กิจกรรมบำบัด กับ Schizoid Personality Disorder


จากการสืบค้นข้อมูลในวิชาการให้หลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งต้องหางานวิจัยเกี่ยวกับฝ่ายจิต ในหัวข้อโรค Schizoid Personality Disorder

จึงได้ทำการค้นหาข้อมูล แต่เนื่องจาก Schizoid เป็นเพียงบุคลิกภาพที่ผิดแปลกเท่านั้น จึงมีงานวิจัยค่อนข้างน้อย เมื่อค้นหารู้สึกสนใจกับงานวิจัยของนักจิตวิทยา


ON MAKING EMOTIONAL CONTACT WITH A SCHIZOID PATIENT

ผู้เข้าร่วมโปรแกรม : จำนวน 1 คน เพศชาย อายุ 40+ ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Schizoid Personality Disorder เข้ารับการรักษาเป็นเวลา 8 ปี

พฤติกรรม : ผู้รับบริการมีความคิดที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น สร้างกำแพงกับผู้บำบัด เฉยชากับสิ่งต่างๆ ไม่เริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์ ไม่ค่อยพูดคุยก่อน

ข้อมูลจากการพูดคุย

ผู้รับบริการเพศชาย ไม่เคยมีสัมพันธภาพเชิงชู้สาว ใช้ชีวิตสันโดษ มีพี่ชายและน้องสาว รวมกันเป็น 3 คน พ่อแม่หย่าร้างตั้งแต่เขายังเด็ก แม่เสียชีวิตด้วยโรค ส่วนพ่อไม่ทำหน้าที่ผู้นำที่ดี มักใช้อารมณ์ ใช้กำลังในการตัดสินปัญหา เขามักจะโดนพ่อดุด่า เขามีความรู้สึกที่ไม่ดีกับพ่อ ทำให้เขาเครียด สูบบุหรี่ เขามักกล่าวถึงครอบครัวว่า “ใกล้ชิด แต่ไม่รู้สึก”

ผู้บำบัดเลือกโปรแกรม Psychoanalysis (Sigmund Freud) คือ เทคนิคการบำบัดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจิตไร้สำนึก (unconciousness) โดยเป็นการแปลความหมายของความขัดแย้งภายในจิตใจของผู้ป่วย ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรืออาจก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน ซึ่งจิตไร้สำนึกจะแสดงออกมาในรูปของความฝัน การละเมอ การพลั้งปากพูด การแสดงออกทางด้านจินตนาการ รวมถึงการระเบิดอารมณ์ออกมาเกินเหตุ

ก่อนให้โปรแกรม

ผู้บำบัดควรมี Transference คือ ผู้รับบริการพูดคุยผ่านจิตไร้สำนึก โดยเล่าถึงบุคคลสำคัญของตน แล้วถ่ายทอดมาสู้ตัวผู้บำบัด ความรู้สึกนี้สำคัญมาก เพราะช่วยเพิ่ม Therapeutic relationship ให้หนักแน่นมากขึ้น เพื่อให้ผู้บำบัดเข้าใจสภาพจิตใจ ความขัดแย้งที่มีอยู่ภายในตัวผู้รับบริการ

ขั้นตอนการรักษา

  • ผู้บำบัดควรสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้รับบริการก่อนเข้าร่วมโปรแกรมนี้ (Meaningful emotional connection)
  • ผู้บำบัดสนทนากับผู้เข้าร่วมโดยให้เล่าเรื่องความฝันของตน สลับกับความขับข้องใจหรือเหตุการณ์ที่ผ่านมา ผู้บำบัดคอยรับฟังและถามคำถามปลายเปิด
  • บทความจากในงานวิจัย เขาเล่าว่า “เรื่องเกิดขึ้นในสวนที่ผมเดินผ่านทุกๆวัน พื้นดินบริเวณนั้นเป็นสีขาวและมีลูกฟุตบอลวางอยู่ 3 ลูก เลยตัดสินใจเตะลูกหนึ่งออกไป แต่ระดับพื้นดินที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เส้นทางการวิ่งของลูกบอลไม่เป็นไปตามที่คิด มันไปกระแทกกับศาลาที่อยู่ใกล้ๆและระเบิดออก” “รู้สึกไม่ดีนะ รู้สึกว่าตนเองควรรับผิดชอบการกระทำนี้”
  • หลังจากที่ผู้บำบัดรวมเรื่องเล่ากับความฝัน จึงลองวิเคราะห์จิตไร้สำนึกที่เกิดจากความรู้สึก ความคิด และความฝัน ให้ผู้รับบริการฟังว่า

“ลูกฟุตบอล 3 ลูก อาจหมายถึง 3 พี่น้อง โดยพ่อเป็นคนเตะฟุตบอลลูกหนึ่งออกไป ในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งฟุตบอลลูกนั้นก็คือตัวเขา ทำให้เขาระเบิดอารมณ์ออกมา แต่ขณะเดียวกันลึกๆแล้วคนเตะก็รู้สึกเสียใจกับการกระทำของตนเช่นกัน”

  • หลังจากให้ผู้รับบริการฟังและคิดย้อนกลับไป เขาพูดว่า “การจะทำบางสิ่งบางอย่างแต่ยังมีสิ่งขัดขวางในตัวเรานั้น เราควรจะต้องทำลายอุปสรรคที่ขวางการเรียนรู้ของเราก่อน”

สรุปผล

  • ผู้รับบริการเปิดใจมากขึ้น มีความคิดที่เป็นเหตุและผล ความคิดเชิงรูปธรรมลดลง มีการโต้ตอบกับผู้รับบริการดีขึ้นจากเดิม
  • เมื่อจบใน session with a dream ทำให้ผู้บำบัดได้ทราบถึงจิตไร้สำนึกซึ่งเป็นพื้นฐานของปัญหาที่ผู้รับบริการคิดหรือฝังใจ ซึ่งมักจะส่งผลต่อพฤติกรรมเป็นสำคัญ การทำโปรแกรม Psychoanalysis จึงช่วยให้ได้ความคิดความรู้สึกที่เป็นนามธรรมมากยิ่งขึ้นในผู้ป่วย Schizoid Personality Disorder
  • ในโปรแกรมนี้ผู้บำบัดไม่ควรตั้งหน้าตั้งตาถามคำถามมากเกินไป จะทำให้ผู้รับบริการรู้สึกไม่เป็นส่วนตัว ควรให้เขาได้มีโอกาสเล่าเรื่องของตนเองมากที่สุด

จะเห็นว่าจากวิธีการของนักจิตวิทยาทำให้ทราบถึงความเชื่อมโยงของปัญหากับความคิดที่จมปรักอยู่ของผู้รับบริการ การใช้เทคนิคนี้จำเป็นต้องศึกษาเฉพาะด้านอย่างละเอียด แต่ก็ได้ผลในเชิงจิตวิทยาในการเปิดใจเล่า/รับฟังมากขึ้น


ในทางกิจกรรมบำบัดคิดว่าเราสามารถนำเทคนิคการพูดคุยแบบ Transference คือการพูดคุยแบบไม่ตัดสิน ให้เขาได้เล่าออกมา คอยรับฟังอย่างตั้งใจ มาปรับประยุกต์ใช้ได้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ ซึ่งในกรณีของ Schizoid Personality Disorder กิจกรรมบำบัดสามารถรับรู้อารมณ์ผ่านการให้กิจกรรมการวาดรูป การเลือกสี เพื่ออารมณ์ขณะนั้น กิจกรรมบำบัดสามารถช่วยกระตุ้นและสร้างเสริมการรู้คิด ผ่าน Emotional Program ให้กิจกรรมที่ส่งเสริมภาวะทางจิตใจ ผ่อนคลายอารมณ์ มีการนำกิจกรรมเข้าไปสอดแสรกให้เกิด work skill และสามารถทำ Occupation ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



Journal : http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/bjp.121...

หมายเลขบันทึก: 624860เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 04:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 04:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท