ถ้าห้องสมุดยังใช้ระบบมืออยู่ ป่านนี้จะเป็นไงน้า


สมัยนี้ห้องสมุดควรนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้

อยากรู้เฉยๆว่าจะคิดยังไงถ้าตอนนี้บรรณารักษ์ยังใช้ระบบ manaual อยู่ บริการจะเป็นไงบ้าง

หมายเลขบันทึก: 62869เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ก็คงมีคนเข้ามาใช้บริการบ่อย และมีแต่คำถามให้บรรณารักษ์ตอบล่ะมั้งค่ะ

ก็คงจะสนุกสนานไปอีกแบบหนึ่งค่ะ

นั่นนะสิครับ

ช่วงนี้ระบบของที่นี่ยิ่งมีปัญหาบ่อย

บางทีใช้ไม่ได้แค่วันเดียวทำเอาบรรณารักษ์วุ่นไปเลย เพราะผู้ใช้ก็จะเข้ามาหาเรามากขึ้น พี่ครับหนังสือนี้อยู่ไหน นั้นอยู่ไหน ปวดหัวไปเลยคิดว่ามีระบบห้องสมุดแต่ถ้าเกิดปัญหาบ่อยๆ ผมว่าไม่ต้องระบบยังสบายใจกว่าเลย

จริงมั้ยครับ

(บรรณารักษ์มือใหม่)

 มองในแง่ดี เราจะได้ใกล้ชิดกับผู้ใช้บริการมากขึ้นไงคะ

  • การได้แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าบ่อยๆ ทำให้ไม่ง่วงค่ะ
  • มองในแง่ร้ายๆ

ขอโทษค่ะ ไม่ได้ตั้งใจเพิ่มข้อความ

มองในแง่ร้ายก็คือ  ถ้าระบบอัตโนมัติมีปัญหา การจัดการหนังสือที่รับคืนมาและไม่ผ่านระบบก็มีปัญหา

  • ต้องกองไว้ก่อน ผู้ใช้บริการคนต่อไปก็ต้องรอไปก่อน
  • ต้องหาวิธีการ แบบ Manual มาช่วย เช่น ทำแบบฟอร์มให้กรอกคืนหนังสือ แต่ยืมต่อไม่ได้
  • การคืนเฉยๆ หรือมายืม ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าการมาคืนและต้องการยืมต่อ
  • ไม่ต้องพูดถึงการให้บริการตอบคำถาม มีคนเข้ามาหาเยอะแน่นอน
อืม...ก็จะเห็นได้บ่อยเวลาระบบล่ม แทบจะทำอะไรไม่ได้เลย ยังไงแล้ว... การทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยย่อมดีกว่าอยู่แล้วค่ะ จะใช้รูปแบบใดก็ตาม ขอเพียงแค่บรรณารักษ์อย่าเป็นเครื่องจักร ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มหัวใจเท่านั้นเป็นพอ ที่มอ.ปัตตานีกำลังทดลองใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์คอมพิวเตอร์ มอ.และความร่วมมือของห้องสมุดวิทยาเขตต่างๆ ในการให้ข้อเสนอแนะจากระบบที่เคยซื้อจากต่างประเทศ เพื่อปรับปรุงให้ระบบสมบูรณ์ที่สุด และทราบด้วยว่าทาง มอ.ยินดีให้สถาบันอื่นๆที่สนใจใช้ระบบได้ด้วยนะคะ ที่สำคัญประหยัดงบกว่าซื้อระบบของต่างประเทศเยอะทีเดียวค่ะ พี่ซี
22 ธันวาคม 2549
   การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ ทำให้เราสามารถบริการได้รวดเร็ว และการเข้าถึงข้อมูลจะทำได้กว้างขวางรอบทิศ สารสนเทศจะถูกสืบค้น และใช้ได้ดีกว่าระบบ manuals ระบบจะมีปัญหามาก ถ้าการออกแบบระบบถูกนำไปผูกติดไว้กับ รูปแบบของบัตรรายการ 3x5 นิ้ว เหมือนเดิม
หน้าจอคอมพิวเตอร์ 1 หน้า สามารถแสดงข้อความได้มากถึง 25 บรรทัด และสามารถขยายต่อได้อีกไมู่้รู้จบ ดังนั้นในการออกแบบระบบ จะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เป็นสำคัญ
ปัญหา ที่ระบบล่มบ่อยๆ น่าจะมาจาก คอมพิวเตอร์แม่ข่าย มีความเร็วต่ำ(ประมวลผลได้ช้า), โปรแกรมที่ใช้งาน ถูกออกแบบให้ link ข้อมูลพันกันไปมามากมายหลากหลายฟังก์ชั่นเกินความสามารถของ
คอมพิวเตอ์ืแม่ข่าย(ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ให้มากเป็นพิเศษ) เราะในความหมายของ logic ทางคอมพิวเตอร์ทำได้ แต่เครื่องแม่ข่ายไปไม่ไหว(ประสิทธิภาพไม่ดีพอ) บรรณารักษ์ จะต้องขอจำกัดขอบเขตการเชื่อมต่อตามศักยภาพของห้องสมุด
ของเราเองไว้ก่อน ยกเว้นมีเงินมากก็ไม่ว่ากัน และประการสำคัญ คือ ข้อเท็จจริงของโปรแกรมห้องสมุด กับ ราคาที่ซื้อขายกัน อย่าลืมว่าโปรแกรมที่สมบูรณ์แบบ และถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ 100% ในทุกmodules จะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5-7 ล้านบาท(ไม่รวม hardware) ถ้าห้องสมุดจ่ายเงินซื้อมาไม่ถึง ก็น่าจะเป็นข้อตกลงที่ บริษัทผู้ขาย ไม่บอกความจริงกัน อาจจะบอกว่ามีครบทุก modules แต่ในแต่ละ module นั้นทำงานได้ตามระดับ แค่ 40% เพื่อให้โปรแกรมฯของเขาขายได้ เช่นบาง module ทำงานได้ถึง 70% แต่ในอีกบาง module ทำงานได้เพียง 30% บางmodule ทำงานได้ 50% เป็นต้น แต่พอมาเปิดใช้งาน เต็มระบบ ผลคือ ประสิทธิภาพไม่พอ แฮงค์ ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย นี่น่าจะเป็นข้อจริง ลองถามดูซิว่า มีมหาวิทยาลัยแห่งไหน ในประเทศไทย ที่สั่งซื้อดปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ที่ทำงานได้ 100% ทุกๆ modules ซึ่งจะมีสมบูรูณ์จริงๆ ประมาณ 6-9 modules เชื่อว่าไม่มีแน่นอน เพราะเคยสอบถามมูลค่าแล้ว ประมาณ 7-12 ล้านบาท ดังนั้นถ้าจ่ายเงินไม่ถึงก็น่าจะต้องยอมรับสภาพ และสถานการณ์ อย่างที่เป็น ลองตรวจสอบฟังก์ชั่นใหม่ แล้วทดลอง ล้อค หรือ จำกัดการทำงานบางฟังก์ชั่นไว้เท่าที่ต้องการและจำเป็น โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ logicของคำสั่ง ที่เชื่อมกันไปมา หลายห้องสมุดก็ประสบปัญหาแบบนี้หรือจะใช้วิธีการ เลือกใช้คำสั่ง ให้ปิดฟังก์ชั่นนี้ก่อน เพื่อไปเปิดอีกฟังก์ชั่นหนึ่ง เพื่อใช้งานทีละเรื่อง แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ใช่อัตโนมัติเสียแล้ว
 ที่ สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ได้ใช้ โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ ที่เขียนและออกแบบเอง มาตั้งแต่ 2536 จนถึงปัจจุบันใช้ โปรแกรม version ล่าสุด ทำงานร่วมกับ XP สมบูรณ์แบบพอสมควร ทำงานได้ 95% ทุกฟังก์ชั่น และmodules 4 modules หลักๆ อีก 5% ที่มีปัญหา คือ การถ่ายโอนข้อมูลจาก version เก่า ได้มาไม่ครบถ้วนต้อง updateด้วยบรรณารักษ์ ซึ่งก็ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเก่าเมื่อ 20 ปีก่อนมาแล้ว เชื่อว่าน่าจะสมบูรณ์แบบมากกว่า ของ 3 มหาวิทยาลัย ที่ทำออกมาใช้งานเพราะเราพัฒนามาก่อนยาวนาน
หลายปีแล้ว หาทางปรับปรุงแก้ไขกันมาแทบทุกๆระบบงาน เพราะว่าเรายากจน ไม่มีเงินซื้อของแพง เลยต้องพยายามคิดเองเพื่อประหยัดเงินค่าใช้จ่ายทุกรูปแบบ
โดยอาศัยวิธีการศึกษาจากโปรแกรมของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
เช่น ของ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย, ของ MIT,ของ OCLC และอีกหลายๆแห่ง เป็นต้นแบบ แล้วนำมาปรับปรุงของเราเอง เชื่อมั่นว่าดีกว่า ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยทั้งหมดทุกระบบ ถ้าจะลองเข้ามาสืบค้นทางระบบ Online ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เพื่อศึกษาดูก็ได้ที่
http://www.lib.ricr.ac.th  เลือก click ที่ด้านซ้าย "ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ" ลองดูแล้วจะรู้ว่าเป็นอย่างไร ? ในโปรแกรมระบบยืมคืน ที่นี่ นักศึกษาทุกคนไม่มีบัตรสมาชิก ใช้การ สแกนลายนิ้วมือ เก็บไว้ เมื่อจะยืมคืน ก็มากดสแกนเรียกข้อมูลขึ้นมาบนจอภาพ
   อีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นปัญหามากแล้วทำให้ระบบล่มนั้น น่าจะมาจากตัว คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ทำงานหลายงาน เชื่อมกับงานอื่นๆของมหาวิทยาลัย ถ้าตัว hardware ไม่ใหญ่พอมีความจุมากถึง terabytes แล้วต้องจำกัดให้ ทำงานเฉพาะงานห้องสมุดเท่านั้น ไม่อย่างนั้น errors ล่มบ่อยๆแน่นอน นอกจากนั้นระบบไฟฟ้า ก็มีส่วนทำให้ระบบล่มได้
           นอกจากนั้นยังต้องวางระบบความปลอดภัยไว้สูง โดยเฉพาะตัวฐานข้อมูลห้องสมุด ควรทำงานแบ่งเป็นสองระบบคู่ขนาน คือ LANs หนึ่งวง(ใช้เฉพาะภายในอาคารห้องสมุดเท่านั้น) และ InterNETs อีกหนึ่งวง วางแนวปฏิบัติอัตโนมัติ ให้ copy ข้อมูลจาก LANs ยัง NETs ตามเวลาที่กำหนด ถ้า NETsล่ม LANs ยังอยู่ทำงานได้ต่อไป  ต้องศึกษา สังเกตุ และวิเคราะห์ให้ดีมากๆ ด้วยเหตุนี้ ทำไมบรรณารักษ์ ต้องเรียนรู้ระบบคอมพิวเตอร์ ในหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ เพียงแค่รู้เรื่องเข้าใจ ไม่ใช่เป็น technicians ในงานคอมพิวเตอร์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท