การเขียนแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา




การเขียนแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
ร. ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต 4

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา คือแผนที่กำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ และเป้าหมายด้านการใช้ ICT เพื่อการศึกษาไว้ เช่น

วิสัยทัศน์

ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทาง

การศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐานสากล

กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ (e- Learning)

เป้าประสงค์ : การเรียนรู้ทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย เรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT-based Learning)

ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

เป้าหมายรวม :

1. สถานศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับ จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน (ICT based

Learning) เป็นศูนย์การเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายภายในเครือข่ายภายนอกที่มีความเร็วสูง ใช้โทรทัศน์การศึกษาและสื่อ ICT อื่นๆ ตามมาตรฐานที่กำหนด

2. จัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีศูนย์บริการการเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่การศึกษา และทุกตำบล

กลยุทธ์ที่ 2 การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการ

(e-Management)

เป้าประสงค์ : การบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษา และ

สถานศึกษา บริหารจัดการโดยใช้ ICT เป็นฐาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เป้าหมายรวม :

1. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80 ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการและการให้บริการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

2. ประชาชนที่ด้อยโอกาสและอยู่ห่างไกล ร้อยละ 90 ได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากแหล่งความรู้ผ่านสื่อ ICT และร้อยละ 70 ของประชากรวัยแรงงานใช้สื่อ ICT เพื่อยกระดับการศึกษาของตนเอง

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e-Manpower)

เป้าประสงค์ : ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ที่มีคุณภาพเพียงพอ สอดคล้องกับการพัฒนา

ประเทศ และในทุกพื้นที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายรวม :

1. ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา อย่างน้อยร้อยละ 80 มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐานที่กำหนด

2. ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ อย่างน้อยร้อยละ 80 มีมาตรฐานสมรรถนะด้าน ICT ตามมาตรฐาน

หลักสูตรแต่ละระดับ และผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล

3. ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาเทคโนโลยี กับ ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่น คิดเป็น

สัดส่วน 50 : 50

ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน มีสาเหตุมาจากทัศนคติมากกว่าความสามารถด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะมีผู้ค้นพบว่า มนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองได้โดยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและมีความมั่นใจในสิ่งที่กระทำ ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องใช้ความสามารถและความพยายามในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และทัศนคติด้านเทคโนโลยีของตนเองและครูในโรงเรียน โดยดำเนินตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ความว่า


“อย่างไรก็ตามในกระบวนการพัฒนา ทรงทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยเข้า

พระทัยดีว่า การจะปรับสภาพแวดล้อม และปรับเปลี่ยนทัศนคติผู้เกี่ยวข้อง

เช่น ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ ให้ยอมรับ และหันมาใช้เทคโนโลยี มิใช่

ทำได้ง่ายนัก หลายโรงเรียนยังมีข้อจำกัดทางกายภาพอยู่มาก จึงมิได้มุ่ง

เน้นที่การลงทุนทางเทคโนโลยีว่าต้องใหม่ที่สุดในช่วงเวลานั้น .......”

อ้างจากหนังสือ “เจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ”

จัดทำโดย โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริ (2547:28)


แผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี

แผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วยแผนกลยุทธ์โดยรวม กับแผนงานเฉพาะด้าน แผนกลยุทธ์

โดยรวมมักกล่าวถึงกลยุทธ์ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการภายในโรงเรียน โครงสร้างพื้นฐาน การจัด

การเรียนการสอน และกระบวนการเรียนรู้ ส่วนแผนงานเฉพาะด้านจะเป็นแผนงาน/โครงการที่แตกออกมา

จากแผนกลยุทธ์โดยรวมเพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติ

คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้

1. เห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ดังนี้

1.1 กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย (ICT 2020) ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้จัดทำขึ้น โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสารของประเทศในระยะ 10 ปี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลกและเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นำกรอบนโยบายฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีเป้าหมายหลักคือ โครงสร้างพื้นฐาน ICT ความเร็วสูง (Broadband)

ที่กระจายอย่างทั่วถึง ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน เสมือนการเข้าถึงบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั่วไป เพิ่มบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรม ICT (โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับความพร้อมด้าน ICT โดยรวมของประเทศไทย ในการประเมินวัดระดับระหว่างประเทศ

1.2 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่ใน

การกำกับดูแลบริหารจัดการตามกรอบนโยบาย ICT ให้เป็นวาระแห่งชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ

1.3 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรับผิดชอบการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฯ จำนวน 2 ฉบับ แต่ละฉบับครอบคลุมระยะเวลา 5 ปี ในช่วงระยะเวลาของกรอบนโยบาย ICT 2020 พ.ศ. 2554-2563 และประเมินผลเพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานเมื่อครบกำหนดครึ่งระยะเวลาของกรอบนโยบายฯ (ปี พ.ศ.2558)

1.4 ให้กระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงานดำเนินการตามบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของหน่วยงานตามที่ระบุไว้ในกรอบนโยบาย ICT 2020 เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน

1.5 ให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. นำกรอบนโยบาย ICT 2020 มาใช้เป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ตลอดช่วงระยะเวลาของกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554 - 2563 ของประเทศไทย (ICT 2020)

2. ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงนโยบาย ICT 2020 กับข้อตกลงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในระดับภูมิภาค รวมทั้งประเด็นด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ความมั่นคงและปลอดภัยของระบบเครือข่ายสื่อสาร (Security) และการป้องกันและละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและความถูกต้องของข้อมูล (Privacy & Accuracy) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

หมายเหตุ

ปัจจุบัน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งอยู่ที่

120 หมู่ 3 ชั้น 6-9 อาคารรัฐประศาสนภักดี

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

แหล่งข้อมูล

http://www.thailibrary.in.th/2014/02/22/ict-2020/

http://nksawan.old.nso.go.th/nksawan/11_GovInfo/im...


หมายเลขบันทึก: 626427เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2017 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2017 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท