การบริหารแบบ “ยอม”




การบริหารแบบ “ยอม”

โดย ดร. ถวิล อรัญเวศ

รอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ สพป.นครราชสีมา เขต ๔

บทนำ

หลักการบริหารจะต้องใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ คือมีการลงโทษและให้บำเหน็จความชอบไปพร้อม ๆ กัน กล่าวคือ ใครทำงานดี ทำงานเก่งก็ปูนบำเหน็จความดี ความชอบให้ แต่ถ้าใครขี้เกียจ ไม่ตั้งใจทำงาน หรือเช้าชาม เย็นชาม ก็ต้องว่ากล่าว ตักเตือนกันให้รู้ตัวก่อน ไม่ฟังก็ลงโทษตามแต่กรณี เพื่อไม่เป็นเยี่ยงอย่างกันต่อไป ซึ่งความจริง ก็คงเป็นเช่นนั้น แต่ทว่า การบริหารเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคนจำนวนมาก อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับคน มักจะยุ่งยาก เพราะคำว่า “คน” ก็คงทราบ ว่าต้องคนไป คนมา บางครั้งต้องมีการยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ไม่สุดโต่งหรือหย่อนจนเกินไป

หลักการบริหารแบบ “ยอม”

หลักการบริหารแบบ “ยอม” คือ บางครั้ง ต้องยอมเส่ียบ้าง เพราะ การบริหารบางครั้ง ถ้า

้้้้้้้เเอาแต่ใจตนเอง บริหารตาม


ถ้าทำตามความรู้สึกตนเอง ไม่สนใจคำแนะนำของเพื่อนร่วมงานแล้วไซร้ ก็มีแต่จะวุ่นวาย เป็นปัญหา และก่อให้เกิดการต่อต้านตามมาได้

หลักการบริหารแบบ “ยอม”

ย.ตัวแรก มีนัย ดังนี้

๑. ยืดหยุ่น

๒. ยุติธรรม

๓. ยิ้มแย้ม

๔. เยือกเย็น

๕. ยกย่อง

อ.ตัวที่สอง มีนัย ดังนี้

๑. ไม่มีอคติ ๔ คือ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะโกรธกัน ลำเอียงเพราะไม่รู้ขาดข้อมูลที่ดีพอ และลำเอียงเพราะกลัว

๒. ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ไม่เป็นผู้อารมณ์โมโห

โกรธง่าย ต้องสุขุมรอบคอบ รู้จักข่มใจตนเองไว้ได้ไม่แสดงออกให้ปรากฏต่อสาธารณชน

๓. ไม่เป็นอวดเก่ง อวดรู้หมดทุกอย่าง ต้องสามารถรับฟังความคิดเห็นเพื่อนร่วมงาน ให้เกียรติที่จะนำข้อคิดข้อเสนอแนะไปปรับปรุงการบริหารงานในองค์กร

ม.ตัวที่สาม มีนัย ดังนี้

๑. เมตตาธรรม ผู้บริหารจำต้องมีเมตตาธรรม เพราะเมตตาธรรม ค้ำจุนโลก ถ้าคนเราปราศจากเมตตาธรรมแล้วไซร้ โลกนี้คงจะมีแต่รบราฆ่าฟันกัน คงไม่มีสันติสุขได้ ฉะนั้น ควรมีเมตตาธรรมกับลูกน้อง

๒. ไม่มีมลทินมัวหมอง ในเรื่องการเงิน ชู้สาว และเมาสุราเป็นอาจิณ

๓. มีมาดของผู้บริหาร มีบุคลิกของผู้บริหารด้าน

การแสดงออก เช่น การแสดงออกทางกาย แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะเหมาะสมกับการเป็นผู้นำหรือผู้บริหาร

การแสดงออกทางวาจา พูดจามีวาทศิลป์ การแสดงออก

ทางใจ มีพรหมวิหาร ๔ สัปปุริสธรรม ๖ อปริหาณิยธรรม ๖ เป็นต้น

สรุป

หลักการบริหารแบบ “ยอม” คือการรู้จักยอมเส่ียบ้าง ดังคำที่ว่า "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นเณร"
ย.ตัวแรก มีความยืดหยุ่น ยุติธรรม ยิ้มแย้ม เยือกเย็น ยกย่อง คือรู้จักให้คำชมเชยลูกน้อง อ.ตัวที่สอง คือ ไม่มีอคติ ๔ ได้แก่ ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะ โกรธกัน ลำเอียงเพราะไม่รู้ขาดข้อมูลที่ดีพอ และลำเอียงเพราะกลัว ไม่เป็นผู้อารมณ์โมโหโกรธง่าย ต้องสุขุมรอบคอบ เยือกเย็น ไม่เป็นอวดเก่ง อวดรู้หมดทุกอย่าง ต้องสามารถรับฟังความคิดเห็นเพื่อนร่วมงาน ให้เกียรติที่จะนำข้อคิดข้อเสนอแนะไปปรับปรุงการบริหารงานในองค์กร ส่วน ม. ตัวที่สาม คือ มีเมตตาธรรม ผู้บริหารจำต้องมีเมตตาธรรม เพราะเมตตาธรรม ค้ำจุนโลก ถ้าคนเราปราศจากเมตตาธรรมแล้วไซร้ โลกนี้คงจะมีแต่รบราฆ่าฟันกัน คงไม่มีสันติสุขได้ ฉะนั้น ควรมีเมตตาธรรมกับลูกน้อง ไม่มีมลทินมัวหมองในเรื่องการเงิน ชู้สาว และเมาสุราเป็นอาจิณ มีมาด ของผู้บริหาร คือต้องมีมาดหรือบุคลิกของผู้บริหาร เช่น การแสดงออกทางกายแต่งกายสุภาพ การแสดงออกทางวาจา คือพูดจาไพเราะเหมาะสมกับการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารการแสดงออก ทางใจ คือไม่ริษยาลูกน้อง มีมุทิตาจิต มีคุณธรรมประจำใจสำหรับผู้บริหาร

----------

ฝากไว้เป็นข้อคิด

แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร (การยอมกันได้จะกลายเป็นดี)

มารไม่มี บารมีไม่เกิด

ใคร่ครวญให้ดีก่อน ค่อยทำดีกว่า

อภัยให้กันดีกว่าอาฆาตพยาบาทกัน

หมายเลขบันทึก: 625176เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2017 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2017 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท