โปรแกรมช่วยฟื้นฟูความรู้คิด (cognitive) ในผู้ป่วย Alcohol use disorder ที่มีภาวะบกพร่องทางความรู้คิด (neurocognitive disorder)


จากรายวิชา PTOT 334 การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางกิจกรรมบำบัด ซึ่งในสัปดาห์นี้เป็นการค้นหาบทความ ในด้านฝ่ายจิตสังคม ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายในหัวข้อโรค Substance abuse

ลักษณะของโรค คือ Substance abuse หมายถึง การที่บุคลนำสารหรือ ยาบางชนิด มาใช้อย่างไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสารหรือยานั้น ๆ เช่น นำยาในกลุ่ม amphetamine มารับประทานเป็นยาลดความอ้วน หรือนำยาคุมกำเนิดมารับประทานเพื่อให้ตนเองมีลักษณะทางเพศบางอย่าง

เกณฑ์การวินิจฉัยสำหรับ substance abuse

รูปแบบของการใช้สารที่มีปัญหา ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือผลเสียต่อตัวเอง ซึ่งประกอบไปด้วยข้อใดข้อหนึ่งอย่างน้อย 1 ข้อ ดังต่อไปนี้ โดยเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 12 เดือน

1. มีการใช้สารนั้นอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้เต็มที่ เช่น หน้าที่การงาน การเรียน หรืองานบ้าน เสียไป

2. มีการใช้สารอยู่เรื่อย ๆ ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่น เมาแล้วขับรถ

3. มีการใช้สารอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในด้านสังคม หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การทะเลาะเบาะแว้งระหว่างสามีภรรยาที่เกิดจากผลของสารนั้น อาการต่าง ๆ นั้นไม่ครบตามเกณฑ์วินิจฉัย substance dependence ของสารแต่ละประเภท

มีคำจำกัดความที่รวมความหมายทั้ง substance dependence และ substance abuse คือ Substance Use Disorders

ข้าพเจ้าจึงได้ค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ใน google scholar ใช้ keyword ว่า Substance Use cognitive impairment intervention occupational therapy

จึงได้เจอบทความนี้

Remediation therapy in patients with alcohol use disorders and neurocognitive disorders: A Pilot Study

(เผยแพร่ปี : 2016)

จุดมุ่งหมายของการศึกษา: การบำบัดฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจ (cognitive remediation therapy) ในผู้ป่วยที่มีการพึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความบกพร่องทางความรู้คิด และ มีปัญหา retrograde and anterograde memory, visuospatial processing, cognitive abilities and attention

งานวิจัยมีผู้เข้าร่วม16 คน เป็นผู้ป่วยที่พึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(อายุเฉลี่ย 59 ปี, 63% เพศชาย) มีพฤติกรรมพึ่งพาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นานกว่า 6 เดือน การรักษาแบ่งเป็น sessions ละ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ (รวมทั้งหมด 24 sessions) ซึ่งในระหว่างการฝึกสำหรับการเพิ่มศักยภาพการทำงาน, สังคมและความรู้ความเข้าใจ ได้สำเร็จ ผู้ป่วยจะรับการประเมินในตอนท้ายของการศึกษาและติดตามผล 6 เดือนต่อมาโดยใช้ Mini-Mental State Examination (MMSE) และ the Memory Alteration Test (M@T)

เกณฑ์สำหรับการคัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัย มีดังนี้

- Alcohol use disorder (DSM-5) มีอาการพึ่งพาสุรา อย่างน้อย 6 เดือน

- M@T ได้คะแนนน้อยกว่า 43 คะแนน

- MMSE ได้คะแนนน้อยกว่า 28 คะแนน

โดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 8-9 คน โดยมีกิจกรรม Mental stimulation resources and exercises เพื่อเพิ่ม Cognitive และ ความสามารถทางด้านสังคม การเขียน และ การพูด

โปรแกรมการรักษา

1. ความสนใจ (Attention)

ฝึกฝนผ่านการรู้ visuospatial ผ่านการฝึกฝน ค้นหาคำ และความแตกต่างระหว่างรูปภาพ

2. ความจำ (Memory): ความแตกต่างของปัญหาความจำในแต่ละประเภท

A. Semantic memory (การจำความหมาย): การจดจำความหมายของข้อมูล โดยผ่านการฝึกแบบกลุ่ม ด้วยการให้ความรู้ทั่วไป แบบไม่เฉพาะเจาะจงเหตุการณ์ เช่น วันหยุดและการเฉลิมฉลองต่างๆ

B. Episodic memory (การจำเหตุการณ์): ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติของผู้เข้าร่วม แล้วถามคำถามเกี่ยวกับแต่ละเหตุการณ์ในชีวิตของผู้เข้าร่วม เช่น "คุณทำอะไรเมื่อวานนี้"

"เมื่อเช้าคุณรับประทานอะไร"

"เสื้อที่คุณสวมใส่เมื่อวานนี้สีอะไร?"

C. Autobiographical memory (การจำอัตชีวประวัติ): ความจำเกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิต ที่ต่างกันในแต่ละคน ผ่านวัตถุต่างๆ เช่น รูปถ่ายส่วนตัว รูปครอบครัว หรือวัตถุต่างๆ

D. Immediate memory (ความจำทันที): การรับรู้ของข้อมูลที่ได้รับแบบทันทีและระลึกเรียกคืน ความจำกลับมาได้ โดยการทวนคำซ้ำและอธิบายรูปภาพที่ให้ก่อนหน้านี้

3.ภาษา (Language)

A. Automatic language: ขึ้นอยู่กับการสร้าง automatic verbal ผ่านการฝึกกิจกรรมเพื่อระลึกชื่อเดือน,ชุดตัวเลข และคำพูดที่ใช้บ่อยๆ หรือ หรือเริ่มต้นพูดด้วยสุภาษิต และให้ผู้เข้าร่วมมีการสร้างประโยคและพยายามอธิบายความหมาย

B. Recall: การประเมินการทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการพูด เช่น ในการ เรียกชื่อคน,ส่วนประกอบ (สี, สัตว์, ชิ้นส่วนของเสื้อผ้า, ชื่อเมือง)

C. Spontaneous language: ผ่านการฝึกอธิบาย รูปภาพ, ภาพวาด, สถานการณ์และ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

D. Denomination: ฝึกคำพูดบนพื้นฐาน โดยให้ชื่อวัตถุและส่วนประกอบของวัตถุ

4. Reading and writing

การฝึกอ่านและการฝึกเขียนที่ถูกต้อง โดยใช้บทความในหนังสือพิมพ์หนังสือและข้อความสั้น ๆ

5. Executive functions

ฝึกฝนผ่านการฝึกแยก ความเหมือน และความแตกต่าง ชุดตรรกะศาสตร์ และคณิตศาสตร์ การประมวลผลการฝึก โดยใช้ช่วงความสนใจและหน่วยความจำ อื่น ๆ เช่น ภาษา และการจัดการตนเอง ถูกสลับด้วยการรักษาและฟื้นฟูในช่วงหนึ่งชั่วโมง

แบบประเมิน

แบบประเมิน MMSE เป็นแบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมหรือผู้้ที่มีปัญหาเรื่องความจำเบื้องต้น

ประกอบด้วย 5 ส่วน 11 ข้อคำถาม ทดสอบ 6 ด้าน คือ orientation, registration, attention, calculation, recall และ language ใช้เวลาประเมินประมาณ 5-10 นาที มีคะแนนเต็ม 30 คะแนน ผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่า 27 คะแนน อาจจะมีปัญหาด้าน Cognitive

แบบประเมิน T@M เป็น Cognitive screening test ที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง ใช้กับผู้ที่มีระดับ Mild Cognitive impairment, amnesia, mild Alzheimer disease หรือบุคคลทั่วไป เป็นแบบประเมินที่สั้นและง่ายต่อการรวบรวมคะแนน โดยมีการประเมินความทรงจำ 5 ชนิด ได้แก่ immediate memory, temporal orientation memory, semantic remote memory, free recall memory, and recall memory โดยใช้เวลาประเมินประมาณ 5 – 10 นาที มีคะแนนเต็ม 50 คะแนน ผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่า 43 คะแนน จะมีปัญหาด้าน Cognitive deterioration

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลของผู้เข้าร่วมวิจัย


ตารางที่ 2 แสดงเกี่ยวกับผลคะแนนแบบประเมิน MMSE และ T@M ของผู้ที่ได้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งหลังการเข้าร่วมวิจัยมีผลของคะแนนทั้ง MMSE และ T@M มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อติดตามผล 6 เดือน กลับมีผลคะแนนลดลง แต่ก็มากกว่าค่าเดิม ก่อนได้รับโปรแกรม


การวิจารณ์ผลงาน

-เป็นงานวิจัยที่เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัย

-ไม่มีการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

-ไม่ได้ประเมินทาง neurocognitive เพื่อแจกแจงปัญหาว่าเกิดจาก Alcohol use disorder เพียงอย่างเดียว

หมายเลขบันทึก: 624838เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท