กิจกรรมบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง


โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการเสียชีวิตทั้งในคนไทยและคนทั่วโลก นอกจากนี้มะเร็งยังเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ง่าย จากหลายปัจจัยทั้งพฤติกรรม การทานอาหาร ความเครียด สารเคมี เป็นต้น

จากการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาโรคมะเร็งทำให้นักศึกษาคิดว่าโรคมะเร็งกับจิตใจมีส่วนเกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างมาก นายแพทย์เบอร์นี เอส.ซีเกล กล่าวว่า “ สภาพจิตใจสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย ผ่านระบบประสาทส่วนกลาง ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบภูมิคุ้มกัน จิตที่สงบจะส่งสัญญาณแห่ง ชีวิต ไปทั่วร่างกาย ขณะที่ความหดหู่ ความกลัว และความขัดแย้งในใจที่แก้ไม่ตกจะส่งสัญญาณแห่ง ความตาย

เมื่อผู้ป่วยทราบว่าตนเป็นโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะระยะไหนสิ่งที่ตามมาคือความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ซึ่งเป็นผลกระทบทางด้านจิตใจ นอกเหนือไปจากการดำเนินไปของโรคทางร่างกาย ดังนั้น นักกิจกรรมบำบัดต้องช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผ่อนคลายจากความเครียด ซึ่งก็มีหลายวิธี เช่น การออกกำลงกาย การทำสมาธิ เป็นต้น

“การทำจิตใจให้สงบ โดยเริ่มจากการจัดสิ่งแวดล้อมให้ตัวเองรู้สึกสบายที่สุด จับลมหายใจขณะเข้าออกของตนเองโดยไม่เร่งเร้าหรือกลั้นจังหวะการหายใจ จากนั้นหายใจอกยาวๆ 2-3 ครั้ง พร้อมนึกในใจว่า “ผ่อนคลาย....ละวาง” แล้วจับสังเกตไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อดูว่ามีความเครียดตรงไหนบ้าง จากนั้นสร้างจินตภาพว่าความเครียดเปรียบเสมือนก้อนน้ำแข็ง ทำให้ภาพในสำนึกนั้นคลี่คลายออก ก้อนน้ำแข็งละลาย สร้างสำนึกการผ่อนคลายให้แผ่ไปทั่วร่างกาย”

ในระหว่างเข้ารับการรักษา นักกิจกรรมบำบัดต้องมีส่วนช่วยสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วย ใช้คำพูดในแง่บวก ทำให้เชื่อในการมีชีวิตอยู่ และดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณค่า และมีความหมาย อาจเลือกใช้โปรแกรมการจัดการตนเอง (Self-Management Program) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตโดยใช้พลังงานให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง เมือผู้ป่วยทำกิจกรรมได้ ก็จะทำให้เกิดกำลังใจ มีแรงที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งได้

เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต นักกิจกรรมบำบัดควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปล่อยวางจากความทุกข์ใจ วิตกกังวลที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ โดยต้องอาศัยคนรอบข้างของผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วม ตัวคนรอบข้างต้องทำให้ผู้ป่วยรู้ว่าพวกเขาสามารถอยู่รอดได้โดยไม่เดือดร้อน เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

ในการเผชิญกับมะเร็ง เราควรตระหนักถึงผลกระทบของโรคที่มีต่อครอบครัวและคนรอบข้างของตัวผู้ป่วยด้วย ทีมสหวิชาชีพต้องต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้จากความกลัว และความโศกเศร้าที่ตามมาหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตลง เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในรายต่อไป

เอกสารอ้างอิง

เบอร์นี เอส.ซีเกล. ชนะโรคร้าย ด้วยหัวใจสู้. แปลโดย บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมทรรศน์, 2535.

ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง. กิจกรรมบำบัด...พัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2551.

ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง. การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์, 2553.

หมายเลขบันทึก: 625955เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท