ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย ( ครั้งที่ 4 )


วันนี้พวกเราได้มีส่วนร่วมในการเข้าอบรมกับศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนปลักไม้ลาย ซึ่งกิจกรรมมีกำหนดตั้งแต่วันที่ 16-19 มีนาคม พ.ศ. 2560 ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านปลักไม้ลาย ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มีการจัดกิจกรรมอบรม “ หลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ” โดยแต่ละวันมีกิจกรรม ดังต่อไปนี้

สมาชิกในกลุ่มนั่งรับฟังการอบรมของศูนย์การเรียนรู้ฯ

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ


วัน/เดือน/ปี เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

16 มีนาคม 60

08.40 – 09.00 น.

- ลงทะเบียน

09.00 – 09.30 น.

- เปิดการฝึกอบรม

เกษตรกร

09.30 – 10.30 น.

- แนะนำศูนย์การเรียนรู้ฯและชี้แจงหลักสูตรบรม

ผอ.ศูนย์การเรียนรู้ฯ

10.30 – 11.00 น.

- พักรับประทานอาหารว่าง

11.00 – 12.00 น.

- แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ลุงสุธรรม

12.00 – 13.00 น.

- รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 น.

- แนวคิดประสบการณ์ชีวิต

เบญจา

15.00 – 15.30 น.

- พักรับประทานอาหารว่าง

15.30 – 17.00 น.

- บัญชีกับการดำรงชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ลุงสุธรรม

17.00 – …… น.

- รับประทานอาหารเย็น


17 มีนาคม 60

09.00 -12.00 น.

- การทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมักโบกาฉิ

ณรงค์

- การทำน้ำหมักชีวภาพ

เบญจา

- การตอนไผ่

ลุงสุธรรม

- การทำก้อน EM มอลล์

ประยูร

- การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย

หนึ่ง

12.00 – 13.00 น.

- รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.00 น.

- ศึกษาแปลง “สวนเบญจา”

เบญจา

16.00 – 17.00 น.

- สรุปบทเรียน

ลุงสุธรรม

18 มีนาคม 60

09.00 – 12.00 น.

- ศึกษาการปลูกเพาะเลี้ยงเห็ด

พรชัย

12.00 – 13.00 น.

- รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 17.00 น.

- ทำน้ำยาอเนกประสงค์

ประยูร

- ทำอาหารไก่เลี้ยงไก่ไข่

หนึ่ง

- ทำสบู่

เบญจา

- ทำสลัดโรลและเพาะปลูกผักสลัด

ปุ๋ย

17.00 - ………น.

- รับประทานอาหารเย็น


19 มีนาคม 60

09.00 – 12.00 น.

- ศึกษาป่าสมุนไพร

ลุงสุธรรม

12.00 – 13.00 น.

- รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00 น.

- สรุปบทเรียน


14.00 – 15.00 น.

- พิธีมอบวุฒิบัตรและปิดพิธี



วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2560 ได้มีกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านปลักไม้ลาย ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

แต่ละช่วงดังต่อไปนี้

เวลา 09.00 – 12.00 น. ศึกษาการปลูกเพาะเลี้ยงเห็ด

คุณลุงสุธรรมได้นำผู้เข้าอบรมเดินชมโรงเพาะเห็ด

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

เมื่อถึงเวลาคุณลุงสุธรรมก็นำผู้เข้าอบรมไปเดินชมโรงเพาะเห็ดและได้อธิบายถึงกระบวนการของเห็ดว่าเป็นเช่นไร ลุงสุธรรมได้กล่าวว่า " วัสถุดิบที่เอามาทำเพาะเห็ดก็จะต้องมีขี้เลื่อยเป็นตัวหลัก ซึ่งต้องเป็นขี้เลื่อยยางพาราเท่านั้น เพราะขี้เลื่อยไม้อื่นใช้ไม่ได้ผล " เมื่อได้ขี้เลื่อยมาเราก็จะนำขี้เลื่อยมาผสม โดยแบ่งเป็นขี้เลื่อย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คือขี้ลื่อยที่เป็นของเก่าและส่วนที่ 2 ขี้เลื่อยที่เป็นของใหม่นำมาผสมกัน แล้วนำมาผสมต่อกับลำ ภูไมท์และน้ำในสัดส่วนที่เท่ากันแล้วคลุกเค้าให้เข้ากัน การทำเช่นนี้จะทำให้เห็ดมีดอกใหญ่เนื่องจากมีเชื้อเดิมของเห็ด

ขี้เลื่อยยางพารา

ภาพถ่ายโดย : ณัฐภัทร พระสว่าง


เมื่อคุณลุงสุธรรมอธิบายรายละเอียดบางส่วนแล้ว ก็ได้นำเข้าไปชมโรงเพาะเห็ด โดยโรงเพาะเห็ดแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ใช้ความเย็นกับส่วนที่เป็นธรรมชาติ ( ความร้อนจากแสงแดด ) โดยส่วนที่ใช้ความเย็นมีรายละเอียด ดังนี้

โรงเห็ดนางฟ้้าส่วนที่ใช้ความเย็น

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่ชอบความเย็นไม่ได้ความร้อน เพราะเป็นเห็ดเมืองหนาวหรือเห็ดภูฐาน โดยความเย็นนี้เป็นความเย็นระบบคูลลิ่ง เป็นการปล่อยน้ำตามสายตามท่อให้หยดแล้วใช้เครื่องดูดอากาศในการดูดอากาศให้ละอองน้ำกระจายลักษณะคล้ายกับการพัดหรือการทำระบบเดียวกับพัดลมไอน้ำ ซึ่งความเย็นนี้จะเป็นความเย็นที่คงที่ความสมดุลและระบบน้ำเป็นระบบหมุนเวียน

ด้านซ้ายคือ " คูลลิ่งแพต " และด้านบนคือ ตัวทำความเย็นระบบคูลลิ่ง

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

การวางและการปลูกเห็ดในโรงความเย็น

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

สำหรับเห็ดที่ปลูกในความเย็นเช่นนี้ การรดน้ำเห็ดจะรดน้ำแค่วันละครั้งแตกต่างจากเห็ดที่ปลูกด้วยความร้อนที่รดน้ำวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน

เห็ดชนิดนี้ชื่อเดิมชื่อเห็ดฮังการี แต่ตามท้องตลาดเรียกว่า " เห็ดนางฟ้า " เห็ดชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้วจะออกทั้งปี


ต่อไปเป็นส่วนที่ 2 คือ ส่วนที่เป็นการปลูกโดยใช้ความร้อน ( ธรรมชาติ ) การปลูกลักษณะนี้จะได้น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1.30-2 ขีด การปลูกในลักษณะนี้ 10 วันจะออกดอกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นโรงความเย็น 1 เดือนจะออกครั้งหนึ่ง สาเหตุที่ต้องทำทั้ง 2 รูปแบบนี้เพราะการนำส่งขายส่งออกไม่ทันเลยต้องมีการทำแบบหมุนเวียนกัน

โรงเห็ดด้านนอก โรงแบบความร้อน

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

คุณลุงพรชัย เจ้าของฟาร์มเพาะเห็ด

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ


เวลา 13.00 – 17.00 น. เข้าฐานการเรียนรู้ 4 ฐานการเรียนรู้

ฐานที่ 1 ทำน้ำยาอเนกประสงค์

ส่วนผสม

  • N 70 1 กิโลกรัม
  • น้ำหมักมะกรูด 5 ลิตร
  • น้ำด่างขี้เถ่า 5 ลิตร
  • เกลือป่น 1 กิโกกรัม

วิธีทำ

นำ N 70 เทใส่ถัง เติมเกลือแล้วเติมน้ำหมักมะกรูดและน้ำด่างขี้เถ้าทีละน้อยค่อยๆคนให้เข้ากัน โดยคนไปทางเดียวไม่ควรคนย้อน (จะทำให้เกิดฟอง ) การเติมเกลือทีละน้อยจะทำให้น้ำยาไม่จับตัวเป็นก้อนและคนให้เข้ากันได้ง่ายขึ้น

ปล.การเตรียมน้ำด่างขี้เถ้าใช้ขี้เถ้าเตาฟืนหรือเตาถ่าน 3 กิโลกรัม ผสมน้ำ 10-20 ลิตร ตั้งทิ้งไว้จนกว่าน้ำจะใส จึงตักมาใช้ได้

ประโยชน์

ใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้และภาชนะต่างๆ เช่น ล้างจาน ซักผ้า ล้างรถ ล้างห้องน้ำ ถูบ้าน เป็นต้น ทางด้านการเกษตร ใช้ฉีดพ่นกำจัดเพลี้ยชนิดต่างๆและฉีดไล่แมลง


นำ N 70 เทใส่ถัง

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี

เติมเกลือแล้วเติมน้ำหมักมะกรูดและน้ำด่างขี้เถ้าทีละน้อย

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ สายแจ้ง

คนให้เข้ากัน โดยคนไปทางเดียวไม่ควรคนย้อน (จะทำให้เกิดฟอง )

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


ขั้นตอนการทำน้ำยาอเนกประสงค์

วีดีโอโดย : ชริญา แก้วบัวดี

ฐานที่ 2 ทำอาหารไก่เลี้ยงไก่ไข่

ส่วนผสม

  • หยวกกล้วยหมัก 5 ส่วน
  • ลำ 1 ส่วน
  • ปลายข้าวหรือข้าวเปลือก 1 ส่วน

ปล.การหมักหยวกกล้วย

  • ใช้หยวกกล้วยหรือต้นกล้วย 100 กิโลกรัม
  • กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม
  • เกลือ 1 กิโกรัม

วิธีทำ คือ นำหยวกกล้วยหรือต้นกล้วยมาหันและสับให้ละเอียด แล้วนำไปใส่ในโอ่งให้แน่นและเต็ม ( ภาชนะต้องเป็นโอ่งเท่านั้น เพราะโอ่งให้ความเย็น ถ้าเป็นภาชนะอื่นๆจะทำให้ร้อนและเสียหายไว ) หมักทิ้งไว้ 5 วัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้ การหมักแต่ละครั้งสามารถนำมาใช้ได้ 1 เดิม

วิธีทำ

นำหยวกกล้วยหมักมาผสมกับลำและปลายข้าว คลุกให้เข้ากันก็สามารถนำไปให้ไก่ไข่ได้เลย


นำหยวกกล้วยหมักมาผสมกับลำและปลายข้าว คลุกให้เข้ากัน

ภาพถ่ายโดย : ณัฐภัทร พระสว่าง

นำอาหารที่ทำเสร็จไปให้ไก่ไข่ได้เลย

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

การให้อาหารไก่ไข่อินทรีย์

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ


ขั้นตอนการทำอาหารไก่เลี้ยงไก่ไข่

วีดีโอโดย : กิตติพงษ์ โทนผลิน


ฐานที่ 3 ทำสบู่จากนมแพะ

ส่วนผสม

  • กิสลีน 1 กิโลกรัม
  • นมแพะ 10 ขีด
  • สมุนไพรตามต้องการ
  • แม่พิมพ์

วิธีทำ

  • หันกิสลีน (ทำจากไขมันปาล์ม)เป็นชิ้นๆ
  • นำมาใส่หม้อแล้วคนให้ละลาย อย่ากวนบ่อยจะทำให้เกิดฟอง
  • เมื่อกิสลีนละลายให้นำนมแพะใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน
  • ยกขึ้นมาให้เย็นแล้วเทใส่แม่พิมพ์
  • รอ 10-15 วัน จึงสามารถนำมาใช้ได้

หันกิสลีน (ทำจากไขมันปาล์ม)เป็นชิ้นๆ

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี

นำมาใส่หม้อแล้วคนให้ละลาย อย่ากวนบ่อยจะทำให้เกิดฟอง

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

เมื่อกิสลีนละลายให้นำนมแพะใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ สายแจ้ง

ยกขึ้นมาให้เย็นแล้วเทใส่แม่พิมพ์

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี

รอ 10-15 วัน จึงสามารถนำมาใช้ได้

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


วีดีโอแสดงการทำสบู่นมแพะ

วีดีโอโดย : ชริญา แก้วบัวดี


ฐานที่ 4 ทำสลัดโรล

ส่วนผสม

  • ใบเมี่ยง
  • ผักสลัด
  • ปูอัดหรือใส่ตามต้องการ

วิธีทำ

  • นำใบเมี่ยงมาจุ่มน้ำ แล้วนำผักสลัดมาจัดวางให้เต็มตามด้วยปูอัด แล้วม้วนให้แน่นแล้วนำมาหั่นให้พอดีคำ

นำใบเมี่ยงมาจุ่มน้ำ

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี

นำผักสลัดมาจัดวางให้เต็มตามด้วยปูอัด

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

แล้วม้วนให้แน่นแล้วนำมาหั่นให้พอดีคำ

ภาพถ่ายโดย : ณัฐภัทร พระสว่าง


รับประทานได้ตามสบาย

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


วีดีโอแสดงการทำสลัด

วีดีโอโดย : ชริญา แก้วบัวดี


การเข้าอบรมของศูนย์การเรียนรู้ของวันนี้ก็จบลงไปด้วยดี ได้รับทั้งสาระความรู้ ความสามัคคี ความเหนื่อยและความสุนกสนาน เจอกันอบรมวันพรุ่งนี้ค่ะ

ความสนุกและความสุขของสมาชิกกลุ่มในการเข้าอบรม

ภาพถ่ายโดย : กิตติพงศ์ โทนผลิน

หมายเลขบันทึก: 626103เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2017 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2017 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท