เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ “โรคภูมิแพ้”


1. โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด มักจะมีอาการ เป็นๆ หายๆ

2. มีสิ่งที่สามารถกระตุ้น ให้ผู้ป่วยเกิดอาการขึ้นมาได้หลายประเภท ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ความเครียด, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, อารมณ์เศร้า, วิตก, กังวล, เสียใจ , ของฉุน, ฝุ่น, ควัน, อากาศที่เปลี่ยนแปลง (จึงจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยง โดยสังเกตว่า อยู่ในสิ่งแวดล้อมใด, สัมผัสอะไร หรือรับประทานอะไร แล้วอาการมากขึ้น ให้หลีกเลี่ยง) และควรจัดบ้านและจัดห้องนอน ตามคำแนะนำของแพทย์

การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือ หวัด จึงควรป้องกันไม่ให้เป็น โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เช่น เครียด, นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, การสัมผัสอากาศที่เย็นมากเกินไป เช่น ขณะนอน เปิดแอร์หรือพัดลมเป่าจ่อ ไม่ได้ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเพียงพอ การดื่มหรืออาบน้ำเย็น ตากฝน หรือสัมผัสอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากร้อนเป็นเย็น จากเย็นเป็นร้อน หรือมีคนรอบข้างที่ไม่สบายคอยแพร่เชื้อให้

3. ควรออกกำลังกาย แบบแอโรบิก อย่างสม่ำเสมอ [การออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้นต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง, เดินเร็ว, ขึ้นลงบันได, ว่ายน้ำ, ขี่จักรยานฝืด (แบบปรับน้ำหนักได้เช่น ใน FITNESS), เตะฟุตบอล, เล่นเทนนิส, แบดมินตัน หรือบาสเกตบอล] เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ความไวของเยื่อบุจมูกและ/หรือ หลอดลมลดลง ทำให้ความจำเป็นในการใช้ยา ลดน้อยลง และทำให้มีภูมิต้านทานต่อหวัด ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการภูมิแพ้ แย่ลง โดยจะเป็นหวัดยาก หรือเป็นแล้วหายง่าย

4.โรคนี้แพทย์ไม่ได้ให้ผู้ป่วยพ่นยา, สูดยา หรือรับประทานยาไปตลอดชีวิต เมื่อใดที่ผู้ป่วยสามารถลดเหตุได้ (ดูข้อ 2 และ 3) ก็สามารถลดยาได้ โดยในระยะแรก แพทย์จะเป็นผู้ปรับยาให้

5.เนื่องจากโรคภูมิแพ้ นั้นทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจ, ผิวหนัง, เยื่อบุตา, ทางเดินอาหาร ไวผิดปกติ เมื่อมีสิ่งกระตุ้น (ดูข้อ 2) จะทำให้มีอาการมากขึ้นได้ ซึ่งมักจะมีอาการได้ง่าย และหายยาก ดังนั้น เมื่อมีอาการ แนะนำให้เพิ่มการใช้ยามากขึ้น เพื่อให้หายจากอาการดังกล่าวเร็วที่สุด (ตัดไฟแต่ต้นลม) เช่น

- เมื่อมีอาการทางตา อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ หยอดยาหยอดตาแก้แพ้

- เมื่อมีอาการทางจมูก อาจล้างจมูก, อบไอน้ำเดือด, พ่นยา และ /หรือ รับประทานยาแก้แพ้

- เมื่อมีอาการทางผิวหนัง อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ ทายาแก้คัน

- เมื่อมีอาการทางหลอดลม อาจสูดยา หรือพ่นยา เข้าหลอดลมให้มากขึ้นและ /หรือ รับประทานยาขยายหลอดลม หรือยาแก้ไอ

- เมื่อมีอาการทางเดินอาหาร อาจรับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ ยาแก้คลื่นไส้/ อาเจียน หรือยาแก้ท้องเสีย

เมื่ออาการดังกล่าวดีขึ้น ก็ค่อยๆลดยาดังกล่าวลงเอง หรือลดลงเท่ากับที่แพทย์แนะนำ (เมื่อมีอาการมาก เป็นมาก ก็ให้ใช้ยามาก เมื่อมีอาการน้อย เป็นน้อยลง ก็พิจารณาลดยาลง)

นายปรัชศร เกตตะพันธ์ ม.4/3 เลขที่ 6

คำสำคัญ (Tags): #pprep
หมายเลขบันทึก: 624094เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2017 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2017 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท