(๔) สร้างเสริมเด็กปฐมวัย ๓ ดี : สูงดี ฟันดี พัฒนาการดี


วันที่สองของการประชุม ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ เปลี่ยนไปห้องเล็กยิ่งอบอุ่นขึ้น ทบทวนความรู้สึกเช้านี้

• ชอบที่ได้ออกกำลังกาย หนึ่งบวกหนึ่ง

• รู้สึกดีที่ได้ประชุม ได้รู้จักเพื่อนใหม่ ได้ฟังเรื่องราวของเพื่อน ได้รู้จักเพื่อนๆ พี่ๆ น้าๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้ได้ทบทวนงานของตัวเอง

• ดีใจที่มีเพื่อนใหม่ มีรูมเมทใหม่ (จากแค่เพื่อนในจังหวัด ๕ คน) ได้แนวทางการแลกเปลี่ยนใหม่ เดิมเคยแต่แลกเปลี่ยนเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียว (จ.พัทลุง)

• ได้เพื่อนใหม่ ได้รูปแบบการจัดการแลกเปลี่ยน เมื่อวานต้องขออภัยที่บ่ายสามไม่ได้เข้าร่วม เพราะเป็น ผอ.รพ.สต.มีงานเข้า วันนี้จะเข้าร่วมเต็มที่

• กระบวนการของแต่ละที่ ดูว่าของเรา loss อะไรไป เก็บเกี่ยวส่วนที่เราไม่มี เอาไปปรับใช้ ปรับเปลี่ยนของเรา

• เป็นผู้ปฏิบัติ ไม่ได้รู้มาก ได้รู้เรื่องของเครือข่าย เช่น เราพบเด็กที่ตรวจพัฒนาการแล้วไม่ผ่าน เราจะติดต่อใครให้เร็วที่สุด ถ้าเราอยากได้อะไรนอกเหนือจากงานเด็ก เช่น พบผู้ป่วยติดเตียงต้องการเตียงก็ติดต่อ พม.(พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ได้แลกเปลี่ยนเรื่องอื่น ๆ ด้วย

• ได้รู้เรื่องการทำงานแต่ละระดับ

• ได้แลกเปลี่ยนการทำงานในวัยที่ต่างกัน ได้ฟังน้องจบมาทำหัตถการยังไม่เก่งนัก แต่เมื่อได้ไปฝึกที่ รพ. ทำให้มีความมั่นใจขึ้น หลังจากไปบรรจุก็ได้รับการต้อนรับอย่างดี ประทับใจ

• เป็นคนท้องถิ่น ได้รู้เรื่องสุขภาพ เดิมรู้จักกันในจังหวัดในตำบล ตอนนี้ได้เพื่อนที่เป็นรุ่นน้อง และชอบท่าประกอบเพลงใบไม้ต้นไม้เดียวกัน จะนำไปสอนเด็กๆ (เพลงของหมู่บ้านพลัม search ได้จาก youtube : ผู้เขียน)

• ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองของสำนักทันตฯ เป็น ผอ.รพ.สต. (เดิมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา) เป็นผู้บริหารระดับต้น ไม่รู้วัตถุประสงค์ของที่เราต้องประสานงาน ครั้งนี้ได้รู้งานของศูนย์เขต ทำให้เข้าใจระบบมากขึ้น ทำงานระดับพื้นที่ต้องทำงานเชื่อมโยงบูรณาการ ๔ กระทรวงหลัก เราต้องรู้ทุกเรื่องที่น้องทำ ต้องประสานกับน้องตลอด บางครั้งรู้บ้างไม่รู้บ้าง อยากให้ให้คำแนะนำชี้แนะด้วย

^_,^

ทพญ.สุวรรณา เอื้ออรรถการุณ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

พี่จิ๋มค่อย ๆ เล่าให้เห็นภาพช่วงการออกติดตามเยี่ยมเยียนพื้นที่ทั้ง ๙ จังหวัดที่ร่วมโครงการ กำแพงเพชร พิษณุโลก เชียงใหม่ ขอนแก่น หนองบัวลำภู สุพรรณบุรี อ่างทอง พัทลุง นครศรีธรรมราช

ตามด้วยบอกเล่ามุมมองการบูรณาการที่เกิดจากการไปเยี่ยมเยียน เห็นลักษณะบูรณาการของ ๑) เนื้อหา วิชาการ ๒) กิจกรรมหรืองาน ๓) ความรู้สึกหรือใจ ของผู้คนที่มาร่วมกันทำงาน

แล้วค่อยแจงแต่ละขั้นตอน process ในการทำงาน สามารถบูรณาการอะไรได้บ้าง

ตามด้วยสกัดว่า Key success ของการบูรณาการ ประกอบด้วย ๑) Focal point ๒) ความเข้าใจร่วมกัน ๓) การทำงานเป็นทีม ๔) ความรู้ที่จำเป็นและง่าย ๕) ประสบการณ์ร่วมของ Stakeholder ๖) การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและประชาชน

ย่อหน้านี้เป็น HL (Health Literacy) ของผู้เขียนนะคะ เพื่อที่จะได้ Output ทั้งแบบในแต่ละตัวบุคคล แต่ละครอบครัว แต่ละชุมชน Output ของแต่ละหน่วยงานที่มาร่วมกันทำ และตัวอย่างผลที่ได้เพิ่มแบบ Synergy จากการทำแบบบูรณาการ คือ ชุมชนจัดการตนเองได้ ตามวิถีชีวิต (ซึ่งระยะยาวน่าจะหมายถึง ชุมชนมีการจัดการด้านการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิต ที่เอื้อให้เด็กเติบโตตามเป้าหมายร่วมของ Stake holder)

จากนั้น พี่จิ๋มจึงมีข้อเสนอบทบาทของส่วนกลาง .... ไปจนถึงตำบล

แล้วพวกเราในห้องนี้จึงจะเข้ากลุ่มแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีคนทำงานจากระดับเขต จังหวัด อำเภอและตำบล เพื่อระดมจิตใจและความคิดกันว่า เราจะพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่พวกเรามีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเด็ก ๆ ปฐมวัยในแต่ละพื้นที่ของเรา

จุดบรรจบกันพอดีระหว่างแนวคิด ทฤษฎีจากส่วนกลาง และประสบการณ์ดีที่ลงมือทำมาเองแล้วจนเกิดผลดีต่อเด็ก ครอบครัว ชุมชน สังคมแต่ละพื้นที่ ... เดี๋ยวมีทีมสังเคราะห์เป็นแนวทางกลาง ๆ ให้แต่ละพื้นที่ แต่ละระดับในบทบาทที่เกี่ยวข้อง .... นำไปปรับใช้นะคะ น่าจะเรียกว่า แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยแบบองค์รวมในชุมชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยในชุมชน (ถ้าคำไม่ถูก พี่ ๆ เข้ามา comment นะคะ)

^_,^

พี่จิ๋มแนะนำตัวแทนทีมส่วนกลางจากสำนักโภชนาการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ ที่ร่วมเดินทางไปเยี่ยมพื้นที่ต่าง ๆ ทั้ง ๙ จังหวัด แล้วให้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ข้อชื่นชมและข้อเสนอแนะแก่พื้นที่

รวมทั้งวันนี้ คุณโต กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ นำออกกำลังกายแบบมืออาชีพแท้ ๆ ยืดเหยียดสำหรับวัยกลางคนนะคะ ไล่จากศีรษะถึงเท้า .... ชอบมาก ๆ

^_,^

สมองพร้อมนานแล้ว จิตใจก็รักกันพร้อมร่วมจิตรวมใจ ร่างกายก็กระปรี้กระเป่าสุด ๆ

ทำงานส่วนตัวก่อน มีอะไรที่ “เรา” อดไม่ได้ที่จะทำ ห้ามก็จะทำ ไม่ให้ทำก็จะหาทางทำจนได้? (แค่คิดก็มีความสุขแล้ว) เขียนในกระดาษไว้ก่อน

แล้วค่อยเข้ากระบวนการกลุ่มครั้งสุดท้าย ๙ กลุ่ม ๙ จังหวัด

เล่าให้เพื่อนฟังว่า “เรา” จะทำอะไร .... ปรู๊ดปร๊าด เรียบร้อย อย่างรวดเร็ว กระฉับกระเฉงมาก


๑. สุพรรณบุรี

• รวมความฝัน

• ระดับเขต สนับสนุน ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ๑ จังหวัด ๑ ตำบล ๑ อำเภอ

• จังหวัด ขยายอำเภอละ ๑ ตำบล (สุพรรณ) ครบทุกอำเภอ

• อำเภอ ในฐานะ PM ปฐมวัย ตำบลนำร่อง เห็นคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย จึงจะให้ครบทุกตำบลในอำเภอ โดยระดับอำเภอเป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และติดตามการดำเนินงานในพื้นที่แบบพี่น้อง คุยได้ตลอด โทรศัพท์ กลุ่มไลน์

• ตำบล ดำเนินงาน ๓D อย่างยั่งยืน หาภาคีเครือข่าย ทำงานร่วมกัน ได้รับความร่วมมือระดับชุมชน มีการคืนข้อมูลให้ชุมชน บูรณาการงาน ๓D ทุกพื้นที่ ให้เด็กปฐมวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

^_,^

๒. อ่างทอง

• ทำเป็นมิติ สสจ.กับศูนย์เขต ๔ เป็นพี่เลี้ยง เยี่ยมเสริมพลัง การพัฒนาระบบข้อมูล อำเภอวิเศษไชยชาญ ใช้ HDC ใช้โปรแกรม ๔๓ แฟ้ม

• มีการวิเคราะห์ ประเมินผลข้อมูล HDC ถ้าข้อมูลไม่ได้ตามเป้าหมาย ต้องหาสาเหตุ

• มีการสนับสนุนสื่อวิชาการ โภชนาการ ทันตฯ พัฒนาการ

• ระดับอำเภอ มี CUP ผอ.รพ.เป็นประธาน สนับสนุนดำเนินงาน และงบประมาณ มีการประชุม คปสอ.(คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอ) ทุกเดือน feedback ปัญหาทุกเดือน

• ประทับใจสุพรรณบุรี ใช้ ๓D เห็นด้วย

• รพ.สต. ต้องนำ อปท.มาบูรณาการด้วย และเก็บข้อมูล ๓D มีการ swot มาแก้ไขปัญหา และนำไปของบประมาณกองทุนสุขภาพตำบล

• มีการติดตามประเมินผล

• มีการคืนข้อมูลในชุมชน

^_,^

๓. พัทลุง

• ศอ. (ศูนย์อนามัย) ทำแผนเยี่ยมเสริมพลัง นำปัญหามาแก้ไขต่อ

• สสจ. ทำแผนร่วมกับ ศอ. ให้ความรู้ระดับอำเภอ

• คปสอ.ทำแผน ขับเคลื่อนงาน ใน รพ.สต.

• รพ.สต.นำแผนไปนำร่องและขยายในพื้นที่

• อปท. ไปทำงานร่วมกับ รพ.สต. ตามบทบาทหน้าที่

^_,^

๔. ขอนแก่น

• แบ่งเป็น ๔ ระดับ (ตำบล ผู้เกี่ยวข้อง)

• ทำฐานข้อมูล วิเคราะห์ ๓D คืนข้อมูล และประชาคม และให้เสนอว่าต้องการอะไรและทำงานร่วมกัน ยั่งยืน

• ส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ใน รพ. รพ.สต. กำลังคนใน รพ.สต.ไม่พอ ทำให้ทำ ๓D ไม่ครบ ก็จะนัดมาอีกวัน

• ศพด. ทำ รร.พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ทำกิจกรรม ๓D

• พัฒนาใน ๒ ตำบลนำร่อง

• อำเภอ (สสอ./รพ.) หางบประมาณ จัดกำลังคน ข้อมูล ปัญหา จะนำเสนอของบประมาณกองทุนสุขภาพตำบล (ตำบลน้ำพอง ตำบลสะอาด)

• จังหวัด/เขต สื่อ จัดเวที เพื่อขยายจากสองตำบลต้นแบบ เป็น ๘ ตำบล (อยู่ที่การสนับสนุนของ CUP

• ติดตามเยี่ยมเสริมพลังระดับเขต

^_,^

๕. เชียงใหม่

• พี่ธนาวรรณ (รพ.สต. อ.หางดง)

• ฝันอยากได้ ครอบครัว ๓D ต้นแบบ แก่ครอบครัวอื่นๆ ขยายผลต่อไป

• บูรณาการให้ความรู้ตรวจ ๓D ๓ เดือนครั้ง มีหมู่บ้านนำร่อง คนไปทำงานร่วมกัน หาแหล่งซื้อวัสดุ ที่มีคุณภาพ (แปรงคุณภาพ) เครื่องชั่งน้ำหนักที่ดีๆ ซื้อร่วมกัน ของบประมาณจาก อปท.

• สสจ./รพ .จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง โดยทีมทันตฯ และผู้เกี่ยวข้อง อุปกรณ์หรือวัสดุ ทำฟันสำหรับเด็ก (ลดความกลัว) ทาซิลเวอร์ฟูลออไรด์และฟูจิ 9 (SMART Technique)

• พัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็ง มีการประชุมแลกเปลี่ยนกัน ๒ เดือนครั้ง ทุกงานต้องมาเจอกัน วางแผนร่วมกันและพัฒนาต่อยอด

• คืนข้อมูลสะท้อนกลับให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง กรรมการการศึกษา ให้ทราบข้อมูลในพื้นที่ ผปค. ดูแลเด็กถูกมั้ย

• ผอ.กองการศึกษา (ผอ.น้อย) เสริม ในเรื่องการทำงานเครือข่าย

• การมาร่วมประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก

• มีเงื่อนไขในการประชุม เพราะไม่เข้าใจว่า ให้มาทำอะไร จึงมีข้อแม้กับคุณหมอ โดยเอาทันตฯ ของ รพ.สต.มาด้วย ไม่งั้นไม่มา (ทีมงานท้องถิ่นมา ๒ คน)

• การทำงานเป็นเครือข่าย จะประสบความสำเร็จได้ (ที่ผ่านมาขาดการเชื่อมโยง บูรณาการกัน ถ้าจับมือกันทำงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการประชุมปรึกษางานและวางแผนงานกันประจำ จะทำให้ทำงานได้ตามเป้าหมาย

^_,^

๖. พิษณุโลก

• นักวิชาการสาธารณสุข PM ๐-๕ ปี นครไทย บูรณาการ ๓D ทุกตำบล

• สิ่งที่ได้ทำในปีนี้ ทำเรื่องนโยบาย DHS ทำเรื่องกรรมการขับเคลื่อนระดับอำเภอ มีเจ้าหน้าที่และชุมชนแกนนำ มีคำสั่งและโครงการไปแล้ว เรื่อง ๓D ทำโครงการไปแล้ว จะเริ่มทำปีหน้า

• ครั้งนี้ชัดขึ้นเรื่องบูรณาการ

• กลับไปทำ จะไปทบทวนกิจกรรมที่ทำชัดเรื่องบูรณาการไหม การบูรณาการทีมภายในเจ้าหน้าที่ (รพ. คลินิก ANC รร. พ่อแม่) ตอนนี้ นครไทยทำครบทุกอย่างแต่เยี่ยมเสริมพลังยังแยก

• ภายนอกองค์กร สสอ.เชื่อมโยงเครือข่ายหมดแล้ว ต่อไปจะทำงานเชิงรุก ๓D

• ต้องหาเจ้าภาพ เติมในส่วนของ พม. ส่วนของศึกษา นครไทยทำเรื่องแก้ปัญหาโภชนาการในวัยเรียน ก็จะไปเชื่อมต่อ

• ได้ตั้งเครือข่ายแก้ไขปัญหาปฐมวัย มี ๔๑ รร.

• การสร้างนโยบายสาธารณะ จะทำ ๓ กลุ่มวัย (สูงวัย แรงงาน ปฐมวัย)

^_,^

๗. หนองบัวลำภู

• ทันตแพทย์ รพ.นาวังย้ายออก ให้ทันตแพทย์ใหม่ไปดูแล WCC สอนใช้หลอด (หลอดดูดพลาสติกตัดปลายเฉียง) ตรวจฟัน

• เพิ่มสมรรถนะ อสม. หลังการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง สามารถแปลผลให้ผู้ปกครองฟัง ทันที ส่งข้อมูลให้ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ จะวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหา

• สสจ. รับผิดชอบสมัชชาสุขภาพจังหวัด มีกรรมการปฐมวัยในจังหวัด มีข้อมูล ทำนโยบาย ส่งต่อให้ DHS โดยเฉพาะทันตแพทย์โซน ดูแล รพ.สต. ที่ไม่มีทันตาภิบาล

• รพ.สต. ฝึก อสม.ให้ทำสามดี เป็นพี่เลี้ยงชุมชน (ผดด. อสม.) ในการเฝ้าระวัง นำข้อมูลคืนข้อมูลให้ อปท. ทำโครงการในชุมชน ให้ผู้ปกครองเฝ้าระวังในบ้านต่อ

• ระยะเวลาทำสามปี

^_,^

๘. กำแพงเพชร

• เริ่มจากข้อมูล เริ่มจากวิเคราะห์และคืนข้อมูล (อปท. เจ้าหน้าที่ ผดด. อสม.) มาร่วมกันวิเคราะห์ วางแผน แล้วทำกิจกรรมโครงการแก้ไขปัญหา งบจากกองทุนสุขภาพตำบล หรือเงินนอกงบ (ปตท./พม./ไฟฟ้า) จะมี output เป็นข้อมูลกลับมา เป็นพัฒนาการที่ยั่งยืน

• เมื่อเกิดกระบวนการเหล่านี้ ก็จะขับเคลื่อนไปสู่ตำบลอื่นๆ โดยอยากให้เจ้าภาพหลักเป็น อปท.

^_,^

๙. นครศรีธรรมราช

• รพ.สต. อ.เชียรใหญ่ เมื่อวานได้กลยุทธ์ มาช่วยดำเนินโครงการต่อไป

• กลยุทธ์ ๓D และ ๔M และการบูรณาการ เน้นเชิงรุก กับเชิงรับ ใช้ภาคีเครือข่ายดำเนินกิจกรรม

• เชิงรุก ใช้ recheck สิ่งที่ทำมา (รพช. รพ.สต. อปท. ผดด.)

• พัฒนาศักยภาพแกนนำ โดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (แกนนำ คือ อสม.)

• กระตุ้นผู้นำและคนในชุมชน ในการดูแลสุขภาพชุมชนได้ เฟอร์นิเจอร์สุขภาพ (เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดัน) ต้องมี

• จะมีโครงการรณรงค์เพื่อให้เด็กปฐมวัยสุขภาพดี

• เชิงรับ มีภาคีรองรับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือกรณีเด็กมีปัญหา ตามสายงาน เช่นผิดปกติด้านพัฒนาการก็ส่งพยาบาล เรื่องฟันส่ง ทันตฯ ถ้าเกินขอบเขตก็ส่ง รพ.

• พัฒนาระบบติดตาม ส่งต่อ ตั้งแต่ชุมชนไปจนถึงศูนย์

• จะทำให้เด็กสูง สมส่วน พัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ

^_,^

เติมเต็มจาก ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา

ทุกจังหวัดสามารถประมวลความคิด หลังจากมีความเข้าใจแนวคิด บูรณาการ อย่างชัดเจน และนำไปสู่การเสนอความคิด (ภาพฝัน) ว่าจะทำอย่างไร

• ทำอย่างไรจะทำให้ความฝันนี้เป็นภาพจริง ทุกจังหวัดเป็นภาพฝันเป็นภาพเดียวกัน “ถ้าเราอยากเห็นเด็กสูงสมส่วน พัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ ๓D” จริงๆ มีดีที่ซ่อนอยู่มากกว่านี้ ทั้งสมองดี เติบโตแข็งแรง สุขภาพกาย จิตดี ซึ่งเราจะมองหาภาคีที่มากขึ้น ต้องเอาคนมิติเชิงสังคมมาช่วย

• ถ้ามองเป้าหมายเป็นตัวตั้ง เราจะยื่นมือไปประสานกับอีกหลายภาคส่วน

• ควรทำ R2R (Routine to Research) และต่อไป ต้องผลักจาก Research to Routine ด้วย เป็นความฝันเชิงวิชาการ แต่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ “เราอยากเห็นอนาคตของประเทศที่มีคุณภาพ จากเด็กยุคใหม่”

• ส่วนกลางจะทำหน้าที่เป็นเวทีแลกเปลี่ยน เพื่อให้แต่ละพื้นที่ได้มาเรียนรู้กัน

^_,^

และแล้วก็ถึงช่วงสุดท้ายของการประชุม ใช้ ๒ คำถามสำหรับการสะท้อนความรู้สึกจากผู้เข้าประชุม

ติดตามผลได้ที่ บันทึกแรก ของชุดนี้นะคะ

ขอบพระคุณที่ติดตามมาจนถึงบรรทัดนี้ มาร่วมฝันและลงมือทำเพื่อเป้าหมายร่วมกัน เหมือนพี่สุรัตน์บอกนะคะ

"เราอยากเห็นอนาคตของประเทศที่มีคุณภาพ จากเด็กยุคใหม่"

ฝันไม่ไกล และไปถึงแน่นอน

หลับฝันดีทุกท่านนะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

^_,^

(ส่วนหนึ่งของทีมส่วนกลาง ที่ออกเยี่ยมติดตามพื้นที่นำร่อง ๙ จังหวัดนะคะ จากสำนักทันตสาธารณสุข สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักโภชนาการ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ )

หมายเลขบันทึก: 629300เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2017 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีคุณหมอ ธิ ทันตเชิงรุก 9จังหวัด พัทลุงติดด้วย

ตอนที่ทำเรื่อง หนึ่งอำเภอ หนึ่งสุขภาพช่องปาก ผมลงทำความเข้ากับชมรมผู้สูงอายุทั้งจังหวัด

แต่หลังปิดโครงการก็ไม่ได้สานต่อด้วยเกษียณ

ตอนนี้ ทำโครงการกิจกรรมกับ ศพด.เรื่องการกระทำความรุนแรงในเด็ก 0-5 ปี พร้อมทั้งออกแนะนำทำความเข้าใจใน พรบ กระทำความรุนแรง ปี 2550

จะได้เชิญทีมทันตพัทลุง เป็นคณะทำงานด้วย

เพื่อจะใส่กิจกรรมสุขภาพช่องปากให้ เด็กด้วย

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาเยี่ยมชมบันทึกและภาพบรรยายความ

-บันทึกต่างๆ ของพี่หมอล้วนแล้วแต่มีข้อมูลมากมาย

-ได้รายละเอียดครบเลยครับ

-ขอเป็นกำลังใจให้พี่หมอ มีพลังกาย พลังใจ และมีความสุขมากๆ นะครับ

-ด้วยความระลึกถึงพี่หมอ..คร้าบ..

ขอบคุณค่ะ คุณลุง ว. เชิญทั้งทันตฯ ส่งเสริมสุขภาพ นักโภชนากร กลุ่มที่ทำงานเพื่อเด็ก ๆ น่ะค่ะ มีอีกหลายภาคส่วน

รอติดตามนะคะ

ขอบคุณค่ะคุณเพชรฯ พี่ฝน พี่สุรัตน์ note-taker มือทองค่ะ

เก็บความเก่ง พิมพ์ไว บันทึกได้ละเอียดมากค่ะ

ชอบที่ได้เล่าต่อค่ะ มีกำลังใจจากผู้เยี่ยมชมนี่ละคะ

ชื่นชมทีมทำงาน

ชัดเจนและละเอียดมากครับ

เอาภาพศรีสวัสดิ์มายั่วครับ


ขอบคุณแทนทีมส่วนกลาง ทีมผู้จัด ทีมวิทยากรผู้เหนี่ยวนำกระบวนการ โดยเฉพาะทีมตัวแทนจากพื้นที่นำร่อง ๙ จังหวัด สุดยอดประสบการณ์และการมีส่วนร่วมเสนอแนะสิ่งดี ๆ เพื่อเด็ก ๆ คุณภาพวันนี้ เพื่ออนาคตคุณภาพคนไทยในวันหน้าละค่ะ

ขอบคุณ ดร.ขจิต ที่ติดตามต่อเนื่องด้วยนะคะ อยากไป ๆ ๆ ๆ ศรีสวัสดิ์ เมืองกาญจน์ เมื่อไหร่ดีคะ ^_,^

มาเมื่อไรแจ้งๆได้เลยครับ

เย้ๆๆ

มีโอกาส จะแจ้งนะคะ ขอบคุณคร้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท