ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ถูกตรึงไม้กางเขน


ในโลกนี้มีศาสนาที่มีผุ้นับถือจำนวนมากอยู่สามศาสนาที่น่าสนใจคือ พุทธ คริสต์ และอิสลาม ซึ่งศาสนาเหล่านี้เป็นศาสนายุคใหม่ทั้งนั้น อายุราวสองพันปี ไม่มากไม่น้อยกว่ากันเท่าไหร่ ในขณะที่ประวัติศาสตร์มนุษยชาติมีมายาวนานกว่านั้นมาก ศาสนาเก่ากว่านั้นได้สูญหายหรือมีผู้นับถือน้อยลงแล้ว ศาสนาโบราณที่ยังถือว่ามีผู้นับถือมากพอประมาณในปัจจุบันนี้ก็คงได้แก่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอยู่ศาสนาเดียวเท่านั้นเอง

ประวัติของศาสนาคริสต์และพุทธเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีเรื่องที่น่าสนใจ พระพุทธเจ้าตรัสรู้และเผยแพร่คำสอนเป็นเวลาสี่สิบกว่าปีในชมพูทวีปในยุคที่ศาสนาฮินดูเป็นที่นับถือของคนทั่วไปในขณะนั้น ไม่มีใครจับพระพุทธเจ้ามาลงโทษที่มีคำสอนบิดเบือนไปจากความเชื่อของผู้คนโดยส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าสอนสิ่งที่แตกต่างจากความเชื่อกระแสหลักในขณะนั้นอย่างมาก เพราะพระองค์ปฎิเสธการมีอยู่ของเทพเทวดาทั้งหลาย ปฎิเสธแบบรุนแรงไม่เหลือเชื้อความเชื่อเลยด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไรพระพุทธเจ้า ท่านยังสามารถเผยแพร่ศาสนาได้จนท่านปรินิพพานเพราะอาการเสียน้ำในร่างกายมากจากท้องเสียเนื่องจากฉันอาหารที่บูดเน่า เรียกได้ว่าแม้กระทั่งการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ยังทำให้พวกเราได้เห็นว่าอภินิหารไม่มีจริง

ที่จริงแล้วในชมพูทวีปตั้งแต่สมัยนั้นถึงสมัยปัจจุบันนี้ ความเชื่อทางศาสนามีหลากหลายมาก เรียกได้ว่าใครก็สามารถตั้งตัวเป็นศาสดาก็ได้ สิ่งที่เรียกว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่จริงแล้วมีความแตกต่างในตัวเองสูงมาก ศาสนาพุทธที่จริงแล้วก็สามารถถือได้ว่าเป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่มีความแหวกแนวด้วยการปฎิเสธพระผู้เป็นเจ้าอย่างสิ้นเชิง แต่ก็รับวิถีความเชื่อในการปฎิบัติและศีลธรรมจริยธรรมหลายอย่างมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ส่วนศาสนาคริสต์นั้นต่างกัน พระเยซูมีโอกาสเผยแพร่ศาสนาเพียงสองสามปีเท่านั้นก็ถูกตรึงไม้กางเขนให้เสียชีวิต เหตุผลที่พระเยซูถูกตรึงกางเขนนั้นเพราะกษัตริย์โรมันในสมัยนั้น (Pilate) เห็นว่าพระเยซูจะเป็นอันตรายต่อกษัตริย์เพราะพระเยซูเริ่มมีคนเชื่อและติดตามมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะกลายเป็นผู้นำชาวยิวมาต่อต้านการปกครองของโรมันได้ ดังนั้นจึงต้องตัดไฟแต่ต้นล้มด้วยการประหารพระเยซูทิ้งเสีย

คำสอนของพระเยซูเป็นการปรับปรุงศาสนายูดาย (Judaism) ขึ้นมาใหม่โดยเลือกประเด็นของความรักและเมตตาเป็นหัวใจของคำสอน เรียกได้ว่าหักมุมจากรูปแบบศาสนายูดายเดิมออกมามากทีเดียว จากศาสนาที่ยึดถือเรื่องราวความเชื่อและแนวปฎิบัติจากเทวดาและพระเจ้า กลายเป็นศาสนาของการใช้ความคิดที่จะมีความรักและเมตตาในการดูแลเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เลื่อมใสจำนวนมากอย่างรวดเร็วจนโรมันหวาดกลัว

น่าเสียดายที่พระเยซูมีเวลาเผยแพร่ศาสนาน้อยเกินไป ถ้าท่านได้อยู่เผยแพร่ศาสนาสักสี่สิบปีเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า เราก็อาจจะได้คำสอนดีๆ จากท่านถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังอีกมากทีเดียว

ประวัติชีวิตของพระพุทธเจ้าและพระเยซูสะท้อนถึงรูปแบบของการปกครองที่มีต่อความหลากหลายทางศาสนา ในพื้นที่ที่ผู้ปกครองไม่กลัวผู้นำทางศาสนาและปรับตัวอยู่ด้วยกันได้นั้น ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองและไม่ได้มีพิษมีภัยแก่ผู้ปกครอง เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์และไปล้มล้างกษัตริย์องค์ใดในสมัยนั้นเลย

ในขณะเดียวกันพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขนไปแล้วกลับไม่ตาย ยังอยู่ในความเชื่อความทรงจำของผู้คนมาหลายพันปีและน่าจะอยู่ต่อไปอีกนานทีเดียว กษัตริย์พิเลตของโรมันต่างหากที่กลายเป็นผู้ร้ายในประวัติศาสตร์

ที่ผมยกมานี้เป็นแค่ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ที่จริงแล้วมีเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้มากมายทีเดียวทั่วโลก ถ้าเรารู้จักศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่าผู้ปกครองที่พยายามล้มล้างความเชื่อทางศาสนานั้นไม่เคยเอาชนะศาสนาได้เลย โดยส่วนใหญ่จุดจบของผู้มีอำนาจปกครองจะเกิดจากความพยายามไปปกครองความเชื่อและศาสนาทั้งสิ้น

ผู้มีอำนาจที่ชาญฉลาดจึงควรเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับความเชื่อของผู้คนที่ตัวเองต้องการปกครอง น่าเศร้าที่ผู้มีอำนาจจำนวนไม่น้อยไม่เรียนรู้จากประวัติศาสตร์จึงไปสร้างกรรมที่มีต่อผู้ที่ตนต้องการปกครองและย้อนกลับเข้ามาสู่ตัวเองในที่สุด เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันทุกวันนี้

ผมไม่ได้นับถือธรรมกาย ที่จริงแล้วผมไม่รู้ในรายละเอียดด้วยซ้ำว่าธรรมกายมีคำสอนอะไรบ้าง เพราะคำสอนเท่าที่ผมพอรู้ไม่ได้ตรงกับจริตเพียงพอที่จะทำให้ผมสนใจศึกษาเพิ่มเติมต่อไป บันทึกนี้ต้องการนำเสนอมุมมองจากประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับผู้นำทางศาสนาเท่านั้นครับ

หมายเลขบันทึก: 624762เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

"ถ้าเรารู้จักศึกษาประวัติศาสตร์จะพบว่าผู้ปกครองที่พยายามล้มล้างความเชื่อทางศาสนานั้นไม่เคยเอาชนะศาสนาได้เลย...."

ธรรมกายเป็นศาสนาไหมครับในบทความนี้........

ธรรมกายเป็นศาสนาครับ คำสอนของเขาอาจจะไม่ใช่ศาสนาพุทธอย่างที่นับถือในกระแสหลักของประเทศไทย แต่ภายใต้คำจำกัดความของศาสนาเขาเป็นศาสนาแน่นอนครับ

เวลานึกถึงธรรมกายผมจะนึกถึงนิกายมอร์มอน (Mormon) ของศาสนาคริสต์ในอเมริกา ทั้งสองกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกันมากครับ ที่จริงแล้วธรรมกายเอาวิธีการต่างๆ มาจากมอร์มอนเยอะมาก ในด้านการบริหารจัดการนั้นเหมือนกันเกือบทุกอย่างครับ

1) Ancient India was a land of many 'belirfs' (religions) - there were differences even among hindu believers. Multiculturalism was real and acceptable in the East in the past.

2) "The Buddha" a) was a member of a respectable" (hidi) "class"; b) his message was normalising differences between (hindi) classes - in quite logical and peaceful way - so motivated change -in harmony-; c) by shaving, dressing and living in "basic" sufficiency, the Buddha showed no "threat" to "power" of "rulers" (until after His death, when later Buddhist monks became "deviated" from the prescribed "vinaya" (much like Dhammakāya of today) that ruling power took actions and as the result "Buddhism was "purged" from India, then; d) the Buddha also promoted "logical thinking", fact verification, learning,... for "happiness" (by dealing with sources of "dukkha" - taṅhā) -- in modern term, He was teaching a modern scientific regime (for ancient India) and (ancient) intellectuals saw and understood his message. It was "hip" for the time. ... there were many more things that "clicked in" in ancient societies ...

3) let us return to "studying - critically" the teaching of the Buddha and restore the Knowledge (Buddhist/whatever the name) society.

ขอบคุณคุณ Sr ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมครับ

น่าสนใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท