บุคลิกภาพผิดปกติ คืออะไร ?


" Obsessive-Compulsive Personality Disorder (OCPD) "

เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพชนิดหนึ่ง จัดอยู่ใน cluster C ตาม DSM-V โดยใน cluster นี้ผู้รับบริการจะมีลักษณะร่วมกันคือ anxiety หรือ fear

Prevalence

จาก หนังสือ จิตเวช ศิริราช DSM-5 ภาควิชาจิตเวชต์ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มอาการ Obsessive-Compulsive Personality Disorder (OCPD)

มีความชุกร้อยละ 2.1

ชาย > หญิง

ลักษณะอาการทางคลินิก

- ดื้อรั้น และทำงานหนัก

- หมกมุ่นกับหลักศีลธรรม จรรยา จริยธรรม กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ

- ยึดถือความสมบูรณ์แบบ (perfectionism)

- ไม่ยืดหยุ่น

ผลที่ตามมา

- มีความยากลำบากในการปรับตัวกับสถานการณ์ที่ต้องการความยืดหยุ่น

- หน้าที่ด้านการงาน ด้านสังคมเสื่อมสมรรถภาพ

- เสี่ยงต่อการเป็นโรค cardiovascular disease โดยเฉพาะจากอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย

Comorbidity

ผู้รับบริการ OCPD จะมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย คือ Major Depressive Disorder ,Anxiety Disorder ,Obsessive- Compulsive Disorder , Hypochondriasis และ Eating Disorder

Treatment

- Cognitive Behavioral Therapy (CBT)

- Medication

- Relaxation Training

ในที่นี้สนใจการให้การรักษาโดยใช้ Cognitive Behavioral Therapy (CBT)

จากบทความ A randomised controlled trial of group cognitive behavioural therapy for perfectionism (Published : Feb 25, 2015)

โดย Alicia K. Handley

บทความนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการให้โปรแกรม CBT ในผู้รับบริการ OCPD ในกลุ่ม Perfectionism (concern over mistakes) โดยผู้เข้าร่วมการทดสอบเป็นเพศหญิง อายุ 17 ปี จำนวน 42 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

- Treatment group (CBT-P) จำนวน 21 คน

- Control group (waitlist) จำนวน 21 คน


การให้โปรแกรม CBT-P จะทำการแบ่งออกเป็น 8 ชุด ชุดละ 2 ชั่วโมง ประกอบด้วย

- understanding perfectionism

- motivation to change

- challenging perfectionist beliefs

- behavioural experiments

- diaries

- decreasing procrastination

- decreasing self-criticism

- balancing self-esteem

หลังจบโปรแกรม CBT-P ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลจากแบบประเมิน CM,PS,DA,CPQ,DAS-SC ซึ่งเป็นการประเมินอาการ Perfectionism พบว่าพฤติกรรมของผู้รับบริการในกลุ่ม treatment มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่ม waitlist

ต่อมาก็มีการให้โปรแกรม CBT-P ในกลุ่มwaitlist และมีการติดตามผลใน 3 เดือน และ 6 เดือนหลังการให้โปรแกรมในทั้ง 2 กลุ่ม

สรุปการศึกษา จากการให้การรักษาแบบ CBT-P จะช่วยลดอาการ Perfectionism, social anxiety, anxiety sensitivity, rumination, depression และ eating disorder นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิด self-esteem และ quality of life

จากการสืบค้นบทความและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และเพื่อนในห้องเรียนทำให้ทราบถึงการนำแนวทางการรักษามาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทในสังคมไทยของเรา เช่น การทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อให้ผู้รับบริการในกลุ่มนี้ได้มีการให้มากกว่าการรับ การทำกิจกรรมเพื่อการผ่อนคลายต่างๆ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดเป็นสาขาวิชาชีพหนึ่งที่สามารถหยิบเทคนิคเหล่านี้มาใช้ได้อย่างหลากหลายมาก ได้เรียนรู้ถึงการนำความรู้ในสาขาวิชาอื่นมาปรับประยุกต์ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการด้านจิตเวชมากขึ้น

ขอบคุณค่ะ ^^

หมายเลขบันทึก: 624864เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 06:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 06:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท