นางในวรรณคดีไทย


วรรณคดี ถือเป็นวรรณกรรมหรืองานเขียนที่ได้รับการยกย่องว่า นอกจากจะมีเนื้อหาสาระในเชิงสร้างสรรค์แล้ว ยังมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ สามารถทำให้ผู้อ่านคล้อยตามเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ วรรณคดีส่วนใหญ่ มักให้ความสำคัญที่ตัวละคร รวมถึงการดำเนินเรื่อง และสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากไม่แพ้เนื้อหา คือ นางในวรรณคดี ที่แต่ละเรื่องที่มีอุปนิสัยแตกต่างกันซึ่งนางในวรรณคดีเหล่านี้บ้างก็พบกับโชคชะตาที่ยากลำบาก หรืออุปสรรคต่าง ๆ กระทั่งนำไปสู่บทสรุปที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตนั่นเอง

นางมโนราห์

จากเรื่อง. พระสุธณ-มโนราห์


นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์

นางมโนราห์ เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน กันและงดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ โดยทุกองค์มีปีกและหางที่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมืองปัญจาลนคร พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ทำให้สามารถจับนางมโนราห์ไป

นาง มัทนา

จากเรื่อง มัทนาพาธา



นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา


จอมเทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์

นาง บุษบา

จากเรื่อง อิเหนา




นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา


นางบุษบา เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง และเมื่อประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา ทั้งนี้ นางบุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวา กิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคน ใจกว้างและมีเหตุผล จึงทำให้อิเหนารักใคร่หลงใหลนางยิ่งกว่าหญิงใด

นาง อันโดรเมดา


จากวิวาห์พระสมุทร

นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา จาก วิวาห์พระสมุทร

กล่าวถึงประชาชนชาวกรีก ณ เกาะอัลฟะเบตา โง่เขลา หลงเชื่อในอำนาจทางทะเล เมื่อครบรอบ 100 ปี จะต้องส่งสาวพรหมจารีไปเป็นเจ้าสาวของพระสมุทร กษัตริย์มิดัสผู้ครองเกาะจำใจส่งราชธิดาชื่ออันโดรเมดาไปสังเวยทางทะเล แต่อันเดรคู่รักของนางออกอุบาย ขอให้นายนาวาเอกเอดเวิดไลออนกัปตันเรืออังกฤษมาขู่ชาวเมืองให้ยกนางให้อันเดรนางจึงรอดชีวิต และได้แต่งงานกับอันเดรสมปรารถนา

นาง รจนา

จากเรื่อง สังฆทอง

นางในวรรณคดีไทย : รจนา จาก สังข์ทอง

พระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำกว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่งท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ นางรจนาที่เห็นรูปทองก็ได้เลือกเจ้าเงาะเป็นสวามี ด้านท้าวสามลที่โกรธจัด เนื่องจากนางรจนาเลือกเจ้าเงาะที่มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ดังนั้นจึงสั่งเนรเทศนางไปอยู่ที่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ

พระเพื่อน-พระแพง

จาก ลิลิตพระลอ

นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ

เจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือ พระลอ เป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อ นางลักษณวดี สำหรับ พระลอ นั้น เป็นหนุ่มรูปงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อน พระแพง เกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อน พระแพง ชื่อนางรื่น นางโรย จึงได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อน พระแพง ให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงใหลคิดเสด็จไปหานาง

นางละเวงวังฬา

จาก พระอภัยมณี

นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี

นางละเวงวัณฬา เป็นธิดาของของกษัตริย์เมืองลังกา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ 16 ปี นางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมืองผลึกเพื่อแย่งชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภัยมณี แม้จะเสียใจจนคิดที่จะฆ่าตัวตายตามพ่อและพี่ชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ที่จะแก้แค้นแทนบิดาและพี่ชายให้จงได้

นางศกุลตลา

จาก ศกุลตลา

นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา จาก บทละครรำ ศกุนตลา

นางศกุนตลา เป็นธิดาของ พระวิศวามิตรกับนางฟ้าเมนกา แต่นางได้ถูกทิ้งไว้ในป่าตามลำพัง ต่อมานางนกมาพบเข้าจึงนึกสงสารและและนำตัวนางกลับไปเลี้ยงดูเหมือนลูกแท้ ๆ ที่อาศรมของตน ต่อมานางศกุนตลาเติบโตเป็นสาวรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้ นางได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน จนทั้งคู่ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งต่อกัน แต่เมื่อท้าวทุษยันต์ต้องเดินทางกลับเมือง จึงทำการมอบแหวนวงหนึ่งไว้ให้แก่นาง จนกระทั่งเช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธสาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาเมื่อพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้ว เพราะรู้ว่านางไม่ได้ตั้งใจแสดงอาการไม่เคารพกับตนจึงให้พรกำกับว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้

จาก เงาะป่า

นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ จาก เงาะป่า

พระนิพนธ์เงาะป่าว่าตามเค้า
คนังเล่าแต่งต่อล้อมันเล่น
ใช้ภาษาเงาะป่าว่ายากเย็น
แต่พอเห็นเงื่อนเงาเข้าใจกัน
ทำแปดวันครั้นมาถึงวันศุกร์สิ้นสนุกไม่มีที่ข้อขัน
วันที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ศกร้อยยี่สิบสี่มั่นจบหมดเอย

ลำหับเป็นเงาะป่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ลำหับเป็นพี่สาวของไม้ไผ่ ลำหับต้องแต่งงานกับฮเนาทั้งๆๆที่ลำหับรักใคร่ชอบพอกับซมพลา ซึ่งไม้ไผ่ต้องการให้ลำหับแต่งงามกับซมพลามากกว่าฮเนา วันหนึ่งไม้ไผ่ชอนลำหับไปเก็บดอกไม้ ได้มีงูตัวหนึ่งมารัดแขน ลำหับตกใจจนสลบ เมื่อลำหับฟื้นพบว่าซมพลากอดนางอยู่และได้ไถ่ถามด้วยความห่วงใย และได้พูดออกมาว่า"หากเจ้าตายไป พี่นี้จักตายตาม" ลำหับได้ขอบคุณ

นางไอ่ดำ

จากเรื่อง ผาแดงนางไอ่ดำ

นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ จาก ผาแดง-นางไอ่

เรื่องท้าวผาแดงกับนางไอ่ เป็นตำนานที่ผูกพันกับ ทะเลสาบหนองหาร จ. สกลนคร ตามตำนานเล่าว่าเดิมบริเวณที่หนองหารนั้น เคยเป็นเมืองใหญ่ชื่อว่า เอกชะทีตา มีพระยาขอมองค์หนึ่งปกครองอยู่ พร้อมมเหสีนามว่านางจันทร์เทียม ซึ่งพระยาขอมมีธิดาซึ่งมีรูปโฉมงดงามชื่อ นางไอ่คำ หรือบางทีก็เรียกว่า นางไอ่

นางตะเภาทอง

จาก ไกรทอง

นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง

นางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง

นางกากี
จากเรื่องกากี


รื่นรื่นชื่นจิตพี่จำได้……….. เหมือนเมื่อไปร่วมภิรมย์ประสมศรี

ในสถานพิมานสิมพลี……… กลิ่นยังซาบทรวงพี่ทั้งวรกาย

นิจจาเอ๋ยจากเชยมาเจ็ดวัน……กลิ่นสุคันธรสรื่นก็เหือดหาย

ฤๅว่าใครแนบน้องประคองกาย ..กลิ่นสายสวาทซาบอุรามาฯ

กากี นับเป็นนางเอกที่อื้อฉาวที่สุดก็ว่าได้ นางกากีนี้นอกจากจะมีรูปกายงดงามราวกับเทพธิดาแล้ว ยังมีกลิ่นกายหอมเป็นเสน่ห์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ชายใดที่แตะต้องสัมผัสนางกลิ่นกายนางก็จะหอมติดชายคนนั้นไปถึงเจ็ดวันเลยที เดียว นางกากีเป็นพระมเหสีของท้าวบรมพรหมทัต ซึ่งโปรดการเล่นสกามาก

นางเงือก

จากพระอภัยมณี

นางเหงือก มีร่างครึ่งคนครึ่งปลา คือกายท่อนบนเป็นหญิงสาวสวย แต่ท่อนล่างตั้งแต่เอวลงไปเป็นมีหางเป็นปลา อาศัยอยู่ในทะเล นางเหงือกกับพ่อแม่ของนางได้ช่วยพา พระอภัยมณีกับ สินสมุทร หนี นางผีเสื้อสมุทร ไปที่เกาะแก้วพิสดาร แต่พ่อแม่ของนางหนีไม่ทันจึงถูกนางผีเสื้อสมุทรจับกิน แล้วนางเหงือกก็ตกเป็นภรรยาของพระอภัยมณี ต่อมาพระอภัยมณีกับสินสมุทรบวชเป็นโยคี และอาศัยเรือของท้าวสิลราชกลับไปบ้านเมือง ก่อนจากกันพระอภัยมณีไปร่ำลานางเหงือกและฝากแหวนกับปิ่นไว้ให้ลูกในท้องของ นางด้วย เวลาผ่านไปนางเหงือกคลอดลูกชาย รูปร่างหน้าตาเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ แล้วฝากให้ โยคี เลี้ยงดูให้ เพราะนางเลี้ยงลูกเองไม่สะดวก โยคีตั้งชื่อให้ว่า สุดสาคร

นางจินตหราวตี

จาก เรื่องอิเหนา


จิ นตะหราเป็นพระธิดาท้าวหมันหยากับนางจินดาส่าหรีประไหมสุหรี เกิดในปีเดียวกับอิเหนาแต่อ่อนเดือนกว่า จึงมีฐานะเป็นน้อง และด้วยความงามของนางที่ถูกบรรยายไว้ว่า

"งามงอนอ่อนระทวยนวยแน่ง ดำแดงนวลเนื้อสองสี

ผ่องพักตร์ผิวพรรณดังจันทรี นางในธานีไม่เทียมทัน"


หมายเลขบันทึก: 628179เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2017 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท