การปรับปรุงการทำงานด้วยตัวเองของผู้ป่วยจิตเภทเฉียบพลัน(Acute Schizophrenia)ในช่วงต้นผ่านกิจกรรมบำบัด


ในวิชาการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางกิจกรรมบำบัด ดิฉันได้มีโอกาสได้หาวารสารเกี่ยวกับการรักษาโรคจิตเภท วารสารที่ดิฉันสนใจและได้ข้อมูลมา บทความนี้ชื่อImprovement of functional independence of patients with acute schizophrenia through early occupational therapy: a pilot quasi-experimental controlled study(http://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/026921...) เป็นการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าการให้กิจกรรมบำบัด Acute schizophrenia ช่วยimproves functional independence โดยผู้ป่วยที่ได้รับการวินิฉัยว่าเป็น acute schizophrenia ของโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2551 ถึง เดือนมีนาคม ปี2553 จำนวน46 คนจาก85คน ผู้เข้าร่วมถูกจัดสรรเป็นกลุ่มตามเดือนของการเข้ารับการรักษา แบ่งเป็น2กลุ่ม โดยให้การรักษาที่ต่างกันใน1เดือนแรก

1.Intervention group จะรักษาต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับเข้ามา

2.Control group รับเข้ามา1เดือน แล้วค่อยให้การรักษา(ยังไม่ได้รับการรักษาใน1เดือน)

จะวัดผลการรักษาโดยใช้ FIM (FIM total scores) และ the Brief Psychiatric Rating Scale(BPRS) ที่เข้ารับการรักษาที่หนึ่งเดือนและที่สามเดือนหลังจากเข้ารับการรักษา

E-OTAs คือ กิจกรรมการรักษาช่วงต้นสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจิตเภทระยะเฉียบพลัน

C-OT คือ กิจกรรมบำบัดธรรมดา และจิตเวชกลุ่มควบคุม

เวลาเริ่มต้น

ทันทีหลังจากการเข้ารับการรักษา

1เดือนหลังจากการเข้ารับการรักษา

ชนิด

one-on-one (patient and occupational therapist)

group

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมที่มีโครงสร้างเรียบง่าย,การออกกำลังกายเรียบง่าย

กิจกรรมบำบัดพื้นฐาน

การสื่อสาร

mainly non-verbal

verbal and non-verbal

สถานที่

วอร์ดผู้ป่วยใน (ข้างเตียง,ห้องสันทนาการ) ห้องพัก OT

วอร์ดผู้ป่วยใน(ห้องสันทนาการ), ห้องพัก OT

ความถี่

2–3 times a week

2–5 times a week

ช่วงเวลาที่ใช้ในแต่ละครั้ง

10–30 min

30–120 min

จากรูป แสดงให้เห็นถึงการรักษาและการประเมิน โดยในกลุ่ม Intervention group จะได้รับการบำบัดแบบ E-OTAs นาน 1 เดือน การรักษาแบบ C-OT นาน 3เดือน และ Control group ได้รับการรักษาแบบ C-OT นาน3 เดือน


ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ 394 คน เข้ารับการรักษาไปที่โรงพยาบาลได้รับการพิจารณา 85 คน มีสิทธิ์ได้รับการศึกษา ผู้ป่วยยินยอม 46คน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องของ เพศ อายุ การเริ่มมีอาการ ระยะเวลาการเจ็บป่วยหรือการใช้ยา ระหว่างทำการบำบัดมีผู้ป่วย Drop outs 5คน ถอนตัว 2คน
ทำให้มีกลุ่ม Intervention group 22 คน ,Control group 17 คน


สรุปผล จากการวัดผลโดยใช้ FIM และBPRS

พบว่ามีคะแนน FIM ทั้ง2กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ยกเว้น FIM motor domain scores ของสองกลุ่มที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
คะแนนของ BPRS (แบบประเมินอาการทางจิต) ทั้ง2กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

การวิจารณ์

  • การศึกษาได้ดำเนินการที่โรงพยาบาลเดียว
  • ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก
  • ไม่มีการติดตามผลหลังจากให้การรักษา

คำแนะนำ

  • การให้กิจกรรมบำบัด Acute schizophrenia ตั้งแต่แรกเริ่มจะช่วย
    1.Improve communication and social cognition
    2. Improve functional independence
    การรักษาในควรเป็นแบบ one-on-one และ non-verbalนอกจากนี้ควรมีการประเมินร่วมกับสหวิชาชีพอื่นก่อนให้การรักษาทางกิจกรรบำบัด

บทความนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทของคนไทยได้เนื่องจากบทความที่ศึกษาเป็นการศึกษาในบริบทคนเอเชีย และมีการรักษาโดยใช้โปรแกรมทางกิจกรรมบำบัดซึ่งเราสามารถพัฒนาโปรแกรมให้มีความหลายหลายของการใช้กิจกรรมการรักษาเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

นางสาว กฤติยาภรณ์ ใจกระเสน

หมายเลขบันทึก: 624837เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท