เอาชนะและรู้เท่าทันโรคมะเร็งด้วยกิจกรรมบำบัด


โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย และมีแนวโน้มการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น จากแผนภูมิจะแสดงแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ที่มารับบริการ โดยจำแนกตามเพศ


ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทวงสาธารณสุข

อาการสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนมาก คือ จะมีอาการอ่อนล้าทั้งทางความคิด จิตใจ และทางร่างกายจนไม่อยากที่จะทำกิจกรรมใดๆ ทำได้เพียงรอคอยแต่การรักษาและความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ ครอบครัว และญาติเท่านั้น นอกจากนี้ผลของการวินิจฉัยการดำเนินไปของโรคสามารถบ่งบอกได้เพียงว่าสาเหตุของการเป็นมะเร็งของผู้ป่วยนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยควรมีการปฏิบัติตนอย่างไร


จากการศึกษาค้นคว้าพบว่านักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทในโรคมะเร็งได้ในทุกระยะ ศาสตร์ทางกิจกรรมบำบัดจะมีส่วนในการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง โดยมีนักกิจกรรมบำบัดที่จะช่วยประเมินสุขภาวะของผู้ป่วยโรคมะเร็งและให้แนะนำ รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยสามารถจัดการวางแผนการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของตนเองได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะทีดีและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นได้

กระบวนการทางกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง สามารถทำได้โดย

  • การให้ผู้ป่วยมีการทบทวนตนเอง จากการสอบถามตนเองด้วยคำถามปลายเปิด เช่น ถามว่า มีการเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง? จุดแข็งจุดอ่อนในการดำเนินชีวิตคืออะไร? กิจกรรมหลักในการดำเนินชีวิตคืออะไร? โดยคำถามในลักษณะนี้ก็เพื่อให้เกิดความสมดุลในการทำกิจกรรมทางร่างกาย จิตใจ เรียนรู้ และทางสังคม นอกจากนี้อาจให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งคนอื่นๆ เพื่อให้ผู้ป่วยมีแนวคิดในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
  • การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยในการทำกิจกรรม กิจกรรมที่ทำจะต้องไม่หนักจนเกินไป และสามารถทำได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ให้ใช้อุปกรณ์ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องออกแรงมาก แนะนำการจัดการพลังงานของร่างกายให้มีเพียงพอ เช่น การให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ การหยุดพักก่อนที่จะรู้สึกอ่อนล้า เพื่อป้องกันการอ่อนล้าอย่างต่อเนื่อง โดยอาจให้มีการแบ่งหยุดพักเป็นช่วงๆในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและนานขึ้น
  • กิจกรรมที่ทำควรเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยให้ความสนใจและสามารถทำได้เอง โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลียทั้งทางกายและทางจิตใจ ก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีกำลังใจและอยากที่จะทำต่อไป โดยก่อนเริ่มทำกิจกรรมก็ควรให้ผู้ป่วยมีการสื่อสารกับตนเองก่อน จะช่วยให้ใช้พลังงานน้อยลง ทำกิจกรรมได้นาน และมีประสิทธิภาพในการกิจกรรมต่างๆมากขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย อาจมีการสอบถามถึงความต้องการของผู้ป่วยว่า เขาต้องการ หรืออยากจะสื่อสารเรื่องอะไร กับใครหรือไม่ ยังมีสิ่งที่อยากจะทำในช่วงสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปได้ นักกิจกรรมบำบัดจะให้กำลังใจ ปรับความคิด ให้ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้ผ่อนคลายไม่วิตกกังวล เช่น อาจจะให้ญาติเล่าเรื่องราวดีดีที่มีต่อผู้ป่วย และช่วยวางแผนการทำกิจกรรมต่างๆที่มีคุณค่าความต้องการของผู้ป่วย ในระยะเวลาที่เหลืออยู่

สุดท้ายนี้ การมีจิตใจที่เข็มแข็ง มองโลกในด้านดีเป็นยาที่ดีที่สุดในโลก ถ้าเราอ่อนแอมันจะเข้ามาจู่โจมเรา เพราะฉะนั้นจงมีจิตใจที่เข้มแข็ง รักตัวเอง ดูแลสุขภาพกายให้ดี และยอมรับแต่ต้องไม่ยอมแพ้

ณิชกานต์ สุขปราโมทย์ นักศึกษากิจกรรบำบัด (5823004)


เอกสารอ้างอิง :

  • HOSPITAL-BASED CANCER REGISTRY ANNUAL REPORT 2014 (ISBN : 978-616-11-2883-8)
  • ศุภลักษณ์ เข็มทอง. การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี : เทพประทานการพิมพ์, 2553
  • จักรพงษ์ จักกาบาตร์. รู้จัก รู้เรื่อง รู้รักษา โรคมะเร็ง. กรุงเทพมหานคร : สาขารังสีรักษา, 2559.( ISBN : 9786167829623 )
หมายเลขบันทึก: 625956เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2017 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท