กิจกรรมบำบัดกับPersonality disorder


การนำเสนอ Evidence Base practice ฝ่ายผู้ป่วยทางจิตเวช ดิฉันได้รับหมอบหมายในหัวข้อการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดใน Avoidant Personality Disorder

จากการสืบค้นข้อมูล พบการเปรียบเทียบการบำบัดรักษาระหว่าง Group schema therapy (GST) กับ Group Cognitive Behavioral therapy (GCBT) ใน Social anxiety disorder with comorbid Avoidant personality disorder โดย

Group Schema therapy (GST) วัตถุประสงค์ของวิธีการนี้ ส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหา, รักษาการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก, ส่งเสริมให้เกิดความยืดหยุ่นในการปรับตัว รวมทั้ง การปรับอารมณ์และการสร้างสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น

Group Cognitive behavioral therapy (GCBT) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงปัญหาของตนเอง ผลที่เกิดขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาของตนเอง พิจารณาการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่มีผลทางด้านร่างกาย พฤติกรรมและการรู้คิด ดูว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น เป็นการทำให้ตนเองรู้สึกปลอดภัยอย่างไร โดยให้อยู่ในสถานการณ์ที่รู้สึกกลัว แต่เป็นสถานการณ์ทดลอง หรือการแสดงบทบาทสมมติ

พบว่าทั้งสองวิธีการนี้ให้ผลที่ใกล้เคียงกัน คือ ลดอาการวิตกกังวลการเข้าสังคมใน Avoidant personality disorder อย่างเห็นได้ชัด แต่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่าวิธีใดได้ผลดีกว่ากัน

จากการนำเสนอ การสืบค้นข้อมูล และได้อภิปรายร่วมกับอาจารย์และเพื่อนในชั้นเรียน ทำให้ทราบว่า งานวิจัยทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality Disorder) ยังไม่ค่อยมีการวิจัยอย่างแพร่หลาย ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักจะเกิดร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆ และควรจะได้รับการบำบัดรักษาตั้งแต่ในวัยเด็ก แล้วนำมาสู่แนวความคิดเพื่อเป็นแนวทางให้เกิดการบำบัดรักษาทางกิจกรรม ด้วยการให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้แสดงพฤติกรรมออกมา ให้เกิดการรับรู้ตัวเอง เกิดความยืดหยุ่นในการปรับตัว การแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ส่งเสริมการทำกิจกรรมยามว่าง การใช้ Relaxation technique ต่างๆ หรือการทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง



ข้อมูลอ้างอิง

Astrid Balje, Anja Greeven, Anne van Giezen, Kees Korrelboom, Arnoud Arntz and Philip Spinhoven. Group schema therapy versus group cognitive behavioral therapy for social anxiety disorder with comorbid avoidant personality disorder (Published: Oct 8, 2016)

PAUL M.G. EMMELKAMP, ANK BENNER, ANTOINETTE KUIPERS, PAUL M.G. EMMELKAMP, ANK BENNER, ANTOINETTE KUIPERS, GUUS A. FEIERTAG, HARRIE C. KOSTER and FRANSKE J. GUUS A. FEIERTAG, HARRIE C. KOSTER and FRANSKE J. VAN VAN APELDOORN. Comparison of brief dynamic and cognitive-behavioral therapies in avoidant personality disorder (2006)

หมายเลขบันทึก: 624845เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 01:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 01:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท