มาตรการ "QE" แห่งประเทศอังกฤษ


http://tairat-gosa.blogspot.com/2013/07/boe-bank-o...

เวลาเศรษฐกิจของประเทศไหนไม่ดีตกต่ำ ทางรัฐบาลก็จะมีมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อรับมือ ทั้งส่งเสริมการส่งออก ลดภาษีนำเข้า หรือ แม้กระทั่งลด สิ่งต่างๆเท่าที่จำเป็นและสามารถทำได้ แต่มีมาตราการหนึ่งที่ทุกคนบนรถรู้จักอย่างแน่นอน คือ มาตรการ "QE" ทุกคนน่าจะรู้จักมาตรการนี้ผ่านทางข่าวเศรษฐกิจที่เคยได้ยิน ข่าวที่ดังที่สุก็น่าจะเป็นของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการใช้มาตรการ QE ติดต่อกันถึง 4 ครั้ง

แต่คร่าวนี้จะกล่าวถึงอีกประเทศหนึ่งที่ใช้ QE นี่เช่นกัน คือ เมืองผู้ดี หรือ ประเทศอังกฤษนั้นเอง แต่ขอให้ทุกคนได้รู้จัก QE ก่อน (ข้อมูลมาจากหลายๆแห่งรวมกัน แล้วสรุปตามความเข้าใจผู้เขียน)

QE คืออะไร ข้อดี ข้อเสีย ยังไง

QE คืออะไร ตอบแบบสั้นๆ คือการที่ธนาคารกลางเพิ่มเงินปริมาณมหาศาลเข้าสู่ระบบโดยตรงด้วยการเข้าซื้อ สินทรัพย์ คือตราสารทางการเงินต่างๆในตลาดอย่างจริงจังมีผลทำให้งบดุล (Balance Sheet) ของธนาคารกลางบวม เป่ง ทั้งทางฝั่ง Asset (ตราสารที่ซื้อเข้ามา) และฝั่ง Liability (เงินที่จ่ายออกไป) ปกตินโยบายการเงินแบบเดิมๆไม่ได้ทำ ให้เกิดผลแบบนี้ และ Balance Sheet ของธนาคารกลางจะค่อนข้างทรงๆไม่ได้มีการแปลงมาก ฝรั่งมักจะใช้คำว่า “สร้างเงินขึ้นมาจากThin Air” หรืออากาศบางๆ เพราะ เงินที่จ่ายออกไป ธนาคารกลางสร้าง ขึ้นมาจากความว่างเปล่า นอกจากนี้ เพดานในการท า QE ดูเหมือนจะไม่มี จะเห็นได้ว่า Balance Sheet มันบวมได้อย่าง ไม่น่าเชื่อ ไม่ท าให้ตัวเลข Public Debt แย่ลง เพราะซื้อตราสารที่มีอยู่แล้วในตลาด หนี้สาธารณะเค้าดูที่รัฐบาล ไม่ได้ดู ที่ธนาคารกลาง

ข้อดี

สามารถเพิ่มสภาพคล่องได้อย่างรวดเร็ว

ค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลง ดีต่อดุลการค้า

แก้ปัญหาข้อจำกัดทางการเมือง

ข้อเสีย

อาจนำไปสู่ Liquidity Trap

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น

อาจนำวิกฤตการณ์การเงินระลอกสอง

ส่งผลเสียต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชีย

QE มีประสิทธิผลหรือไม่

ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างแท้จริง เพราะถึงแม้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภค การลงทุนได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ปริมาณเงินธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นจากการขายพันธบัตรให้รัฐบาลไม่ได้ถูกนำไปปล่อยสินเชื่ออย่างที่ตั้งใจไว้

QE ใน อังกฤษ

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เผยเตรียมซื้อพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 7.5 หมื่นล้านปอนด์ ถือเป็นมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งล่าสุดที่หวังช่วยกระตุ้นการเติบโตที่ซบเซาของแดนผู้ดี วอลล์สตรีต เจอร์นัลรายงานว่า คณะกรรมาธิการนโยบายการเงินของ BOE เห็นพ้องกันว่าจะซื้อตราสารรัฐบาลรอบสองเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ในระยะกลาง ความเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่อยู่นอกเหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ เพราะ BOE ส่งสัญญาณมาตั้งแต่เดือนที่แล้วว่า การซื้อตราสารรอบใหม่หรือที่รู้จักในชื่อมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมีโอกาสเกิดขึ้นสูง หลังหลายประเทศในยุโรปประสบวิกฤตหนี้สาธารณะ ดีมานด์ผู้บริโภคภายในประเทศลดต่ำ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในต่าชาติ ชะลอตัว ทั้งนี้ BOE เคยใช้เครื่องมือนี้มาแล้วในช่วงมีนาคม 2552- กุมภาพันธ์ 2553 โดยซื้อพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ 2 แสนล้านปอนด์เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและหยุดยั้งภาวะเงินฝืด


ถ้าจะถามว่า ใครใช้ก่อนในโลกจะตอบยาก ในช่วงปี1930 สหรัฐก็ทำอะไรประมาณนี้ แต่อังกฤษอาจจะบอกว่าเราทำมา 200 ปีแล้ว


คำสำคัญ (Tags): #การบ้าน
หมายเลขบันทึก: 625388เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2017 01:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2017 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท