มาตรา 44 : คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๖๐ เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ที่ ๑๖/๒๕๖๐

เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

โดยที่ในการจัดระบบการศึกษาของชาติให้มีมาตรฐานทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและ

ในด้านบุคลากรให้เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น จำเป็นต้องมีองค์กรกลางในการบริหารงานบุคคล

ที่มีคุณภาพซึ่งสามารถผลักดันและพัฒนาระบบการศึกษาของชาติไปสู่การปฏิรูประบบการศึกษา

ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ผ่านประชามติ ได้กำหนดเป้าหมายและแนวทางไว้

จึงจำเป็นต้องปรับปรุงองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นที่จะสนับสนุนการบริหารงานด้านบุคคลให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการเตรียมการและรองรับการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง

ในการปฏิรูปประเทศที่จะมีการดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบในระยะเวลาอันใกล้นี้

อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)

พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้บุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ. ตาม มาตรา ๗ (๔) หมายถึงกรรมการ

ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๙ คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและ

ประสบการณ์สูงด้าน

  • การศึกษา
  • การบริหารงานบุคคล
  • กฎหมาย
  • การบริหารจัดการภาครัฐ
  • การบริหารองค์กร
  • การศึกษาพิเศษ
  • การบริหารธุรกิจหรือด้านเศรษฐศาสตร์
  • การผลิตและการพัฒนาครูและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หรือด้านการบริหารจัดการความรู้ หรือด้านวิจัยและประเมินผล ด้านละ ๑ คน

และ (๕) หมายถึงกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน

๑๒ คน ได้แก่

  • ผู้แทน ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ๑ คน
  • ผู้แทน ผอ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ๑ คน
  • ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่ประถมฯ ๑ คน
  • ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่มัธยมศึกษา ๑ คน
  • ผู้แทนข้าราชการครู สังกัด สพฐ. เขตพื้นที่ประถมฯ ๓ คน
  • ผู้แทนข้าราชการครู สังกัด สพฐ. เขตพื้นที่มัธยม ๑ คน
  • ข้าราชการครู สังกัดอาชีวะ ๑ คน
  • ผู้แทนข้าราชการครู สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสำนักงานคณะ
  • ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น เขตพื้นที่ประถมศึกษา ๑ คน
  • ๙. ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น เขตพื้นที่มัธยมศึกษษา ๑ คน

กรรมการการอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือสังกัด

กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน ๑ คน

แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ (และแก้ไขเพิ่มเติม)

ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่งกรรมการใน ก.ค.ศ.

ข้อ ๒ ให้ ก.ค.ศ. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ประกอบด้วย

(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ

(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ (ไม่กำหนดรองประธานไว้)

๑. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

๒. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

๓. เลขาธิการ ก.พ.

๔. เลขาธิการสภาการศึกษา

๕. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๖. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

๗. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ

๘. เลขาธิการคุรุสภา

(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมี

ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้าน

  • การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ด้านการศึกษา และ

๓. ด้านกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน

ให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้ง

ข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ (ไม่ได้เป็นกรรมการ)

กรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้เป็นกรรมการตาม (๓) ผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

(เชี่ยวชาญพิเศษ ครูเรามีน้อยมาก)

ข้อ ๓ ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติอาจมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลง

องค์ประกอบของคณะกรรมการตามข้อ ๒ ได้ตามความเหมาะสม

ข้อ ๔ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ซึ่ง ก.ค.ศ. แต่งตั้งตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติ

ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้

ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง

ข้อ ๕ ให้ ก.ค.ศ. มีอำนาจแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.ค.ศ.

ดังต่อไปนี้

(๑) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และการร้องทุกข์

(๒) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ

(๓) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

นอกจาก อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามวรรคหนึ่ง ก.ค.ศ. อาจแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญอื่น

เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.ค.ศ. หรือทำหน้าที่เช่นเดียวกับคณะอนุกรรมการอื่นที่กำหนดตามกฎหมาย

ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ได้

ข้อ ๖ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ แต่ละคณะ มีจำนวนไม่เกินสิบห้าคน ประกอบด้วย

(๑) ประธานอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ. เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็น

อาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่เป็นกรรมการใน ก.ค.ศ. เป็นประธานอนุกรรมการก็ได้

(๒) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสิบเอ็ดคน ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และ

ประสบการณ์สูงในด้าน

  • การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ด้านการศึกษา
  • ด้านกฎหมาย และ
  • ด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญคณะนั้น

(๓) อนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

จำนวนสองคน

ให้เลขาธิการ ก.ค.ศ. แต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

และอาจแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงาน ก.ค.ศ. จำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

กรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใด

ให้เป็นอนุกรรมการตาม (๒) ผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือประเภทบริหาร

ระดับต้น ประเภทอำนวยการระดับสูง ประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิหรือระดับเชี่ยวชาญ หรือมี

วิทยฐานะไม่ต่ำกว่าเชี่ยวชาญ หรืออาจแต่งตั้งจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. หรือผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตาม

มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ได้

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา และการพ้นจากตำแหน่งของ

ประธานอนุกรรมการกรณีที่มิได้แต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ. และของอนุกรรมการตาม (๒) และ (๓)

ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับกับ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ โดยอนุโลม

การแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามข้อ ๕ (๑) และ (๒) ให้แต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ.

อย่างน้อยสองคน

ข้อ ๗ ให้แก้ไขคำว่า “ขั้นเงินเดือน” ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษา เป็นคำว่า “เงินเดือน” ทุกแห่ง (ไม่มีขั้น เป็นเปอร์เซ็นต์เหมือนกับ

ข้าราชการพลเรือนหรือเปล่า)

ข้อ ๘ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับ (อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ดำเนินการสอบแข่งขัน)

ให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา

ในกรณีที่ ก.ค.ศ. เห็นสมควร จะมอบหมายให้ กศจ. อ.ก.ค.ศ. ซึ่ง ก.ค.ศ. ตั้งตามมาตรา ๒๕

แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ส่วนราชการ

หรือหน่วยงานการศึกษา เป็นผู้ดำเนินการตามวรรคสองก็ได้

หลักสูตร วิธีการสอบแข่งขัน วิธีดำเนินการที่เกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เกณฑ์การตัดสิน

การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขัน

ได้ในบัญชีอื่น การยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตาม

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ข้อ ๙ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ

กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้บังคับกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา (กรณีโรงเรียนไม่มี ผอ.โรงเรียนหรือ รอง ผอ.โรงเรียน)

และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาใช้บังคับกับกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือมีแต่

ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ (ผอ. หรือ รอง ผอ.โรงเรียนว่าง ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ คือผู้มีอำนาจใน

การออกคำสั่งแต่งตั้ง สามารถแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปรักษาการในตำแหน่ง

นั้นได้)

ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

นอกจากการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย

ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว .ค.ศ. อาจกำหนดตำแหน่งหรือเปลี่ยนตำแหน่ง

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภทตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา บางตำแหน่ง เป็นประเภท

ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) หมายถึงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่
ก.ค.ศ.กำหนด หรือตำแหน่งข้าราชการที่ ก.ค.ศ.นำมาใช้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๔๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็ได้ ส่วน (๑) คือศึกษานิเทศก์

หมายถึงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด หรือตำแหน่งข้าราชการที่ ก.ค.ศ.

นำมาใช้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบ

ข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๔๗

ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น

ตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) มีสามประเภท ดังต่อไปนี้

(๑) ประเภทอำนวยการ

(๒) ประเภทวิชาการ

(๓) ประเภททั่วไป”

ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีสองระดับ ดังต่อไปนี้

(๑) ระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก

(๒) ระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งที่มีลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูงมาก เป็นพิเศษ

มีความเป็นไปได้สูงมากที่ ผอ.เขตฯ จะเปลี่ยนเป็นอำนวยการระดับสูง
(ไม่ต้องทำวิทยฐานะ)
รอง ผอ.เขตฯ เป็นอำนวยการระดับต้น (รองเชี่ยวชาญ เป็นอำนวยการระดับสูง)
เพราะนโยบาย รมว.ศธ นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ไม่ให้ผู้บริหาร
ตำแหน่ง ผอ.เขต ต้องทำวิทยฐานะ เพราะเป็นสายบริหาร ต้องเป็นอำนวยการสูง

มีเงินประจำตำแหน่ง 10,000x2

ข้อ ๑๑ ในวาระเริ่มแรกให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ตามข้อ ๕ ประกอบด้วยอนุกรรมการ

ตามข้อ ๖ (๑) และ (๒) จนกว่าจะได้แต่งตั้งอนุกรรมการตามข้อ ๖ (๓) ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ

ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ

อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ ระยะแรก คือ

(๑) ประธานอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งจากกรรมการใน ก.ค.ศ. เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็น

อาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่เป็นกรรมการใน ก.ค.ศ. เป็นประธานอนุกรรมการก็ได้

(๒) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินสิบเอ็ดคน ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และ

ประสบการณ์สูงในด้าน

๑. การบริหารทรัพยากรบุคคล

๒. ด้านการศึกษา

๓. ด้านกฎหมาย และ

๔. ด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญคณะนั้น

(อนุกรรมการซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

จำนวนสองคน ยังไม่ต้อง) แต่ต้องไม่เกิน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐

ข้อ ๑๒ ให้ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจซึ่ง ก.ค.ศ. แต่งตั้งตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติ

ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ อยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับ

ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญอื่นตามคำสั่งนี้เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทน

แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ (นับแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐)

หมายถึง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจ ซึ่ง ก.ค.ศ.ได้แต่งตั้งไว้แล้ว สามารถปฏิบัติหน้าที่ไปได้อีก

ไม่เกิน ๙๐ วัน

ข้อ ๑๓ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของ ก.ค.ศ.

ข้อ ๑๔ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบ

แห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้

ข้อ ๑๕ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ





หมายเลขบันทึก: 626253เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2017 02:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2017 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท