กิจกรรมยามว่างบำบัดตนเอง


ในคาบเรียนวิชาการปรับกิจกรรมการดำเนินชีวิต ในหัวข้อเรื่อง Leisure

  • Leisure คือ การทำกิจกรรมยามว่างที่เราสนใจและมีความหมาย ซึ่ง Leisure ในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปตามความสนใจ โดยต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการทำและเลือกกิจกรรม เพื่อให้เกิดความสมดุลขณะทำกิจกรรม (Balance)

ในตอนแรกอ.ให้นักศึกษาแต่ละคนลองเขียนตารางชีวิตของตนเองในแต่ละวัน ว่าตั้งแต่ตื่นนอน-เข้านอน ทำอะไรบ้าง และให้เน้นไว้ว่า “กิจกรรมไหนที่แตกต่างกันในแต่ละวัน” ผลปรากฏว่า ตารางชีวิตของนักศึกษาส่วนใหญ่จะเหมือนกันในทุกๆวัน คือ ตื่นนอน,เรียน,กิน,ทำงาน,เข้านอน ซึ่งเกิดจากการทำซ้ำๆ จนเป็นกิจวัตรประจำวัน (Routine) น่าแปลกใจที่แทบจะไม่มี Leisure ในตารางชีวิตแต่ละวันเลย ทำไมถึงเป็นแบบนั้น? ในตอนนั้นสิ่งได้ตอบอ.ไปคือ “หนูไม่มีเวลาพอค่ะ”


อ.จึงได้มอบหมายกิจกรรมให้ไปทำ ภายใน 1 ชั่วโมงคือ

1. เขียน mind map

2. แต่งกลอน

3. ร้องเพลง

4. เขียน/พูดคำคม

5. เล่นเกมส์สร้างสรรค์

6. วาดรูป/ถ่ายรูปขณะฟังเสียงจากต้นไม้ (อัพลงSocial ติด #Leisureกิจกรรมบำบัด)

7. คิดท่าฝึก mindfulness 1 ท่า

8. คิดท่าออกกำลังกายสมอง 1 ท่า


หลังจากที่ได้สิ่งที่มอบหมายรู้สึกว่า “จะทันได้ไง เยอะมาก” จึงได้บริหารจัดการเวลาลงไปทำกิจกรรมต่างบริเวณคณะ ซึ่งภายใน 1 ชั่วโมง ดิฉันทำไปได้ 6 กิจกรรม ได้แก่

  • แต่งกลอน

“ทุกชีวิตแสนสุขและมีค่า ทั้งแมวหมามากมายไร้เจ้าของ

ถึงเป็นสัตว์ก็โศกเศร้าน้ำตานอง วอนขอร้องถ้าจะเลี้ยงโปรดดูแล”

  • ร้องเพลง
  • เขียนคำคม

“เมตตาเกิดจากความตระหนักว่า ทุกชีวิตอยู่บนเรือลำเดียวกัน”

  • ถ่ายรูปขณะฟังเสียงจากต้นไม้ (อัพลงSocial ติด #Leisureกิจกรรมบำบัด)
  • คิดท่าฝึก mindfulness 1 ท่า

“เอามือจับท้อง กำหนดลมหายใจเข้าท้องป่อง-หายใจออกท้องยุบ ทำช้าๆไปเรื่อยๆ”

  • คิดท่าออกกำลังกายสมอง 1 ท่า

“Brain gym โดยมือข้างหนึ่งเป็นรูปจีบ อีกข้างเป็นรูปตัว L ทำสลับไปมา”


เมื่อหมดเวลาและขึ้นมาบนห้องเรียน ทำให้ดิฉันได้รู้ว่า ข้ออ้างคำว่า “ไม่มีเวลา” มันฟังไม่ขึ้นเลย เพราะในเวลาแค่ 1 ชั่วโมง เรากลับทำกิจกรรมผ่อนคลายได้ถึง 6 กิจกรรม หากเรารู้จักบริหารเวลาชีวิตในแต่ละวัน ลองจัดระเบียบกิจวัตรประจำวันดูบ้าง (Break the routine) แล้วแบ่งเวลามาให้ความสุขกับตนเอง เท่านี้ชีวิตคงมีรอยยิ้มและเสียหัวเราะมากขึ้นแล้ว

เพราะกิจกรรมมีความหมายและยืดหยุ่นเสมอ” (Occupational Flexibility)

หมายเลขบันทึก: 624858เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 04:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 04:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท