ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


ระบบห้องสมุดอัตโนมัติระดับอุดมศึกษาที่ สกอ. ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัยในการพัฒนา

วันนี้ได้เดินทางไปศึกษาดูระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ สกอ. ร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นั่นก็คือ ALIST ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นับว่ามีประโยชน์มากๆ เลย เพราะประหยัดค่าบำรุง software รายปีที่ต้องจ่ายให้บริษัทต่างประเทศ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยที่ใช้ software สำเร็จรูปต้องเสียค่าบำรุงรายปี โดยรวมทุกมหาวิทยาลัยต้องเสียค่าบำรุงหลายสิบล้านบาท  นอกจากนี้จะทำให้เกิดมาตรฐานในการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถาบันอุดมศึกษาได้อีกด้วย แต่ตอนนี้ยังไม่สมบูรณ์นะ คาดการณืว่าจะเสร็จใน 3 โมดูลแรก คือ catalog / opac / circulation ในเดือนกรกฎาคม ปี 2550 ได้ข่าวแว่วๆ ว่าที่ สงขลานครินทร์พัฒนาเสร็จแล้ว ใครรู้ช่วยให้ข้อมูลด้วยส่วนที่วลัยลักษณ์ก็เหมือนกัน อยากทราบรายละเอียดระบบต่างๆ ของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยที่เหลือว่าเป็นไงบ้างนะครับ  อนาคตห้องสมุดยังต้องไปกันอีกไกล สู้ๆ แล้วกันนะครับ

พัฒนาอย่างยั้งยืนและมั่นคงเพื่อบริการที่ดี

หมายเลขบันทึก: 62861เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
14 ธค.49
       ที่ราชภัฎเชียงราย นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้งาน ตั้งแต่ 2536 พัมนาเอง-เขียนเอง-จนถึง version ปัจจุบัน สมบูรณ์แบบ ไม่น้อยหน้า 3 แห่ง ที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าน่าจะเหลืออีก 13% จึงจะเสร็จเรียบร้อย แต่ที่เชียงราย โปรแกรมใหม่ล่าสุด สมบูรณ์ใช้งานได้ดีเยี่ยมมาตั้งแต่ 2547 เป็น งานระบบที่พัฒนาต่อ ยอดมาจาก แนวคิดต้นแบบของ CLEO แห่ง มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ลองเข้าไปทดลองใช้ดูได้ ที่ http://www.lib.ricr.ac.th โปรแกรมห้องสมุด ที่ดีนั้นจะต้องให้บริการผู้ใช้ ที่หลากหลาย มีข้อบ่งบอกชี้แหล่งของสารสนเทศได้มากกว่า แนวทางของ บัตรรายการเดิมๆ ที่ หน้า OPACมีให้ดูได้แค่ 7-8 บรรทัด คอมพิวเตอร์นั้นบอกอะไรกับเราได้มากกว่านั้นมากมายและ
จำเป็นต่อการนำมาใช้งานการสืบค้นข้อมูล เชื่อมต่อได้ ฯ
    ห้องสมุดทุกวันนี้ และในอนาคต จะมีวัสดุสารสนเทศ เหลือแค่ 3 ชนิด/ประเภท เท่านั้น คือ  1. หนังสือ /papers 2.CD/DVD ที่บันทึกสารสนเทศทุกชนิดในรูปแบบ digital 3.e-information Online
         (ลองนึกดูซิว่า multimedia ทั้งหลายแบบเดิมๆนั้น เป็นวัตถุโบราณ ที่มีแต่เครื่องครุภัณฑ์ หาตัววัสดุไม่ได้ ไม่มีขาย ไม่มีใครผลิต ยกเว้น CD/DVD เท่านั้น)
        สังคมของการแสวงหาความรู้ เปลี่ยนไป กระบวนการของห้องสมุดทั้งหลาย กำลังจะล้มตายไป บรรณารักษ์ ทุกๆคน ต้องปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ ความรู้ต้องดีเยี่ยมในหลายๆด้าน ต้องชี้นำและสร้างจุดเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างลึกซึ้ง
ชี้นำคอมพิวเตอร์ให้ทำงาน ไม่ใช่ให้คอมพิวเตอร์มาชี้นำ บรรณารักษ์ กระบวนการจัดการข้อมูลต้องพัฒนาใหม่เกือบทั้งหมด
และสิ่งที่จะต้อง กลับมาพิจารณากันอีกครั้งในกระบวนการสืบค้น คือ การสร้างแนวคิดเรื่อง Subject Heading กับ การใช้ Keyword ในการสืบค้นสารสนเทศ
  งานบริการด้านสารสนเทศอ้างอิง /Reference ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้ Encyclopedia & Dictionary สามารถเรียกใช้ผ่าน
โทรศัพท์มือถือ/โน้ตบุ้ค ได้ ????.....
   งานบริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง/วารสาร/หนังสือพิมพ์รายวัน ที่สามารถสืบค้นผ่าน ระบบ onlineได้ทุกวันทุกเวลา.........????
     ห้องสมุด กับการเป็นแหล่งชี้นำความรู้ของสังคมแห่งการเรียนรู้
จะต้องดำเนินการ ในแบบแผนอย่างไร และอะไร คือสิ่งจำเป็นสูงยิ่งในการปฏิบัติการ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท