​ปรับระบบการจัดการมหาวิทยาลัยเพื่อประเทศไทย ๔.๐



ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ มีวาระ “การปรับระบบ บริหารจัดการงานวิชาการเพื่อสังคมซึ่งผมมองว่า ต้องปรับใหญ่ทั้งองคาพยพของมหาวิทยาลัย รวมทั้งปรับ กระบวนทัศน์” (mindset) ด้วย


คือเปลี่ยนจาก (๑) วิชาการลอย หรือแยกตัวจากชีวิตจริงของผู้คน (socially segregated scholarship) ไปเป็นวิชาการที่ผูกพันกับสังคม ผูกพันกับชีวิตจริงของผู้คน เป็น (socially engaged scholarship) (๒) เปลี่ยน กระบวนทัศน์และวัฒนธรรม วิชาการสาขาเดี่ยว” เป็นวิชาการสหสาขา และ (๓) เปลี่ยนความสัมพันธ์ ระหว่างมหาวิทยาลัย กับภาคการทำมาหากิน ภาคชีวิตจริง เป็น “ผูกพัน” (engage) กัน ไม่ใช่ช่วยเหลือ เน้นที่การร่วมกัน ๔ อย่าง คือ ร่วมกันตั้งเป้าหมาย ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ ร่วมทำ ร่วมรับผล โดยผลต่อมหาวิทยาลัยคือ ผลด้านการผลิตบัณฑิต และพัฒนาบุคลากร, การวิจัย, การทำประโยชน์แก่สังคม, และการมีรายได้เพิ่มขึ้น


ผมมองว่า การรื้อและสร้างใหม่สถาบันอุดมศึกษาของไทย ให้มีกระบวนทัศน์ใหม่ พฤติกรรมใหม่ดังกล่าว เป็นกลไกลำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของเป้าหมาย “ประเทศไทย ๔.๐ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม


เอกสารประกอบการประชุมระบุดังนี้

“การวิจัยเพื่อสังคมและการบริการวิชาการที่เป็นเลิศ ใน ๔ ประเด็น ได้แก่


๑. จุดมุ่งหมาย : เพื่อยกระดับการทางานวิชาการเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สู่งานที่จะ สร้างผลกระทบสูงต่อสังคม และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์จังหวัด และยุทธศาสตร์ประเทศ


. การปรับระบบบริหารจัดการ
.๑ การปรับเปลี่ยนองค์กรสนับสนุนงานวิชาการที่จะมีผลกระทบสูงต่อสังคม ประกอบด้วย

๒.๑.๑ การจัดตั้งสำนักงานประสานงานวิชาการเพื่อสังคม เพื่อทำหน้า ที่ formulate และmatch โจทย์จากชุมชนที่มีผลกระทบสูงกับนักวิชาการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หน่วยปฏิบัติในพื้นที่, องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO), แหล่งทุนวิจัย, ระบบงบประมาณเชิงพื้นที่, และฝ่าย CSR ของภาคเอกชน และแลกเปลี่ยนขยายผลงานที่เกิดขึ้น ไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ และนานาชาติ

๒.๑.๒ การปรับเปลี่ยนภารกิจและโครงสร้างของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเพื่อทำงานวิจัยในแนวใหม่นี้

๒.๑.๓ การสนับสนุนคณะต่าง ๆ ให้พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิชาการเพื่อสังคม (Centers of Engagement - COEn) ขึ้น เพื่อทางานตามความเชี่ยวชาญเฉพาะของตน แต่ประสานกับ ศูนย์ฯ ของคณะอื่น ๆ ภายใต้โจทย์ใหญ่ ๆ เรื่องเดียวกัน

.๒ การปรับเปลี่ยนตัวชี้วัด (KPI) ของบุคลากรและหน่วยงานที่ทำงานวิชาการเพื่อสังคม ดังกล่าวข้างต้น ให้สามารถนับเป็นผลงานในการพิจารณาความดีความชอบประจาปีได้ตามคุณภาพและ ผลกระทบของงาน ในน้ำหนักที่เหมาะสม

.๓ การปรับเปลี่ยนวิธีการให้ทุนวิจัย ให้มีทุนแบบ Seed funding และแบบต่อเนื่อง (3 ปี) เพื่อให้นักวิจัยมีข้อมูลที่เพียงพอก่อนเริ่มทางานวิจัย และเมื่อเริ่มงานแล้วสามารถทำงานวิจัยได้ต่อเนื่องจน บรรลุเป้าหมาย


. การพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานวิชาการเพื่อสังคม ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ประสานงานชุด โครงการ (Program Officer) พี่เลี้ยง (Mentor) ผู้บริหารระดับรองคณบดี และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน รวมทั้งการส่งเสริมยกย่อง เช่น การให้รางวัลช้างทองคำเพื่อสังคมประจำปี


. การพัฒนาระบบ data การเก็บและการแสดงผล โดยรวบรวมคลังความรู้ พร้อมใช้นวัตกรรม และบทเรียนที่สามารถแก้ไขปัญหาสาคัญ และเสริมพลัง (Empowerment) ของชุมชน ท้องถิ่น และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน /อาหารและสุขภาพ/ ล้านนาสร้างสรรค์”

นั่นคือเอกสารที่ ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง เสนอต่อสภามหาวิทยาลัย ผมชื่นชมข้อเสนอที่ครบด้าน ครอบคลุมนี้มาก แต่ก็มีข้อเพิ่มเติมเล็กๆ ๓ ข้อคือ

  • การบริหารการขับเคลื่อนสู่ระดับปฏิบัติ
  • ต้องมีกลไกพัฒนาทักษะภายในมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาปัญหาหรือโจทย์ของสังคม (ทั้งด้านการผลิต การตลาด ด้านนโยบาย ด้านการเรียนรู้ และอื่นๆ) ไปเป็นโจทย์วิจัย และพัฒนา และทักษะในการนำเอาผลการวิจัยและพัฒนา ไปตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นผลงานวิชาการ
  • การสื่อสารความหมาย คุณค่า และกลไกการทำงานวิชาการผูกพันกับสังคม และผลงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของฝ่ายต่างๆ


ผมมีความเห็นว่าเครื่องมือนำผลงาน engagement ไปสู่ผลงานวิชาการ ตัวที่ทรงพลังที่สุดตัวหนึ่งคือ reflection ระหว่างทำงาน community engagement ต้องทำ reflection ด้วยคำถามว่า ผลที่พบเห็นอธิบายด้วยทฤษฎี ก, ข, ค. .... ได้อย่างไร หาทฤษฎีมาอธิบายได้ไหม หากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน นั่นคือประเด็นสำหรับ นำไปตีพิมพ์เผยแพร่เป็นผลงานวิชาการ โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องเก็บข้อมูล อย่างแม่นยำชัดเจน


จะเป็นโอกาสสร้างนวัตกรรมในการจัดการ university – community engagement ได้มากมาย ตัวอย่างคือการใช้ seed funding ที่เสนอโดย ศ. ดร. ปิยะวัติ เป็นเครื่องมือ สร้าง funding จากคู่ร่วมมือ สร้างความเชื่อถือของคู่ร่วมมือ และสร้างความมั่นใจของคณาจารย์และสมาชิกภายในมหาวิทยาลัย


มีกรรมการสภาแนะนำให้มีคณะกรรมการ steering ที่มีคนจากนอกมหาวิทยาลัยมาให้คำแนะนำ และมีคนแนะนำให้กำหนดลำดับความสำคัญของประเด็นที่จะทำ


วิจารณ์ พานิช

๒๙ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 629099เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2017 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2017 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบไอเดียนี้มากเลยค่ะ หากขับเคลื่อนอย่างนี้งานวิจัยจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่าง Agile ค่ะ คือทำไปใช้ไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท