บทบาทของกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง


บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

มะเร็ง คือเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ที่แข็งแรง เจริญเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ที่ผิดปกติอย่างรุนแรง เนื่องจากความผิดปกติของยีน จากการสัมผัสกับรังสี สารพิษต่างๆจากสิ่งแวดล้อม หรือสารก่อมะเร็งต่างๆ ถึงแม้ว่าการพิสูจน์ต่างๆที่ผ่านมานั้นไม่ได้พบว่าสภาพจิตใจนั้นส่งผลให้เกิดการเป็นมะเร็ง แต่ผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากมักมีภาวะความเครียดที่รุนแรงเกิดขึ้นก่อนจะตรวจพบโรคมะเร็ง เหมือนดังที่ดร.วอลเตอร์ ไฮอ์ วอลช์ ศัลยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งกล่าวไว้ว่า

“ความทุกข์ทางจิต การสูญเสียทรัพย์สินและการงานอย่างกะทันหันและนิสัยที่โศกเศร้าเป็นประจำ.. เป็นปัจจัยที่ทรงพลังมากสุดที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ”

เมื่อผู้ป่วยส่วนมากรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็ง ก็มักจะเครียด วิตกกังวล เกิดความกลัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้โรคมะเร็งนั้นหายไป แถมยังปิดกั้นพลังชีวิตที่ยังเหลืออยู่อีกด้วย อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งนั้นยิ่งทรุดหนักลงไป นักกิจกรรมบำบัดก็จะสามารถเข้ามาช่วยเรื่องนี้ได้

นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทอย่างไรกับการบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง

แม้ว่าอัตราการเสียชีวิตของโรคมะเร็งนั้นมีอยู่สูงมาก แต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงเท่าการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่โดยไร้เป้าหมาย แม้จะมีโรคร้ายติดตามตัว แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งนั้นไร้คุณค่า นักกิจกรรมบำบัดนั้นมีบทบาทในการช่วยผู้ป่วยมะเร็งแนะนำแนวทางป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดหนัก การช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และอยากจะใช้ความสามารถและใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่า มีความสุข ทำประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

จากที่กล่าวมาข้างต้น สภาวะจิตใจของผู้ป่วยนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่สามารถส่งผลต่ออาการของผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังนั้น นักกิจกรรมบำบัดควรจะดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งเป็นพิเศษ ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์แก่ญาติของผู้ป่วยเพื่อช่วยให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ซึ่งการที่จะทำให้การดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขนั้นเรานักกิจกรรมบำบัดต้องทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะมีการดำเนินชีวิตและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีความต้องการและปัญหาที่แตกต่างกันจากนั้นจึงจะสามารถแนะนำ ผู้ป่วยให้ทราบถึงวิธีผ่อนคลายอารมณ์ที่มีประสิทธิผลต่อตนเองเมื่อเกิดอาการวิตกกังวล ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดหรือวิตกกังวล และเตรียมพร้อมรับมือกับความวิตกกังวลที่อาจจะเกิดขึ้นอีก เมื่อสภาวะจิตใจของผู้ป่วยดี ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่า มีความหมาย เพราะเมื่อสุขภาพจิตดี สุขภาพร่างกายก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

แหล่งอ้างอิง

1.) ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง. กิจกรรมบำบัดพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: แสงดาว,2551

2.) รศ.เบญจวรรณ อิทธิจารุกุล. มะเร็ง : ต้องสู้. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี, 2546

3.) ดร.นพ.เดวิด เซอร์แวน-ชไรเบอร์. ผู้แปล นพ.ประพจน์ เภตรากาศ, ภกญ.ผกากรอง ขวัญข้าว, พินทุสร เหมพิสุทธิ์ ,และบุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ. ทางเลือกใหม่ในการเยียวยามะเร็ง = Anti Cancer a new way of life). กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2558

หมายเลขบันทึก: 625962เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2017 06:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2017 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท