ความหมายและประเภทของ E-Commerce


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce

<p “=””>
</p>

ประวัติความเป็นมาของ E-Commerce

<p "=""> E-Commerce เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน และในช่วงแรกๆส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น ส่วนบริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่างๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันมีธุรกิจหลายประเภทที่ต้องพึ่งพาเป็นอย่างยิ่งE-Commerce เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อขายหุ้น การทำงาน การประมูล การให้บริการลูกค้า ฯลฯ </p>

ประวัติความเป็นมาของ E-Commerce ในประเทศไทย

1. ช่วงเริ่มแรก เป็นช่วงของกลุ่มนักพัฒนา คือช่วงที่เริ่มมีการใช้อินเทอร์เน็ตกันใหม่ๆ ในช่วงแรกนั้นประเทศไทยก็เหมือนเมืองนอก คือ เริ่มให้หน่วยราชการใช้ก่อน และตามมาด้วยหน่วยการศึกษาต่าง ๆ และที่เห็นได้ชัดสำหรับในช่วงแรกก็คือช่วยในเรื่องของการใช้อีเมล์ text คือ ใช้ผ่านหน้าจอเทอร์มินอล และที่เห็นเริ่มเด่นชัดขึ้นมาในขณะนั้นก็คือเว็บ www. nectec.or.th ซึ่งเป็นเว็บที่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

2. ช่วงที่สอง เป็นช่วงที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเป็นที่นิยม คือเป็นช่วงที่เริ่มมีคนสนใจอินเทอร์เน็ตอย่างมาก เพราะเป็นช่วงที่โรงเรียนต่าง ๆ เริ่มเอาอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นการเรียนการสอน เช่น ให้นักเรียนส่งการบ้านผ่านทางอีเมล์ และนักเรียนปริญญาโทก็ให้ทำโฮมเพจส่งงาน ประกอบกับนักเรียนนอกที่ไปเรียนต่างประเทศกลับมาพร้อมกับนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้กับงานที่ทำ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หรือช่วยงานในด้านของการตลาดแผนใหม่ และที่สำคัญและเห็นได้ชัดมีการโฆษณาผ่านสื่อทางวิทยุ หนังสือต่างๆ

3. ช่วงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือช่วงที่แข่งขันสมบูรณ์ เริ่มแข่งขันกันดุเดือด และเป็นยุคที่รัฐบาลได้เข้ามาเกี่ยวข้อง สังเกตได้จากที่กระทรวงพาณิชย์ผลักดันให้ธุรกิจที่ต้องการให้เกิดบนอินเทอร์เน็ตนั้นเด่นขึ้น E-Commerceมีส่วนสนับสนุนให้ยุคนี้เกิดขึ้นเร็ว เพราะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล นอกจากนั้นแล้วยังมีการหลอกลวงต้มตุ๋นหลากหลายรูปแบบมากตามไปด้วย การทำธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ตควรศึกษาหาความรู้ให้ดี เพราะอินเทอร์เน็ตถือเป็นดาบสองคมเสมอ


ประเภทของ E-Commerce


ประเภท E-Commerce ยังเป็นได้เป็นหลายกลุ่ม หลายประเภท ตามประเภทการใช้งานหรือสินค้าและบริการ ดังต่อไปนี้

<p “=””>แบบที่ 1 E-Commerce 5 ประเภท ต่อไปนี้ </p>

  • ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต
  • ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภท ที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เน็ต
  • ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
  • รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
  • ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่น Ebay.com เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้

แบบที่ 2 E-Commerce 3 ประเภท ต่อไปนี้

  • อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
    - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ กลุ่มสนทนา กระดานข่าว เป็นต้น
    - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น เช่น อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
    - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก
  • อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
    - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
    - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
  • อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce) ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่า B-to-B (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
    - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
    - การจัดการสินค้าคงคลัง
    - การจัดส่งสินค้า
    - การจัดการช่องทางขายสินค้า
    - การจัดการด้านการเงิน

แบบที่ 3 E-Commerce 6 ส่วนแบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
  • การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เน็ตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เน็ตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เน็ตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้ เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
  • อินเตอร์เน็ตอีดีไอ หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
  • โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
  • การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
  • ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น SSL (Secure Socket Layer) ,SET (Secure Electronic Transaction), RSA (Rivets, Shamir and Adelman), DES (Data Encryption Standard) และ Triple DES เป็นต้น

แบบที่ 4 E-Commerce ตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ต่อไปนี้

  • สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
  • สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปะชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังเครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์

จะเห็นว่า E-Commerce ไม่ใช่แค่ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ แต่ยังรวมไปถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดต้นทุน ลดการเสียเวลา เพื่อประสิทธิภาพและประโยชน์สูงในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการ ผู้ค้าส่งและผู้บริโภค โดยหลักแล้ว E-Commerce เปรียบเสมือนดาบสองคมเช่นกัน เมื่อมีประโยชน์ก็ย่อมมีโทษตามมาด้วย ดังนั้น ควรมีความรู้ในการใช้งาน การควบคุมหรือตระหนักอยู่เสมอ เพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่พอประมาณเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบด้านลบในภายหลัง


<p “=””>**หากผิดพลาดหรือผิดใจประการใดขออภัยนะครับ
</p>

บรรณานุกรม

<p “=”“>Googlr sites. ประวัติความเป็นมาของ E-Commerce [ออนไลน์] แหล่งที่มา :
</p>

https://sites.google.com/site/ecommercepa02/home/prawati-khwam-pen-ma-khxng-e-commerce

<p “=”“>Baanjomyut. Electronic commerce หรือ E-Commerce [ออนไลน์] แหล่งที่มา :
</p>

http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/e_commerce/03.html

บรรณานุกรมรูปภาพ

<p “=””>https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%…
</p> <p “=””>https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%… </p> <p “=””>https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%… </p> <p “=””>

</p> <p “=””>
</p>

หมายเลขบันทึก: 626250เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2017 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2017 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท