7 สุดยอดอาหารดีต่อใจ



7 สุดยอดอาหารดีต่อใจ

การทำงานของหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคญที่สุดในร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่สูบฉีดเลือด ออกซิเจนและแร่ธาตุต่างๆไปเลี้ยงร่างกายทั้งหมด ตัวอย่างเช่นสมองต้องการออกซิเจนและน้ำตาลกลูโคสไปหล่อเลี้ยง หากไม่เพียงพอจะทำให้สมองไม่ทำงาน เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อที่ต้องการออกซิเจน กลูโคส กรดอะมิโน และแร่ธาตุอื่นๆที่เหมาะสม หากหัวใจไม่ทำงาน ร่างกายจะอ่อนแอและเสียชีวิตลงในเวลาอันรวดเร็ว

หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และจะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกายโดยมีลิ้นปิดเปิดระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง ลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไหลไปในทิศทางเดียว

ประเภทของโรคหัวใจมีอะไรบ้าง

อัมพาตจากการขาดเลือด เป็นประเภทที่พบมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูง

หัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายเฉียบพลัน หมายถึงอาการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น หัวใจยังทำงานได้แต่ร่างกายต้องการเลือดและออกซิเจน

การเต้นของหัวใจผิดปกติ มีทั้งการเต้นช้า เต้นเร็ว และเต้นไม่สม่ำเสมอ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติคือช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที ถ้าเต้นเร็วกว่าปกติคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจคือไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ

ปัญหาลิ้นหัวใจ เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติทำให้เลือดไหลผ่านขึ้นลงไม่ได้ตามปกติ ลิ้นหัวใจเปิดไม่พอซึ่งภาวะที่เรียกว่าหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจไม่ปิดเรียกว่าหัวใจสำรอก และยังมีภาวะหัวใจย้อยอีกด้วยจากการที่ลิ้นหัวใจย้อยกลับขึ้นด้านบน ภาวะทั้งหมดเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของหัวใจของคนเรา

ปัจจัยความเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ

The Lancet วารสารด้านวิทยาศาสตร์เผยผลการศึกษาทางกายภาพของชนเผ่าชิมาเน(Tsimane)ที่อาศัยอยู่ในเขตป่าดิบชื้นของประเทศโบลิเวีย 85% มีอัตราเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดอุดตันและหัวใจวายเท่ากับ 0 % เมื่อเทียบกับชาวอเมริกัน

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเสี่ยงโรคหัวใจต่ำของชาวชิมาเนน่าจะมาจาก อาหารกินกันอยู่เป็นประจำ เช่นหมูป่า, ตัวคาปิบารา (สัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง) , ปลา ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่ไขมันน้อย และยังพบว่าชาวชิมาเนรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต 72 % / เทียบกับชาวอเมริกันบริโภค 52 % รับประทานอาหารประเภทไขมัน 14 % /เทียบกับชาวอเมริกัน 34 %

ชาวชิมาเนใช้ชีวิตด้วยการเดินเท้า 16,000 –17,000 ก้าว/วัน /เทียบกับชาวอเมริกันที่เดินเท้าเพียง 5,000 ก้าว/วัน

แสดงให้เห็นว่าอาหารและการออกกำลังกายสำคัญและมีส่วนสัมพันธ์กับการใช้ชีวิต ซึ้งมีผลเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ดังต่อไปนี้

อายุ อายุที่มากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงเนื่องจากเส้นเลือดแดงจะแคบและอ่อนแอลง ขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจจะหนามากขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดสู่หัวใจน้อยลง เป็นสาเหตุให้เกิดหัวใจวายจากการขาดออกซิเจนได้

เพศ ผู้ชายเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้หญิง ขณะเดียวกันผู้หญิงจะมีแนวโน้มเสี่ยงเพิ่มขึ้นในวัยหมดประจำเดือน

กรรมพันธุ์ ประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคหัวใจก็เสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจได้เช่นเดียวกัน

สูบบุหรี่ นิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซค์ ทำลายเยื่อบุภายในหลอดเลือด

อาหาร การรับประทานอาหารประเภทเกลือ ไขมัน น้ำตาล ในปริมาณมากเกินพอดี เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

โรคอ้วน ความดันสูง คอเลสเตอรอล เบาหวาน ความเครียด ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจได้มากขึ้น

สุขอนามัยที่ไม่ดีอื่นๆ

การสร้างสุขนิสัยเช่น การหมั่นล้างมือ การรักษาสุขภาพฟัน สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงการตืดเชื้อของหัวใจได้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีประวัติป่วยมาก่อน

…………………..

7 สุดยอดอาหารที่ดีต่อใจ

เมื่อทราบแล้วว่าหัวใจมีความสำคัญมากขนาดไหน ต้องการดูแลรักษาอย่างไร เรามาดูว่ามีอาหารอะไรบ้างที่มีประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมต่อหัวใจ

ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตมีโอเมก้า 3 กรดไขมัน โฟแลคและโพแทสเซียม อุดมไปด้วยเส้นใย สามารถลดระดับของ LDL (ไขมันที่ไม่ดี) และช่วยลดคอเลสเตอรอล

ปลาแซลมอน อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 กรดไขมัน ลดความดันโลหิตและทำให้เม็ดเลือดแข็งตัว เชื่อกันว่าหากรับประทานเป็นประจำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการหัวใจวายได้ถึงหนึ่งในสาม หากใครไม่ชอบปลาแซลมอนแล้ว ปลาอื่นๆเช่น ปลาทู ,ปลาทูน่า, ปลาซาร์ดีน ต่างก็มีประโยชน์ใกล้เคียงกับปลาแซลมอน

อะโวกาโด เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว อะโวคาโดสามารถช่วยลดระดับ LDL ในขณะที่เพิ่มปริมาณ HDLที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายของคุณ

น้ำมันมะกอก ผลจากการศึกษาของ Seven Countries ซึ่งศึกษาโรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าในขณะที่ผู้ชายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงมีเพียงไม่กี่คนที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจเพราะไขมันที่พบในน้ำมันมะกอก น้ำมันมะกอกเต็มไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันเชิงเดี่ยว ช่วยลดคอเลสเตอรอล LDL

ถั่ว ,ถั่วเหลือง เต็มไปด้วยโอเมก้า 3 กรดไขมัน ถั่วอัลมอนด์และแมคคาเดเมีย ประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว เพิ่มเส้นใยในอาหาร มีผลดีต่อสุขภาพ

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีบลูเบอร์รี่,ราสเบอร์รี่,สตรอเบอร์รี่, ประกอบไปด้วยสารอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

ผักโขม ผักโขมประกอบไปด้วยแร่ธาตุพวก ลูทีน,โฟเลต,โพแทสเซียมและเส้นใยอาหาร จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าผู้ที่รับประทานผักโขมเป็นประจำจะสามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจถึง 25 % ขณะที่คนไม่กินผักจะลดความเสี่ยงลงเพียง 17 %

นอกจาก 7 อาหารชั้นสุดยอดนี้แล้ว ยังมีอาหารอีกมากมายที่เหมาะสำหรับผู้ต้องการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ที่ต้องไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ที่สำคัญการออกกำลังกายเป็นประจำ การรักษาสุขอนามัยให้ดี ต่างก็เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจของคนเราได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

...........................

ที่มาของข้อมูล

1.http://www.heart.org/HEARTORG/Support/what-is-Cardiovascular-Disease_UCM_301852_Article.jsp#23.MNDPLtLyjs0&*

2. https://www.worldinvisible.com/apologet/humbody/heart.htm

3. http://www.health.com/health/gallery/0,,20307113,00.html

4. http://www.posttoday.com/world/news/486096

ขอบคุณภาพประกอบจาก dreamstime.com

หมายเลขบันทึก: 626689เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2017 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2017 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจและอ่านข้อมูลที่มีประโยชน์ครับ

-มีน้ำพริกพันปีมาฝากครับ

ว้าว น้ำพริกพันปี น่าทานมากครับ คลุกข้าวร้อนๆเนอะ

ขอบคุณครับคุณเพชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท