ญี่ปุ่นกับการใช้มาตรการ QE


ที่มา https://www.mushroomtravel.com/tour/outbound/songk...

สวัสดคับวันนี้ผมจะมาพูดเกี่ยวกับมาตรการ QE ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับมาตรการนี้แต่ซึ่งคงจะคุ่นๆเกี่ยวมาตรการ QE ที่เกิดขึ้นที่อเมริกาแต่วันนี้ผมจะมาพูด มาตรการ QE ที่ใกล้ตัวมากขึ้นที่เกิดขึ้นใกล้บ้านเรานั้นก็คือประเทศญี่ปุ่นกับการใช้มาตรการ QE ก่อนที่จะเข้าเรื่องการใช้มาตรการ QE ผมขออธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับมาตรการนี้กันก่อนนะครับ

มาตรการ QE คือไร

มาตรการ QE คือเป็นเครื่องมือด้านปริมาณ ควบคุมได้ ใช้ในการปรับสภาวะการเงินในประเทศ เช่น ธนาคารกลางประกาศ โดยโยงกับระยะเวลาหรือเป้าหมายเศรษฐกิจบางประการ เช่น คงอัตราดอกเบี้ยในระดับตํ่าจนกว่าอัตราการว่างงานจะถึงเป้าหมายที่ต้องการ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการและยุติมาตราการประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง ทำโดยผ่านการเพิ่มลดขนาดการเปลี่ยนแปลงหนี้สินและทรัพย์สินในงบดุลของธนาคารกลาง เช่น ซื้อสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย ซื้อสินทรัพย์แบบเจาะจงในตลาดที่มีปัญหา เป็นต้น

ญี่ปุ่นกับการใช้มาตรการ QE

ญี่ปุ่นมีการใช้ มาก่อนหน้านี้แล้วซึ่งผมจะมาพูดถึงการใช้มาตรการล่าสุดคือ ปี 2014 เพื่อพยายามสร้างภาวะเงินเฟ้อให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจดีขึ้นเพื่อลดอัตราว่างงานของคนญี่ปุ่นเพราะปัจจุบันประสบปัญหาเงินฝืด ของมีราคาถูก และมีแนวโน้มที่จะถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนจึงไม่รีบซื้อสินค้าหรือบริการ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง การใช้มาตรการ QE เป็นการที่ธนาคารกลางไปซื้อตราสารหนี้ของเอกชน ทำให้เงินในระบบมีมากขึ้น ช่วยป้องกันภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำแต่การใช้มาตรการนี้ยังช่วยภาวะเงินเฟ้อไม่ค่อยได้ ถึงแม้ตอนนี้อัตราเงินในประเทศจะติดลบแต่ประชาชนยังไม่มีการจับจ่ายใช้สอยเท่าที่ควร

ในการใช้ มาตรการ QE ของญี่ปุ่นในปัจจุบันจะยังไม่สามารถใช้กระตุ้นภาวะเศรษฐกิจได้เท่าแต่ก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าประเทศญี่ปุ่นมีมาตรการอะไรที่จะสามารถรองรับในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เราจะต้องจับตากันดูต่อไป สำหรับวันนี้ก็คงจบบทคราวกันเท่านี้ครับไว้เจอกันบทความหน้าวันขอล้เพียงเท่านี้สวัสดีครับ

อ้างอิง http://www.bangkokbiznews.com

หมายเลขบันทึก: 625385เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2017 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2017 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท