Paranoid Personality Disorder - หนึ่งในบุคลิกภาพผิดปกติ


Paranoid personality disorder คือ บุคคลที่มีความระแวดระวังตนเองอยู่เสมอ

มักคิดว่าคนอื่นต้องการทำร้าย ข่มขู่ตนเอง หรือบางครั้งมีความคิดว่าตนเองกำลังถูกตักตวงผลประโยชน์

บ่อยครั้งจะหมกมุ่นอยู่ในความคิดสงสัย ระแวงในเรื่องความซื่อสัตย์หรือความน่าเชื่อถือไว้วางใจของบุคคลอื่น

บุคคลประเภทนี้มักจะตึงเครียด ไม่ผ่อนคลาย และคอยสอดส่องสิ่งแวดล้อม ไม่มีอารมณ์ขัน

และมีการกล่าวโทษผู้อื่นอยู่เสมอ


จากการศึกษาบทความนั้น แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่เกิดจากความคิดภายในตนเอง ซึ่งเป็นความคิดที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมนี้อยู่เสมอ เช่น คิดว่าคนที่เข้ามาพูดคุยกับตนเองต้องการผลประโยชน์จากตนอยู่ตลอดเวลา หรือแม้กระทั่คิดว่ารถคันอื่นที่ขับอยู่ในเส้นทางเดียวกัน คอยขับรถตามตนเอง

โดยวิธีการรักษาในบทความนั้น คือ cognitive analytic therapy

cognitive analytic therapy คือ การรักษาโดยการวิเคราะห์ถึงความคิดและความรู้ความเข้าใจ ของบุคคลนั้น

วิธีการสำคัญในการรักษา มีดังนี้

1. การให้เขียนเรื่องของตนเอง (Narrative reformulation) เกี่ยวกับประวัติ ครอบครัว การดำเนินชีวิต ความคิดที่มักเกิดขึ้นอยู่เสมอ และให้คิดทบทวนว่าความคิดเหล่านั้นส่งผลอย่างไรต่อพฤติกรรมบ้าง

2. ารนำข้อมูลที่ได้มาเขียนแผนภาพ (Diagram) เพื่อเป็นการให้เห็นลำดับขั้นตอนทางความคิดที่ชัดเจนขึ้น และช่วยให้สามารถรับรู้ตนเองได้ดีขึ้นว่าเมื่อเกิดความคิดนี้แล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป และจะส่งผลอย่างไรต่อ พฤติกรรมหรือบทบาทของตนเอง (Reciprocal role) ยกตัวอย่างเช่น

คิดว่ามีคนคอยตาม ---> เกิดความหวาดระแวง -----> มีพฤติกรรมไม่ไว้วางใจบุคคลอื่น

ซึ่งในความคิดเดียวของตนเองนั้น อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมหรือบทบาทที่หลากหลายได้

3. การตรวจสอบตนเอง (self-monitoring ) เป็นการตรวจสอบตนเองว่ารู้หรือไม่ว่ากำลังคิดอะไรอยู่ และความคิด นั้นอยู่ในลำดับขั้นใดในแผนภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและตระหนักถึงความคิดและพฤติกรรมของตนเอง และเพื่อเป็นการดึงความคิดของตนเองกลับเข้าสู่ปัจจุบัน

4. การสะท้อนความคิดของตนเอง (Reflection) เป็นการใช้แผนภาพที่สร้างขึ้นเพื่อสะท้อนตนเองว่ากำลังอยู่ในขั้นใด และจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปตามแผนภาพ หากความคิดนั้น ยังไม่สามารถยับยั้งได้ แผนภาพนี้จึงเปรียบเสมือนการเตือนตนเอง เกี่ยวกับความคิดที่เกิดขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้หาทางออกจากความคิดนั้นด้วย เช่น

คิดว่ามีคนคอยตาม ---> หยุดความคิดนั้น ---> ลดพฤติกรรมไม่ไว้วางใจบุคคลอื่นและหลีกหนีจากสังคม

5. การส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมและบทบาทใหม่ ( New reciprocal role ) ทำได้โดยเริ่มจากการสร้างความไว้วางใจ จากการเริ่มเปิดเผยตนเองและแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในการสร้างปฏิสัมพันธ์ จากนั้นเป็นการให้ตระหนักรู้ถึงความคิดและบทบาทของตนเองที่เกิดขึ้น การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม

6. การเขียนบทความเพื่อบอกลา (goodbye letter) เป็นการสะท้อนถึงพฤติกรรมและความพึงพอใจที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษา เพื่อเป็นการดูการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม


สรุปผลของการรักษา การรักษาวิธีนี้จะทำให้ตนเองได้ตระหนักรู้และยอมรับในความคิดของตนเองมากขึ้นและจะช่วยให้ตนเองสามารถควบคุมความคิดของตนเองได้ ส่งผลให้มีพฤติกรรมและบทบาทที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข



หมายเลขบันทึก: 624753เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2017 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2017 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท