โยคะ มีส่วนช่วยในการจัดการความเครียดอย่างไรในผู้รับบริการ PTSD


Image result for ptsd

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล สึนามิ ดินโคลนถล่ม บ้านพัง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกโจรปล้น พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ฯลฯ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา

มีหลายคนประสบพบเจอกับเหตุการณ์ร้ายแรงอันไม่คาดฝัน แม้สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถลืมเหตุการณ์นั้นได้ และทำให้ภาพความน่ากลัวยังคงตามหลอกหลอนจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต บางคนถึงขั้นไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

จากการศึกษา Journal หัวข้อเรื่อง Effect of sensory-enhance yoga on symtoms of combat stress in deployed military personnel ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2012 ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าโยคะนั้นส่งผลต่อผู้ป่วยที่เป็น PTSDได้อย่างไร

ที่มางานวิจัย

เนื่องจากทหารในประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่ผ่านสงคราม มักจะมีแนวโน้ม ที่จะเป็นPost Traumatic Stress Disorder (PTSD) หรือ Depression และหากไม่ได้รับการรักษาจึงทำให้เกิดผลกระทบอื่นตามมาเช่น การติดสารเสพติด การใช้ความรุนแรง การหย่าร้าง ปัญหาเศรษฐกิจ และอาจจะฆ่าตัวตาย จึงมีหน่่วยงานที่พยายามหาแนวทางที่จะช่วยเหลือทหารเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โดยผู้ป่วยPTSD จะต้องการphysical experience เพื่อลดอารมณ์ทางลบ จึงเลือกนำโยคะซึ่งมีทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย และการกำหนดลมหายใจ

เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ แบบ randomized controlled trial (RCT) เพื่อศึกษาว่าการรักษาโดยใช้ sensory-enhanced hatha yoga จะช่วยลดความเครียดและอาการวิตกกังลในทหารที่เป็น Post Traumatic Stress Disorder ได้อย่างไร

ผู้เข้าร่วม เป็นบุคลาการทางทหารที่เคยผ่านสงครามประเทศอิรักโดยสมัครผ่านอีเมล์และใบสมัคร โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 70 คน แล้วนำมาสุ่มด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 35 คน ที่ให้การรักษาโดยใช้โยคะ กลุ่มควบคุม 35 คน ที่ไม่ให้การรักษาเกี่ยวกับโยคะ(ให้physical activity)

มีการประเมินผลก่อน 1 สัปดาห์และหลังให้การรักษาด้วยโปรแกรมนี้ เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบกัน โดยใช้เครื่องมือประเมิน

-Adolescent/Adult Sensory Profile(AASP)

-State–Trait Anxiety Inventory scales (STAT) เป็นself reportเพื่อวัดระดับanxietyของตนเอง

-แบบสอบถาม Quality of Life Survey เพื่อค้นหาoccupational performanceของตนเอง เช่นการนอนหลับ การมีสมาธิ

โปรแกรมการรักษา

1.กลุ่มทดลองจะต้องเข้าร่วมโปรแกรม สัปดาห์ละ7ครั้ง โดยทำ3วันติดต่อกันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 75 นาที จำนวน 3 สัปดาห์

2.กลุ่มทดลองจะได้รับการรักษาด้วยโปรแกรม sensory-enhance hatha yoga โดยใช้ sensory integrative and sensorimotor treatment approaches ร่วมด้วย เพื่อลดการทำงานของ Autonomic Nervous System ที่ผิดปกติ

3.การฝึกประกอบด้วย

3.1การรวมสมาธิเข้าสู้ศูนย์กลาง(initial centering)

3.2เทคนิค pranayama ส่งเสริมให้เกิดความสงบ

3.3โยคะแบบอาสนะ (asanas) ปรับสมดุลของระบบประสาท

3.4ทำสมาธิ (meditation) มีการใช้เสียงเพลงผ่อนคลายเพื่อลดภาวะการนึกถึงเสียงในอดีต เช่น เสียงปืน เสียงเฮลิคอปเตอร์

3.5ฝึกโยคะท่าจบ (savasana)

4.ส่งเสริมการรับความรู้สึกระหว่างการฝึก ได้แก่ด้าน

Proprioceptive input ผ่านการเคลื่อนไหวของลำตัวและรยางค์

deep touch pressureผ่านการสัมผัสที่มือและเท้า

slow rhythmical movement โดยการเคลื่อนไหวช้าๆ การหายใจลึกๆ ระหว่างทำโยคะ ทั้ง3ด้านที่กล่าวมาช่วยลด Symphathetic Nervous System

ผลการศึกษา

จากโปรแกรมการรักษาพบว่าสามารถลดอาการวิตกกังวลทั้งstate และ trait anxiety ได้อย่างมีนัยสำคัญ (จากแบบประเมิน State-Trait Anxiety Inventory Scale) และยับยั้งผลกระทบจากระบบการทำงานAutonomic Nervous Systemที่ผิดปกติ เกิดความคิดในทางบวกเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการกับรูปแบบความคิดทางลบ

ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต (จากแบบสอบถาม Quality of Life Survey) โดยช่วยลดอาการหงุดหงิด การหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ความเบื่อหน่าย การนอนหลับยากช่วยส่งเสริมความสงบทางใจ ความรู้สึกปลอดภัย การจัดการอารมณ์โกรธ


-สามารถนำไปปฏิบัติได้เอง โดยโยคะนั้นมีหลาประเภทเราสามารถเลือกนำโยคะที่เหมาะสมกับตัวเรามปรับใช้ได้

-ศึกษาในกลุ่มทหารในประเทศอเมริกาเพียงเท่านั้น

-มีการศึกษาโดยใช้เวลาไม่นาน อาจยังเห็นผลไม่ชัดเจน

การประยุกต์

ผู้บำบัดแนะนำวิธีการ ปรับอารมณ์ ลดระดับการตื่นตัวหรืออาการวิตกกังวล ในช่วงแรกโดยการฝึกการหายใจที่ถูกวิธี แนะนำเทคนิค Relaxation สอนวิธีการSensory enhance yoga ตามความเหมาะสมของผู้รับบริการ และให้คู่มือการฝึกอย่างสม่ำเสมอ

หมายเลขบันทึก: 624844เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท