225 เขต ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

2. โรงเรียนสุจริตต้นแบบ จำนวน 225 โรงเรียน ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

3. เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 10 จำนวน 3,216 โรงเรียน ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

4. หน่วยงานที่ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ได้ทราบถึงระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานตลอดจนข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงหรือพัฒนาในเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน

5. หน่วยงานที่ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) สามารถให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม

6. บุคลากรในหน่วยงานที่ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบฯ เพิ่มมากขึ้น

7. บุคลากรในหน่วยงานที่ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ได้ปรับเปลี่ยนฐานความคิดและพฤติกรรมให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

ปัญหาและอุปสรรค

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบางแห่ง ยังไม่เห็นความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ทำให้ผลประเมินไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ

2. บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายังขาดความรู้ความเข้าใจในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)

3. การตอบแบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity andTransparency Assessment : ITA) ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง

4. หลักฐานเชิงประจักษ์/อ้างอิงคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) บางข้อไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติจริง

ข้อเสนอเเนะ

1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรให้ความสำคัญในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดในการประเมินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรสร้างความรู้ความเข้าใจและให้เห็นถึงความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ให้แก่บุคลากรในสังกัด

3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีการพัฒนาแบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรมีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)

5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรสร้างจิตสำนึกความซื่อสัตย์สุจริตให้แก่บุคลากรในสังกัด

ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน

ความเป็นมา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำ เนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม

และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” (โครงการโรงเรียนสุจริต) ซึ่งมุ่งพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข ทุกหน่วยรับผิดชอบ ซึ่งได้บูรณาการให้กับสถานศึกษาปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียน มีความรู้ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตยส์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง จิตสาธารณะ และยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม โดยให้ผู้เกี่ยวข้องมีบทบาทในกระบวนการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม โปร่งใสเสมอภาค เป็นธรรม ทั้ง
การปฏิบัติ การพัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกันการทุจริตอย่างมีจรรยาบรรณที่ต่อเนื่องและยั่งยืนกิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน เป็นกิจกรรมที่กำหนดให้ดำเนินการในโครงการโรงเรียนสุจริต เพื่อให้นักเรียนและชุมชนเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของกิจกรรมในการร่วมกันสร้างความดีให้กับสังคมทั้งยังเป็นต้นแบบในการทำความดี โดยผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นผู้นำในการทำความดี ดูแลการสร้างความดีของเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนและบุคคลในชุมชน มีระบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ผ่านกระบวนการวางแผนการดำเนินงาน การดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม การติดตาม ตรวจสอบพฤติกรรมของตนเอง เพื่อนๆ นักเรียน และชุมชนอย่างใกล้ชิด การปรับปรุงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างการดำเนินงาน และการสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ พร้อมทั้งสามารถเผยแพร่ให้แก่สาธารณชนในรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลายโดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือนำไปสู่การสร้างคุณธรรมให้เกิดกับนักเรียนตามคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตและเป็นผู้มีทักษะในการดำรงชีวิตมีภูมิคุ้มกันที่ดีอันจะนำไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

การจัดทำสรุปและรายงานผลการดำเนินงานกิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชนในรอบปีที่ผ่านมา จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องได้มองเห็นข้อดี ข้อเสีย หรือข้อจำกัดต่างๆ ในการดำเนินงาน และเกิดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งในระดับโรงเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

เป้าหมาย

โรงเรียนสุจริต จำนวน 9,873 โรงเรียน โดยจำแนกเป็น

1. ป.ป.ช. สพฐ.น้อย จำนวน 82,000 คน

2. ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน จำนวน 96,480 คน

วิธีดำเนินการ

1. ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1 ชี้แจงผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน

1.2 แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

1.3 สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

2. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2.1 วางแผน จัดทำโครงการและกิจกรรม เพื่อสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.น้อยและ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ให้แก่เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 20

2.2 จัดประชุมอบรมชี้แจงบทบาทหน้าที่ของ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ให้แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ของเครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 20

2.3 นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ของเครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 20

2.4 สรุปและรายงานผลเพื่อแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. ระดับสถานศึกษา

3.1 คัดเลือกนักเรียนและชุมชนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในคูมื่อการจัดกิจกรรม ป.ป.ช. สพฐ.นอ้ ย และ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน พร้อมจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำหรับนักเรียน(ป.ป.ช.สพฐ.น้อย) และคำ สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำ หรับชุมชน(ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน)

3.2 ส่งคำสั่งแต่งตั้ง ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

3.3 ส่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน เข้ารับการอบรม เพื่อให้ทราบแนวปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่

3.4 คณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ไปดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนด

3.5 สรุปและรายงานผลการดำเนินการโครงการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผลการดำเนินงาน

ผลผลิต

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และคณะกรรมการ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน จากโรงเรียนสุจริตต้นแบบและเครือข่ายโรงเรียนสุจริต จำนวน 9,873 โรงเรียน โดยมีคณะกรรมการป.ป.ช. สพฐ.น้อย และคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 178,480 คน โดยจำแนก ดังนี้

- ป.ป.ช. สพฐ.น้อย จำนวน 82,000 คน

- ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน จำนวน 96,480 คน

ผลลัพธ์

1. พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนลดลง

2. การดำเนินงานของสถานศึกษามีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้

3. การทุจริตคอร์รัปชันในสถานศึกษาลดลง

4. บุคลากรในสถานศึกษามีความระมัดระวังในการประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามระเบียบ และตามกฎหมาย

5. สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับและศรัทธาของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก

6. สถานศึกษามีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) สูงขึ้น

7. สถานศึกษามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

8. ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา

ปัญหาและอุปสรรค

คณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน บางคนมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย ที่อยู่ในระดับประถมศึกษาและเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ค่อนข้างลำ บากต่อการจัดกิจกรรมหรือปฏิบัติตามบทบาทเช่น บทบาทด้านการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานต่อโรงเรียนโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการนิเทศติดตามและสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชนค่อนข้างน้อยผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช. สพฐ.น้อยและ ป.ป.ช.สพฐ.ชุมชน ค่อนข้างน้อย

ข้อเสนอแนะ

  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรมีมาตรการกำกับ ติดตามการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
  • โรงเรียนควรจัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิทินการขับเคลื่อนกิจกรรม ป.ป.ช.สพฐ.น้อ
  • โรงเรียนควรมีกิจกรรมการสร้างแรงจูงใจให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อยและ ป.ป.ช.

-สถานศึกษาในการจัดกิจกรรมป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชนและ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชนที่ชัดเจน

-สพฐ.ชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกับโรงเรียน

-โรงเรียนควรส่งเสริมให้คณะกรรมการป.ป.ช. สพฐ.น้อย และ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชนได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทอย่างเข้มแข็ง

ครูที่ปรึกษาควรทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช.

ค่ายเยาชนคนดี

ความเป็นมา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” (โครงการโรงเรียนสุจริต) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ถึงปีงบประมาณ 2559 เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับการพัฒนาครูผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เสมอภาคและเป็นธรรม รวมทั้งการฝึกปฏิบัติให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิด เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน อันจะนำมาซึ่งการปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต สอดคล้องกับแนวทางของ “ปฏิญญาโรงเรียนสุจริต” ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่ายให้กับโรงเรียนสุจริตต้นแบบจำนวน 225 โรงเรียน และดำเนินการขยายเครือข่าย รวม 9,873 โรงเรียนโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดให้มีการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน”เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ครูมีแนวทางการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน“คนดีของแผ่นดิน” และใช้กิจกรรมในการปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ด้วยการสร้างประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เชิงบวกในการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักเกิดแรงบันดาลใจ เปลี่ยนแปลงความเชื่อ ความคิด และทำให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตประกอบด้วย ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ

เป้าหมาย

1. โรงเรียนต้นแบบ จำนวน 225 โรงเรียน

2. เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 30 จำนวน 3,216 โรงเรียน

3. เครือข่ายโรงเรียนสุจริตร้อยละ 20 จำนวน 6,432 โรงเรียน

วิธีดำเนินการ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกับโรงเรียนสุจริตต้นแบบ ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน

“คนดีของแผ่นดิน” ในการปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตประกอบด้วย ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาวางแผนจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน” ร่วมกับโรงเรียนสุจริตต้นแบบ

3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชิญผู้บริหารโรงเรียนสุจริตต้นแบบและผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายสุจริตร้อยละ 20 วางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดอบรม เช่น การออกแบบกิจกรรมค่ายการประสานวิทยากร การจัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ สื่อวีดีทัศน์ เครื่องเสียง สถานที่อาหารว่าง อาหารกลางวัน ตลอดจนการประสานผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ ฯลฯ

4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกับโรงเรียนสุจริตต้นแบบ ดำ เนินการจัดค่ายเยาวชน

“คนดีของแผ่นดิน” โดยดำเนินการ ดังนี้

4.1 ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยนักเรียนแกนนำจากเครือข่ายโรงเรียนสุจริต โรงเรียนละ 10 คน และครูผู้รับผิดชอบ โรงเรียนละ 2 – 3 คน

4.2 ดำเนินการจัดอบรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน” ดังนี้

วิทยากรโรงเรียนสุจริตต้นแบบจัดกลุ่มนักเรียนแกนนำ และครูผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมตามระดับชั้น ประกอบด้วย

4.2.1. ระดับปฐมวัย วิทยากรปลูกฝังให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย ทักษะกระบวนการคิด มีวินัยซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย

4.2.2. ระดับประถมศึกษา วิทยากรปลูกฝังให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย

4.2.3. ระดับมัธยมศึกษา วิทยากรปลูกฝังให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ประกอบด้วย ทักษะกระบวนการคิด มีวินัยซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย

4.3 การดำเนินการจัดอบรมให้จัดกิจกรรมตามแนวทางของโรงเรียนสุจริต โดยเริ่มจาก

1) เคารพธงชาติ

2) ไหว้พระ สวดมนต์ หรือปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาอื่นที่ตนนับถือ

3) กล่าวปฏิญญาโรงเรียนสุจริต จากนั้นจึงดำเนินการอบรมตามตารางการจัดค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน” ในการปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

5. การประเมินผลการจัดค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน” โดยโรงเรียนสุจริตต้นแบบเป็นผู้ประเมินตามวัตถุประสงค์ของการจัดค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน”

6. สรุปรายงานผลการจัดค่ายเยาวชน “คนดีของแผ่นดิน” ตามแบบรายงานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตเขียนรายงานผลเพื่อเป็นสื่อกลางเปน็ sสื่อกลาให้ผู้ใช้ผลการประเมินและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบว่าผลการดำเนินงาน “คนดีของแผ่นดิน” อยู่ในระดับใด

ผลการประเมิน

ผลผลิต

  • นักเรียนแกนนำจากโรงเรียนสุจริตต้นแบบ และเครือข่ายโรงเรียนสุจริต จำนวน 9,873 โรงเรียน
  • นักเรียนแกนนำจากโรงเรียนสุจริตต้นแบบ และเครือข่ายโรงเรียนสุจริต จำนวน 9,873 โรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการป้องกันการทุจริตมีความสามารถในการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องของการป้องกันการทุจริตสามารถขยายผลถึงโรงเรียนใกล้เคียง ชุมชน และสังคมได้นักเรียนแกนนำจากโรงเรียนสุจริตต้นแบบ และเครือข่ายโรงเรียนสุจริต จำนวน 9,873 โรงเรียน ประพฤติปฏิบัติตนตามระเบียบของโรงเรียน

ผลลัพธ์

1. นักเรียนที่เข้ารับการอบรมเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต จากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายของแต่ละช่วงชั้น โดยนักเรียนมีทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริตอยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลตอบแทน ร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพัฒนาสูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ

ระดับโรงเรียน

1. การปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจังจากทุกฝ่าย

2. ควรมีการจัดกิจกรรมยกย่อง เชิดชูเกียรติ ครู นักเรียน ผู้ปกครองที่ประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน

3. ควรมีการติดตาม ประเมินผลนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่ายไปแล้วอย่างต่อเนื่อง

4. ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล

5. ควรจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกที่ทำให้นักเรียนเกิดแรงกระตุ้นในการที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น

6. ควรจัดค่ายแยกชั้นระหว่าง ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เนื่องจากความแตกต่างระหว่างวัย และความสามารถในการเรียนรู้และความเข้าใจไม่เท่ากัน

7. ควรขยายเครือข่ายและให้โอกาส ชุมชน ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนทุกคน ได้เข้าค่ายหรือทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมดังกล่าวอย่างยั่งยืน โดยมีการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการติดตามและประเมินเป็นระยะและต่อเนื่อง

8. ควรเชิญองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดค่าย

9. โรงเรียนควรสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในจุดมุ่งหมายของการพัฒนาคุณลักษณะความสุจริตและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้กับบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนและผู้ปกครอง

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

1. ควรจัดสรรงบประมาณให้เครือข่ายโรงเรียนสุจริตได้จัดกิจกรรมในโรงเรียนของตนเอง เพื่อความสะดวกปลอดภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเพิ่มพูนทักษะการจัดค่ายให้กับบุคลากรและความเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน

2. ควรจัดสรรงบประมาณลงสู่หน่วยปฏิบัติให้เร็วขึ้น เพื่อให้หน่วยปฏิบัติสามารถบริหารเวลาในการจัดกิจกรรมตามโครงการได้มากขึ้น เพราะการจัดกิจกรรมในช่วงฤดูฝน กิจกรรมค่ายบางฐานต้องใช้สถานที่โล่งแจ้ง และนักเรียนต้องประสบปัญหาในการเดินทางมาร่วมกิจกรรม


1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย

ความเป็นมา

การดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เน้นยํ้าให้เห็นความสำคัญของการจัดทำวิจัยเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุจริตอย่างแท้จริง จึงได้ส่งเสริมให้โรงเรียนในโครงการจัดทำวิจัย โดยในปีงบประมาณ 2557 ได้ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนสุจริตต้นแบบที่มีความพร้อมเข้ารับการพัฒนาด้านการทำวิจัย จำนวน 24 โรงเรียน (แบ่งเป็นโรงเรียนวิจัยต้นแบบจำนวน 12 โรงเรียน และโรงเรียนวิจัยคู่พัฒนา จำนวน 12 โรงเรียน) จากนั้นได้ขยายเครือข่ายงานวิจัยเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 100 โรงเรียน และดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผลทำให้ได้งานวิจัยเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 100 เรื่อง รวมกับโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนวิจัยคู่พัฒนาอีก 24 เรื่อง รวมเป็นได้งานวิจัยทั้งหมด 124 เรื่องต่อมาในปีงบประมาณ 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาขยายเครือข่ายจัดทำวิจัยเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 1,000 โรงเรียน โดยรับสมัครโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริตเข้าร่วมจัดทำวิจัย ภายใต้กิจกรรม 1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย

เป้าหมาย

โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย ในปี งบประมาณ 2559 มีทั้งหมดจำนวน 1,000 โรงเรียน โดยแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาคภาคใต้จำนวน 99 โรงเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจำนวน 307 โรงเรียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจำนวน 225 โรงเรียน ภาคกลางจำนวน 191 โรงเรียนภาคเหนือจำนวน 178 โรงเรียน

ผลผลิต (Output)

รายงานวิจัยที่โรงเรียนจัดทำสำเร็จ จำนวน 1,000 เรื่อง

ผลลัพธ์ (Outcome)

1. บุคลากรในโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีการวิจัยมากขึ้น จนสามารถจัดทำวิจัยได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการวิจัย และสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการพัฒนาตามคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

2. โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม 1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย สามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้และเป็นแนวทางจัดทำวิจัยต่อยอดได้

3. เกิดนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต เพิ่มมากขึ้น

4. เกิดความสัมพันธ์อันดีในเชิงวิชาการระหว่างโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยซึ่งกันและกัน แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

5. เกิดเครือข่ายการจัดทำวิจัยแต่ละภูมิภาคในโรงเรียนสุจริต เพิ่มมากขึ้น

6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นแหล่งรวบรวม และเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

ปัญหาอุปสรรค

1. มีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานวิจัยในบางโรงเรียน ทำให้การจัดทำผลงานวิจัยไม่มีความต่อเนื่อง

2. ระยะเวลาในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำวิจัยและปรับปรุงแก้ไขของแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ผลการวิจัยเกิดความสมบูรณ์ ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยนั้น มีระยะเวลาน้อยเกินไป

3. จำนวนบุคลากรที่เข้ารับการฝึกอบรมบางภูมิภาคมีจำนวนมาก ไม่สมดุลกับจำนวนวิทยากร

4. ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดทำวิจัยไม่ดำเนินการตามปฏิทินที่กำหนด

ข้อเสนอแนะ

1. โรงเรียนควรมอบหมายผู้รับผิดชอบทีมงานวิจัยในโรงเรียน 3 – 5 คน เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดให้มีการพบปะกลุ่มย่อย เพื่อกำกับ ติดตามความก้าวหน้า(Coaching & Mentoring) ในการจัดทำผลงานวิจัย

3. ควรแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษางานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อประสานงานร่วมกับคณะวิทยากรในแต่ละภูมิภาค และรับรู้การดำเนินงานร่วมกับผู้วิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นการดำเนินงาน

4. ควรกำหนดสัดส่วนวิทยากรกับจำนวนผู้เข้ารับการอบรมในอัตราส่วน 1 : 20 โดยประมาณ

5. ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการติดตามความก้าวหน้าในการจัดทำวิจัยให้เป็นไปตามปฏิทินที่กำหนด

6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรสนับสนุนให้โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

1,000 เรื่อง 1,000 วิจัย นำผลการวิจัยของตนเองมาพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตอย่างต่อเนื่อง และมีความยั่งยืนข้อเสนอเเนะ


บริษัทสร้างการดี

ความเป็นมา

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (พ.ศ.2556 – 2560) ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปลูกและปลุกจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริต เน้นการปรับเปลี่ยนฐานความคิดของทุกภาคส่วนในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ ในมาตรการที่ 1 ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมาตรการที่ 3 การใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการปลูก ปลุก ปรับเปลี่ยนฐานความคิด เร่งส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างเยาวชนให้เป็นสุจริตชนทุกภาคส่วน ร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมให้นโยบายการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ปรับทิศทางจากการมุ่งสร้างคนเก่ง คนดี เน้นให้ดำรงชีวิตสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสังคมที่มีเสถียรภาพสามารถพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวหน้า มั่นคง และสุจริตอย่างยั่งยืนกระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีนโยบายยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความโปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน ได้กำหนดกรอบแนวคิด ทิศทาง และมาตรการในการป้องกันและต่อต้านการทุจริต โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อทำหน้าที่ในการบูรณาการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมของข้าราชการ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการศึกษาให้เยาวชนของประเทศเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต ได้ตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสถานศึกษา โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต ดำเนินการขับเคลื่อนระดับภูมิภาค เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” (โครงการโรงเรียนสุจริต) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการโรงเรียนสุจริต เพื่อป้องกันปลูกฝังนักเรียนให้ตระหนักรู้ เข้าใจ และคิดอย่างมีเหตุผล เป็นคนเก่งเรียนรู้ เป็นคนดีซื่อตรงมีกริยามารยาท รู้จักการทำมาหากิน สร้างชีวิตให้รุ่งเรืองขึ้นได้ ซึมซับคุณค่าแห่งการทำความดี สร้างความรู้สึกรับผิดชอบในบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน ปลูกฝังค่านิยมการไม่ทุจริตให้กับเด็กนักเรียน ให้มีจิตสำ นึกของการมีคุณธรรม ไม่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตนซึ่งจะส่งผลให้เยาวชนที่ผ่านกระบวนการเป็นนักเรียนที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง และมีความรักชาติในทางที่ถูก

เป้าหมาย

ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองโรงเรียนสุจริตต้นแบบจำนวน 225 โรงเรียน

วิธีดำเนินการ

1. โรงเรียนแต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี ได้แก่

- คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน

ครู และผู้ทรงคุณวุฒิ

- คณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

จากผู้อำนวยการโรงเรียน และครู จำนวน 3 – 9 คน

- คณะกรรมการกลั่นกรอง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่การเงิน ครู จำนวน 3 – 5

คน และนำเสนอให้ผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาอนุมัติโครงการ

- คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน และ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย

- คณะกรรมการจัดทำระเบียบและข้อตกลง ประกอบด้วยครูที่ปรึกษาโครงการและตัวแทน

นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ จำนวน 5 – 9 คน

2. คณะกรรมการอำนวยการ จัดทำแผนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี แก่ครู บุคลากร นักเรียน คณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน และคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย

3 กำหนดวันเวลาและรับสมัครนักเรียนที่ประสงค์จะดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดี

4. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การดำเนินกิจกรรมบริษัทสร้างการดีให้นักเรียนเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตการดำเนินงานบริษัทสร้างการดี ได้แก่ คณะกรรมการบริษัท บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ การเขียนโครงการ การกู้ยืมเงินลงทุน (ถ้ามี) การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายการบันทึกการปฏิบัติงาน การวัดและการประเมินผล

5. หุ้นส่วนดำเนินการเลือกคณะกรรมการตามโครงสร้างที่กำหนด จากนั้นนำเสนอสถานศึกษาเพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท

6. สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกโครงการ/กิจกรรม

7. คณะกรรมการบริษัทเขียนโครงการตามแบบฟอร์มรายละเอียดโครงการ นำเสนอครูที่ปรึกษาพิจารณากลั่นกรองความเป็นไปได้ของโครงการ

8 ครูที่ปรึกษานำโครงการที่ผ่านความเห็นชอบ เสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง

9. คณะกรรมการกลั่นกรองแจ้งมติผลการพิจารณาเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติ

10. โรงเรียนแจ้งผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้ความยินยอมแบบหนังสือแจ้งผู้ปกครอง

11. นักเรียนดำเนินการยืมเงินดำเนินงานตามแบบสัญญายืมเงิน

12. นักเรียนดำเนินงานตามโครงการ ตามแบบที่กำหนดได้แก่

- แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

- บัญชีเงินสดคงเหลือประจำวัน

- ใบสำคัญแทนใบเสร็จ

- แบบบันทึกการประชุมของคณะกรรมการ

- แบบถอดบทเรียนภายหลังกิจกรรม

- แบบวัดและประเมินผลโครงการ

13. คณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย ดำเนินการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทสร้างการดี และคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ

การดำเนินงานของสถานศึกษา

14. ประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อสรุปงบดุลและสรุปผลการดำเนินงานในรอบปี

15 จัดทำรายงานผล

ผลการดำนเนินการ

1. โรงเรียนสุจริตต้นแบบ จำนวน 225 โรงเรียน จัดกิจกรรมบริษัทสร้างการดีให้กับนักเรียน

2. โรงเรียนสุจริตต้นแบบ จำนวน 225 โรงเรียน มีการดำเนินการกิจกรรมบริษัทสร้างการดี ในรูปแบบของบริษัท

3. กิจกรรมบริษัทสร้างการดีที่จัดให้กับนักเรียน ได้แก่ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ คิดเป็นร้อยละ55.17 ผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 13.10 ผลิตภัณฑ์นํ้าดื่มและนํ้าดื่มสมุนไพร คิดเป็นร้อยละ 8.97 ผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 6.89 กิจกรรมร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 6.89 ผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูป คิดเป็นร้อยละ 4.83 และผลิตภัณฑ์นํ้ายาเอนกประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 4.14

ผลลัพธ์

1. นักเรียนมีทักษะการบริหารจัดการกิจกรรมบริษัทสร้างการดี ได้ฝึกทักษะด้านอาชีพ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายควบคู่กับการฝึกประสบการณ์ตรงต่าง ๆ

2. นักเรียนมีวิถีชีวิตเป็นคนสุจริตตามคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต คือ ทักษะกระบวนการคิดมีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ

3. นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน และนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นรายได้เสริม

4. นักเรียนได้ต่อยอดอาชีพเดิมเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์/สินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูป

ขยะทองคำ การปรับโฉมรูปแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

5. โรงเรียนมีการขยายผลกิจกรรมบริษัทสร้างการดีไปสู่ชุมชน

6. นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการประกอบอาชีพที่สุจริต

7. มีการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานกิจกรรมบริษัทสร้างการดีจากบุคลากรภายในและภายนอก ได้แก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.น้อย และคณะกรรมการ ป.ป.ช. สพฐ.ชุมชน

ปัญหาและอุปสรรค

1. ข้อจำกัดด้านสถานที่

โรงเรียนไม่มีห้องหรือสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมบริษัทสร้างการดีที่เป็นเอกเทศถาวร หรือมีแต่คับแคบ ไม่ได้มาตรฐานไม่เหมาะสมในการดำเนินงาน

2. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ

งบประมาณมีน้อย ไม่สามารถจัดหา หรือผลิตสินค้าที่หลากหลายเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และไม่สามารถนำไปจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นได้ เช่น ตู้เย็นหรือตู้แช่สำหรับเก็บสินค้าเพื่อให้สินค้าเก็บได้นานและไม่เกิดความเสียหาย

3. ข้อจำกัดด้านสภาพภูมิประเทศสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานเช่นฤดูฝนทำให้ผลผลิตแห้งช้าโรงเรียนงานอยู่บนเขาเป็นปัญหาในการขนส่งสินค้า อากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ผลไม้มีน้อย ราคาแพง หรือโรงเรียนอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ไม่สงบ ไม่ปลอดภัย

4. ข้อจำกัดของนักเรียน

นักเรียนมีภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบมาก จึงไม่ค่อยมีเวลาว่างในการดำเนินกิจการ ต้องใช้เวลาว่างนอกเวลาเรียนหรือวันหยุด

5. ข้อจำกัดด้านอื่นๆ

เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ทำให้นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจ จึงให้ความร่วมมือค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การผลิตสินค้ายังไม่มีคุณภาพ

ข้อเสนอแนะ

1. ด้านวัตถุดิบ

ควรจัดหาวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตสินค้า และผลสินค้าที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

2. ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ

คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ทุกคนเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้น

3. ด้านการประชาสัมพันธ์

ควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการเผยแพร่ผลงานการดำเนินงานในแต่ละระดับ


โรงเรียน สพฐ.ใสสะอาดปราศจากคอร์รัปชัน

ความเป็นมา

การทุจริตเป็นปัญหาสำคัญคอยรุมเร้า กัดกร่อน ความเจริญงอกงามในการพัฒนาประเทศที่ต้องเร่งรีบแก้ไขให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย จากดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี พ.ศ. 2558

(Corruption Perceptions Index 2015) ประเทศไทย ได้คะแนน 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน จัดอยู่ในลำดับที่ 76 จาก 168 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในลำดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งหมายความว่าสถานการณ์การแก้ปัญหาการทุจริตในประเทศไทยยังไม่ปรากฏผลเป็นที่พอใจเท่าที่ควร ดังนั้นนโยบายของรัฐบาล จึงเน้นให้การบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปตามการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ยึดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ หลักนิติธรรมหลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดำเนินกิจกรรมโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สืบเนื่องจากโครงการ สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พร้อมทั้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน รวมทั้งหมดจำนวน 225 โรงเรียน โดยกำหนดให้โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต และมีพื้นฐานในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตประกอบด้วย ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ ซึ่งกระบวนการปลูกฝังนักเรียนให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าว จะต้องบูรณาการการบริหารจัดการตามภารกิจหลักของโรงเรียน ได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยสัมพันธ์สอดคล้องกับดัชนี 5 ประการของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ได้แก่ ความโปร่งใส ความพร้อมรับผิดชอบ ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์กร และคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน ซึ่งจะส่งผลให้โรงเรียนมีความพร้อมที่จะรองรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

เป้าหมาย

โรงเรียนต้นแบบ สพฐ. ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน จำนวน 225 โรงเรียน จำแนกเป็น

1. โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 183 โรงเรียน

2. โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 โรงเรียน

วิธีการดำเนินการ

1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียนโดยให้พิจารณาคัดเลือกจากโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสุจริต

2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดอบรมผูบ้ ริหารโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน ทั้งหมดจำนวน 225 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน รวม 225 คน ระยะเวลา 3 วันเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน

3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาแผนปฏิบัติการโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาดปราศจากคอร์รัปชัน และดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียน

4. โรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่ได้รับอนุมัติ

5. โรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน เตรียมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA)

6. โรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน จัดทำ รายงานผลการดำ เนินงานถึง

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการดำเนินงาน

ผลผลิต

1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน จำนวน 225 โรงเรียน

2. โรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน จำนวน 225 โรงเรียน ได้รับการนิเทศติดตามผลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด

ผลลัพธ์

1. โรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน มีการดำเนินการตามภารกิจหลักที่สอดคล้องกับดัชนี 5 ประการของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ได้แก่ ความโปร่งใส ความพร้อมรับผิดชอบ ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองค์กร และคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน

2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับบริการจากโรงเรียนด้วยความเป็นธรรมโปร่งใส

3. บุคลากรในโรงเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานด้วยความโปร่งใส พร้อมรับผิดชอบ และปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน

4. นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีตามคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตและปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

ปัญหาและอุปสรรค

1. ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาดปราศจากคอร์รัปชันที่ได้รับอนุมัติ

2. ครูและบุคลากรในโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชันขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำ เนินงานตามแผนงาน/โครงการ

ข้อเสนอแนะ

1. ควรจัดทำปฏิทินเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการโรงเรียน สพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชันที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมกับโรงเรียนจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการโรงเรียนสพฐ.ใสสะอาด ปราศจากคอร์รัปชัน

ภาพความสำเร็จ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  • มีการสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์ และข้อตกลงในการป้องกันการทุจริต
  • บุคลากรในหน่วยงานเกิดความตระหนัก รู้จักคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • ให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยความเป็นธรรมและโปร่งใส
  • มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบของบุคลากร
  • มีการเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานมากขึ้นและ
  • มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการและพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ
  • ปัญหาเรื่องการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตลดลงตนเองให้ปฏิบัติตามระเบียบเพิ่มมากขึ้นในหน่วยงานเป็นรูปธรรมและความโปร่งใสมากขึ้น

โรงเรียน

1. มีระบบการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างที่มีคุณธรรมและความโปร่งใสมากขึ้น

2. มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เกิดคุณธรรมและความโปร่งใส

3. มีการสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์และข้อตกลงในการป้องกันการทุจริต

4. มีแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

5. มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียน

ให้พฤติกรรมสุจริต

6. มีเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนเพิ่มมากขึ้น

7. ผู้ปกครอง ชุมชน เกิดความศรัทธา เกิดความเชื่อมั่นไว้วางใจ และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น

ผู้บริหาร

1. มีความรู้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้ลดข้อผิดพลาดในการจัดซื้อจัดจ้าง ส่งผลให้ปัญหาการทุจริตหรือประพฤติมิชอบลดลง

2. ปัญหาร้องเรียนเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างลดลง

3. มีความรู้เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและนำไปแก้ไขปรับปรุงในหน่วยงาน

4. มีความตระหนักเรื่องปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ช่วยให้ดำเนินงานตามระเบียบกฎหมายเพิ่มมากขึ้น

5. เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ ในการแก้ไขปัญหาหรือป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบในโรงเรียน

6. มีแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกัน ปลูกฝัง และสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตให้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

7. ผู้บริหารและครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นตัวแบบที่ดีในเรื่องความสุจริตให้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

8. ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรก/บูรณาการให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

นักเรียน

1. กล้าแสดงออกด้านการคิด มีวินัย และมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น

2. มีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือครู โรงเรียน และชุมชน

3. มีภาวะผู้นำในการเป็นตัวแบบประพฤติปฏิบัติตามคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริตและเผยแพร่ รณรงค์ต่อต้านการทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ยอมรับคนโกง

4. มีการกำหนดข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

5. เรียนรู้และร่วมปฏิบัติกิจกรรมตรวจสอบการดำเนินงานภายในโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

6. เรียนรู้การจัดตั้งบริษัท การคิดผลิตสินค้าจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชน

7. รู้จักการประกอบอาชีพที่สุจริตและมีรายได้ระหว่างเรียน

8. ตระหนักและรู้เกี่ยวกับโทษของการทุจริตคอร์รัปชัน

9. เป็นสมาชิกทีดีของโรงเรียน ชุมชน และสังคม

10.สร้างเครือข่ายการป้องกันการทุจริตเพิ่มขึ้นในโรงเรียน

ผู้ปกครองและชุมชน

1.ให้การยอมรับ เชื่อถือไว้วางใจ และมีความพึงพอใจต่อผู้บริหารและครูในโรงเรียน ใน
การปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต

2. ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนและการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน

3. เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมป้องกันการทุจริตร่วมกับโรงเรียนมากขึ้น

4. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังการป้องกันการทุจริตของโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

5. ได้รับการบริการที่ดี เป็นธรรม และโปร่งใสจากโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ปัญหาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต

ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. การดำเนินงานยังไม่มีการประเมินผลโรงเรียนสุจริตตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดไว้ในเอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต

2. ยังไม่มีการนิเทศติดตามผลระดับโรงเรียนที่เข้าโครงการโรงเรียนสุจริต มีแต่การสั่งการให้ผู้รับผิดชอบระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นิเทศติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียน

3. ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตส่งรายงานผลการดำเนินงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ส่งผลให้ผู้รับผิดชอบโครงการระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่สามารถสรุปภาพรวมการดำเนินงานระดับประเทศได้ตามเวลาที่กำหนด

4. ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีน้อย (2 คน)ในขณะที่ภาระงาน/กิจกรรมที่กำหนดในโครงการโรงเรียนสุจริตมีค่อนข้างมาก

5. สัดส่วนงบประมาณที่ได้รับจัดสรรค่อนข้างน้อยไม่สนองตอบกับภาระงานที่มีกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6. การบูรณาการโครงการโรงเรียนสุจริตกับโครงการอื่นที่ดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ยังมีลักษณะการดำเนินงานแบบแยกส่วน

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

1. มีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตบ่อย ทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง

2. ผู้รับผิดชอบบางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีภาระงานมาก ทำให้ไม่มีเวลาในการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าโครงการโรงเรียนสุจริตได้อย่างทั่วถึง

3. ผู้บริหารระดับสูงบางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต

4. ไม่มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตระดับ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ระดับโรงเรียน

1.ไม่มีการบูรณาการโครงการต่างๆ ที่มีเป้าหมายคล้ายกันหรือเป้าหมายเดียวกันไว้ด้วยกัน

ที่จะช่วยลดภาระการทำงานของบุคลากรในโรงเรียน

2. ผู้บริหารและครูบางโรงเรียนยังไม่ตระหนักในบทบาทหน้าที่การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริตให้เป็นไปตามมาตรฐานโรงเรียนสุจริตที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดไว้

3. ผู้บริหารและครูบางโรงเรียนไม่ศึกษาเอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุผล

4. บางโรงเรียนผู้บริหารไม่มีการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตภายในโรงเรียน

5. บางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้โรงเรียนมีงบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินงาน

6. บางโรงเรียนเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียนใหม่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายส่งผลต่อการดำเนินงานโรงเรียนสุจริตไม่ต่อเนื่อง และไม่สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตให้ต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. จัดให้มีการสุ่มนิเทศโรงเรียนสุจริตในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้เป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหาร

และครูเกิดการตื่นตัวในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต

2. จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินการโครงการโรงเรียนสุจริตตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด

3. จัดให้มีระบบการรายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในระบบ Online

4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรจัดให้มีการบูรณาการโครงการที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมให้ชัดเจน และเป็นรูปธรรม เพื่อลดภาระการดำเนินงานโครงการของโรงเรียนให้น้อยลงและให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

1. ควรมีการสรรหาผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตให้เรียนรู้งานกับผู้รับผิดชอบคนเดิมก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนงานใหม่

2. ควรมีการบูรณาการนิเทศงานโรงเรียนจากหลายโครงการไว้ด้วยกันเพื่อลดเวลาในการนิเทศโรงเรียนให้น้อยลง ศึกษานิเทศก์สามารถนิเทศโรงเรียนได้ทั่วถึง

3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรชี้แจงในการประชุมผู้บริหารระดับสูงทั่วประเทศให้ตระหนักและให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริต เนื่องจากเป็นโครงการตามนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ

4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน โครงการโรงเรียนสุจริตของทุกโรงเรียนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโรงเรียนต่อสาธารณชน

ระดับโรงเรียน

1. ควรจัดให้มีการวิเคราะห์โครงการต่างๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันบูรณาการ

เข้าด้วยกัน เพื่อลดภาระการดำเนินงานของครูในโรงเรียน

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรกำหนดมาตรการในการติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

3. ควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการโรงเรียนสุจริตภายในโรงเรียนหรือระหว่างโรงเรียนที่เข้าโครงการโรงเรียนสุจริตด้วยกัน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ

4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสุ่มติดตามการใช้งบประมาณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนที่เข้าโครงการโรงเรียนสุจริต

5. การปรับเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียนใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดอบรมเพื่อพัฒนาให้ผู้บริหารได้มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการต่างๆ ที่โรงเรียนต้องให้ความสำคัญ

และดำเนินการก่อนที่จะไปดำรงตำแหน่งใหม่ เพื่อสานต่อการดำเนินงานของโรงเรียนให้ต่อเนื่อง

--------------------------------



แหล่งข้อมูลอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). รายงานผลประจำปีงบประมาณ 2559

โครงการโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

https://lookaside.fbsbx.com/file/%E0%B9%82%E0%B8%8...







หมายเลขบันทึก: 629385เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 03:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 03:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท