การปรับเปลี่ยนการรักษาให้เข้ากับหลัก OCCUPATIONAL BASED PRACTICE


การปรับเปลี่ยนการรักษาให้เข้ากับหลัก OCCUPATIONAL BASED PRACTICE

เนื่องจากดิฉันได้มีโอกาสได้ศึกษารายงานของรุ่นพี่เกี่ยวกับการรักษาต่างๆ ทางกิจกรรมบำบัดและได้เห็นว่าในการรักษานั้นๆ ยังไม่เป็น OCCUPATIONAL BASED PRACTICE หรือที่เรียกว่า OBP เพราะในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีการเรียนเรื่อง OBP ทำให้การบำบัดรักษายังไม่ได้เข้าถึงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมากนัก

OCCUPATIONAL BASED PRACTICE คือการนำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นสื่อในการรักษา โดยกระบวนการรักษาจะต้องเป็นกิจกรรมที่มีความหมาย มีประโยชน์ เหมาะกับตัวบุคคล สถานที่ และบริบทของผู้รับบริการ

จากในรายงานที่ได้ศึกษาของรุ่นพี่

  • ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยโรคว่าเป็น stroke and hemiplegia คือมีอาการเส้นเลือดในสมองแตก ส่งผลให้ร่างกายซีกซ้ายใช้การไม่ได้
  • ผู้รับบริการเป็นดาบตำรวจ
  • ความคาดหวังจากการรับบริการทางกิจกรรมบำบัด เป้าประสงค์ระยะสั้น คือสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง และเป้าประสงค์ระยะยาว คือสามารถกลับไปทำงานได้โดยถ้าต้องปรับเปลี่ยนลักษณะของงานก็สามารถรับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ (ผู้รับบริการให้คุณค่ากับการทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว)

กิจกรรมที่นักบำบัดได้ใช้ทำการบำบัดคือ

  1. ฝึก Bilateral activity เช่นการหยิบลูกเทนนิส การหยิบราวลูกปัด การหยิบกรวย โดยใช้สองมือ เพื่อช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวของแขนข้างที่อ่อนแรงให้มีการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น และป้องกันการข้อติด หากจะทำให้เป็น OBP นักบำบัดจะต้องใช้สิ่งของในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมาประยุกต์ใช้ในการบำบัด ยกตัวอย่างเช่น การรดน้ำต้นไม้โดยใช้สายยาง อาจจะให้ผู้ป่วยใช้แขนข้างมีแรงช่วยพยุงแขนข้างที่ไม่มีแรงในการทำกิจกรรม การรดน้ำต้นไม้ก็เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย ตรงกับบริบท และสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย และกิจกรรมที่สามารถทำได้อีกก็คือกิจกรรมที่เป็นงานบ้าน เช่นการเช็ดโต๊ะ เช็ดกระจก เพราะเป็นกิจกรรมที่ส่งผลให้บ้านสะอาดขึ้น ถ้าผู้ป่วยสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องมีคนช่วย ก็จะแบ่งเบาภาระของภรรยาและลูกสาวได้ ผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น
  2. ฝึก one hand activity โดยการหยิบลูกเทนนิส การหยิบกรวย โดยใช้มือข้างที่อ่อนแรง เราจะปรับเปลี่ยนให้เป็น OBP โดยการสอบถามกิจกรรมที่ผู้ป่วยชอบทำ ตัวอย่างเช่นหาก มีสวนผลไม้ และมีผลผลิต ก็ให้คัดแยกขนาดของผลไม้เพื่อนำไปจำหน่าย
  3. ฝึกเชื่อมโยงความสัมพันธ์ โดยการให้ผู้รับบริการฝึกต่อรูปภาพ ในที่นี้ผู้ป่วยเคยทำงานเป็นตำรวจมากก่อน กิจกรรมที่จะให้ทำเป็น OBP คือให้ฝึกต่อรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของตน เป็นการทำให้ผู้ป่วยคิดแก้ไขปัญหาต่างในบริบทที่คุ้นเคย เพื่อเพิ่ม Visual perception
  4. ฝึก ADL เช่นการใส่เสื้อผ้า ก็ให้ฝึกใส่เสื้อผ้าเครื่องแบบตำรวจ

หากผู้รับบริการได้ทำการบำบัดตามในสิ่งที่ตนเองชอบ ก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการอยากจะทำ เมื่อมีความสุขในการทำ ก็จะส่งผลดีต่อการบำบัดรักษา และจะเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดี และมีโอกาสที่จะกลับไปทำหน้าที่ของตำรวจซึ่นเป็นงานที่รัก โดยการทำงานเอกสารหรือทำงานต่างๆที่อยู่ในสน.ได้

น.ส.ปุณยาพร เกิดสมจิตร

5823011 PTOT ปี 2

คำสำคัญ (Tags): #OCCUPATIONAL BASED PRACTICE​#OBP
หมายเลขบันทึก: 625637เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2017 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2017 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท