ผู้สูงอายุกับโปรแกรมทางกิจกรรมบำบัด


ดิฉันได้มีโอกาสไปยังบ้านพักผู้สูงอายุ (Camillian) ซึ่งจะได้ไป 2 ครั้ง ครั้งแรกไปเพื่อสัมภาษณ์ ครั้งที่2 ไปเพื่อไปจัดกิจกรรมให้เหมาะสม

ในครั้งแรกดิฉันได้ทำความรู้จักกับคุณยายท่านหนึ่งซึ่งนั่ง wheelchair จึงได้เข้าไปสร้างปฏิสัมพันธ์ด้วยการพูดคุย ทำให้พบปัญหาคือ

1.หูท่านไม่ค่อยได้ยิน ทำให้เราต้องคุยกันเสียงดัง

2.สูญเสียความจำระยะสั้น (short-term memory) เมื่อบอกชื่อไปให้คุณยายทวน ผ่านไป 1 นาที คุณยายก็จะจำไม่ได้ แล้วบอกว่า “เราเคยรู้จักกันด้วยหรอ แต่หน้าคุ้นๆนะ” และท่านมักจะถามคำถามเดิมซ้ำๆ

3.มีความคิดความรู้สึกที่จมอยู่กับอดีต คุณยายคิดเสมอว่าเดี๋ยวตอนเย็นลูกก็มารับกลับบ้าน

  • เมื่อประเมินความสามารถของคุณยายพบว่า ท่านยังมองเห็นตัวหนังสือชัด อ่านออก เขียนหนังสือได้ ยกแขนได้สูงโดยไม่เจ็บ ลุกขึ้นเดินในระยะที่ไม่ไกลมากได้ด้วยตนเอง
  • สอบถามความสนใจ คุณยายไม่มีอะไรที่สนใจ รู้สึกเฉยๆ จึงได้ถามย้อนกลับไปว่า แต่ก่อนอยู่บ้านทำอะไร คุณยายจึงบอกว่า “ก็ทำกับข้าวกินเอง ชอบทำให้ลูกกิน”
  • คุณยายบอกว่า อายุ 80 ลูกจะมารับในตอนเย็น ไม่ได้อยู่ประจำ ปกติอาบน้ำ แต่งตัวเอง (ดิฉันจึงบันทึกข้อมูลไว้)

ดิฉันจึงได้คิดกิจกรรมที่จะจัดให้เป็นกลุ่มร่วมกันเพื่อนๆ สรุปว่า “ทำฟักทองแกงบวด”


ครั้งที่สองของ camillian ที่เราต้องมาจัดกิจกรรมกลุ่ม เราได้จัดกิจกรรม relax ก่อนเริ่มทำฟักทองแกงบวด คือ กิจกรรมแนะนำตัว การออกกำลังกายง่ายๆ ท่าบริหารสมอง ยืดกล้ามเนื้อ คุณยายเคสของดิฉันสามารถทำท่าตามได้ แต่ดิฉันต้องอธิบายซ้ำเสียงดังๆและแนะวิธีการข้างๆ ระหว่างทำกิจกรรม คุณยายจะชอบบอกว่า “ยุ่งยากจริงๆ เบื่อแล้ว” ดิฉันจึงต้องพยายามพูดคุยให้คุณยายรู้สึกอยากร่วมกิจกรรม เมื่อเริ่มกิจกรรมฟักทองแกงบวด ทำให้ดิฉันพบปัญหา คือ

1.คุณยายไม่กล้าแนะนำตัวในกลุ่ม

2.พยายามที่จะออกจากกลุ่ม เพราะกลัวว่าถ้าคิดต่างจะโดนว่า โดนตำหนิ

3.คิดว่าถ้าอยู่ตรงนี้จะเกะกะ ขอออกดีกว่า

4.เมื่อไปถามผู้ดูแลจึงทราบว่าจริงๆแล้วคุณยายอายุ 90 ปี อยู่ที่นี่ประจำ ไม่มีใครมารับ และมีเจ้าหน้าที่อาบน้ำแต่งตัวให้


หลังจากที่ได้ไปบ้านพักผู้สูงอายุ 2 ครั้ง ทำให้ดิฉันคิดโปรแกรมการรักษาสำหรับคุณยายให้เห็นผลได้จริง ภายใน 21 วัน เพื่อเพิ่มทักษะด้านความจำและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

- ประเมินความสามารถด้านการรู้คิดก่อนว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน

- ให้ Cognitive training program เพื่อเพิ่ม short-term memory โดยให้กิจกรรม Cognitive successful activity เช่น กิจกรรมจำชื่อคน อาจเป็นดาราหรือคนดังในยุคของคุณยาย กิจกรรมจดจำสิ่งของ เช่น ขณะทำอาหารอาจให้ทวนว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ทวนวิธีการทำที่เพิ่งบอกไป กิจกรรมเปิด-ปิดจับคู่ กิจกรรมการร้องเพลง เป็นต้น

- โดยการให้กิจกรรมต้องใช้สื่อเพื่อกระตุ้นความสนใจ เสียง สี การกระตุ้นจากผู้บำบัด เพื่อเป็นการเพิ่ม arousal ให้ผู้รับบริการตื่นตัวมากขึ้น

- เนื่องจากคุณยายสามารถลุกเดินได้เอง จึงควรสนับสนุนให้คุณยายได้ทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆด้วยตนเอง เช่น ใส่เสื้อผ้า การเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย การนั่งอาบน้ำ โดยผู้บำบัดจัดสิ่งแวดล้อมและแนะนำวิธีการที่ปลอดภัยในการลุก เดิน ทำกิจกรรมต่างๆแก่ผู้รับบริการและผู้ดูแล

- ให้ Social Skills Training Program เพื่อเพิ่มทักษะทางสังคม การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น โดยเริ่มจากการเพิ่ม self-esteem เพื่อให้เกิดความมั่นใจในตนเอง กระตุ้นให้เกิดทักษะการเป็นผู้นำ ถามความคิดเพื่อลดความกลัว เพิ่มทักษะควบคุมอารมณ์ (emotional control) ให้รู้ระดับอารมณ์ของตน เพิ่มทักษะการสื่อสารในกลุ่มด้วย กิจกรรม Life Review โดยให้เล่าเรื่องในอดีตแลกเปลี่ยนกัน หรือใช้กิจกรรมยามว่างในการจัดกลุ่มเพื่อให้เกิด meaningful activity เช่น ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร งานเย็บ เป็นต้น และควรมีการให้ผู้รับบริการ feedback เพื่อเพิ่มทักษะการกล้าแสดงความคิดเห็นอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 624859เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 04:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 04:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท