การประยุกต์การรักษาในผู้ป่วย Panic ผ่านกิจกรรมบำบัด


จากสืบคนหาข้อมูลในวิชาการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางกิจกรรมบำบัด ในฝ่ายจิตซึ่งได้เรื่อง Panic Disorder(อาการกลัวหรือตกใจ) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการ Anxiety (อาการวิตกกังวล) พบข้อมูลเรื่องของการใช้ internet-based CBT หรือการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษา ซึ่งในข้อมูลที่พบเป็นการเปรียบเทียบกันระหว่าง internet-based CBT กับ face-to-face CBT(การเจอกับผู้บำบัดโดยตรง) ว่ามีผลการรักษาแบบใดดีกว่ากันซึ่งได้ผลออกมาว่าการใช้วิธีการทั้งสองแบบมีผลการรักษาออกมาใกล้เคียงกันแต่มีข้อดีและข้อเสียต่างกันคือ

  • การใช้ face-to-face CBT ผู้รับบริการจะให้ความร่วมมือและมีความเข้าใจในส่วนของการรักษามากกว่า แบบ internet-based CBT
  • แต่ในส่วนของ internet-based CBT มีข้อดีในการเป็นตัวช่วยขจัดในเรื่องข้อจำกัดทางด้านเวลาและจำนวนของผู้บำบัดในการให้การรักษา ทำให้ผู้รับบริการมีการเขาถึงการรักษาได้ง่ายและมากยิ่งขึ้น

การให้โปรแกรมการรักษาจะมี 4 ด้านคือ

1. คำแนะนำสำหรับการวิธีการควบคุมการหายใจ

คนเฉลี่ยต้องการเพียง 10-12 หายใจต่อนาทีที่เหลือ ถ้าอัตราการหายใจมากกว่าการหายใจ 10-12 ต่อนาที แต่ละบุคคลอาจจะแนะนำให้ลดอัตราการหายใจของเขา หรือเธอโดยให้นับจำนวณครั้งที่หายใจภายเวลาใน 1 นาที โดย หายใจเข้าแล้วออกนับว่าเป็นหนึ่งลมหายใจ

2. การปรับโครงสร้างองค์ความรู้

วิธีการที่ใช้ในการปรับโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ

  • Socratic questioning : การตั้งคำถามสำหรับใช้ในการค้นหาความคิดในหลายๆ ทิศทางเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงการค้นหาความคิดที่ซับซ้อน เพื่อค้นหาความจริงในเรื่องต่างๆ เพื่อเปิดประเด็นความคิดและปัญหา
  • Thought recording : การบันทึกความคิด
  • Identifying cognitive errors : การระบุค้นหาความรู้ความเข้าใจที่ผิดพลาด
  • Decatastrophizing : จะเป็นการใช้เทคนิคการถามว่า “ถ้า”"เช่น การถามคำถามว่า ถ้ากลัวเหตุการณ์หรือวัตถุที่เกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ ?
    • ตัวอย่างเช่น
    • ผู้รับบริการ : ฉันสามารถทำให้ตัวเองเป็นคนโง่ได้ ถ้าเกิดฉันพูดผิด
    • ผู้บำบัด : ถ้านายพูดอะไรผิด จะเกิดอะไรขึ้นล่ะ ?
    • ผู้รับบริการ : เขาอาจจะคิดว่าฉันแปลก
  • Guided imagery : การใช้ภาพ
  • Listing rational alternatives : การให้ทางเลือกที่มีเหตุผล

3. การรับรู้อากัปกิริยาของตนเอง

เป็นการที่ให้บุคคลรับรู้ความรู้สึกเป็นต้นว่า ความเจ็บปวดและความหิว และการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายใน

4. การให้พบเจอกับสถานการณ์ต่างๆ

ตัวอย่าง ผู้รับบริการ ที่มีอาการเสียขวัญและกลัวการออกจากบ้าน

1. นั่งบนระเบียงด้านหน้า 20 นาที

2. เดินไปยังกล่องจดหมายการเก็บจดหมาย แล้วยังคงอยู่ในสวนด้านหน้า 20 นาที

3. เดินไปไกลจากบ้านประมาณ 1 ช่วงถนน

4. เดินไปไกลจากบ้านประมาณ 2 ช่วงถนน

5. เดินขึ้นไปรษณีย์ในเวลาที่คนไม่เยอะมากและซื้อแสตมป์

6. ขึ้นรถประจำทางไปศูนย์การค้าลงและรอรถคันต่อไปเพื่อขึ้นรถกลับบ้าน

7. ขึ้นรถประจำทางไปศูนย์การค้าไปร้านค้า ซื้อของ เดินรอบๆ 15 นาที จากนั้นกลับบ้าน

8. ขึ้นรถประจำทางไปศูนย์การค้าไปร้านค้า ในวันเสาร์ ไปซูเปอร์มาร์เก็ตและซื้อสินค้า 16 รายการจากนั้นกลับบ้าน

ซึ่งหากนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาทางกิจกรรมบำบัดอาจจะใช้ทั้งสองวิธีการร่วมกันโดยจะใช้เป็นการให้ผู้รับบริการมาพบกันเราซึ่งเป็นแบบ Face-to-face CBT ก่อน แล้วให้การรักษาผ่านกิจกรรมการ Relaxtation , EFT tapping , Body scan เป็นต้น ก่อนแล้วอาจแนะนำให้มีการใช้ internet-based CBT ในการเปิดดูวิธีการขึ้นตอนต่างๆที่เคยสอนหรือแนะนำไปแล้วในการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ที่บ้านนั้นเอง

เพิ่มเติม

ในผู้รับบริการที่มีอาการ Agoraphobia หรือการกลัวการเข้าชุมชน อาจจะมีการใช้ internet-based CBT โดยการให้พบเจอกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อที่จะช่วยปรับให้เข้ามีความมั่นใจและความพร้อมเพื่อที่จะเข้าชุมชนก่อนที่จะมาพบนักกิจกรรมบำบัด

หมายเลขบันทึก: 624848เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 01:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท