EOL in Learning Arabic


A relationship between Knowledge, Maturity, Gene, the Creation of Adam and Hidayah (guidance)

ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้, วุฒิภาวะ, ยีน, การสร้างนบีอดัม (อะลัยฮิสลาม) และฮิดายะฮฺ

#Abstract

‎وَعَلَّمَ آدَمَ الْأَسْمَاءَ كُلَّهَا ثُمَّ عَرَضَهُمْ عَلَى الْمَلَائِكَةِ فَقَالَ أَنْبِئُونِي بِأَسْمَاءِ هَٰؤُلَاءِ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ

และพระองค์ได้ทรงสอนบรรดา #นามของทั้งปวง

ให้แก่อาดัม ภายหลังได้ทรงแสดงสิ่งเหล่านั้นแก่มะลาอิกะฮฺ แล้วตรัสว่า จงบอกบรรดาชื่อของสิ่งเหล่านั้นแก่ข้า หากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง

(2:31)

‎وَمَا خَلَقْتُ الْجِنَّ وَالْإِنْسَ إِلَّا لِيَعْبُدُونِ

และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพ #ภักดี ต่อข้า

(51:56)

#Introduction

ไวยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ การตีความ การเรียงคำ ฯลฯ

ภาษาอาหรับ(ไวยากรณ์)วางอยู่บนระบบคิดทางภาษาทั้ง 2 ด้าน ที่สัมพันธ์กัน โดยที่ด้านหนึ่งคือ

1) "การสร้างคำ" (ศ็อรฟฺ) เพื่อจะสร้างคำหนึ่งขึ้นมาจากระบบรากศัพท์ เทียบได้กับ Static Level

2) "ความสัมพันธ์ของคำ" (นะฮวฺ) คือการศึกษาวิธีการอ่านคำแต่ละคำเมื่อมันไปมีความสัมพันธ์กับคำอื่นๆ เทียบได้กับ Dynamic Level

การศึกษาภาษาอาหรับจึงช่วยเสริมสร้างทักษะระบบการคิดให้กับผู้เรียนและผู้ใช้ภาษาทั้งสองด้าน โดยที่ "การสร้างคำ" นั้นจะช่วยทักษะ "การคิดแบบแยกส่วน" และ "ความสัมพันธ์ของคำ" จะช่วยทักษะ "การคิดแบบองค์รวม" ให้กับผู้เรียนและผู้ใช้ภาษาอาหรับได้มีโอกาสฝึกฝนการใช้สมองทั้งสองด้านอยู่เสมอ

#Terminology

‎الْأَسْمَاءَ

#นามของทั้งปวง ความเป็น terminology ที่สามารถสื่อลึกถึงรากคำแต่ละคำที่บรรจุในความรู้หนึ่งๆ

‎اسم

(อิซิม) คำนาม ไม่ว่าจะมาจากรากคำ

wāw sīn mīm (و س م)

หรือ

sīn mīm wāw (س م و)

ต่างก็ให้ความเข้าใจถึง การจำกัด การเจาะจง การให้เห็นชัด การให้มีความหมาย คำอธิบาย ที่ไม่ขึ้นกับเวลา (timeless)

‎فِعْل

กริยา การกระทำ การปฏิบัติ การปรนนิบัติ ผ่านช่วงเวลาต่างๆ (ขึ้นกับเวลา-tense & time)

#Body

(อิซิม) ความรู้ไม่ขึ้นกับเวลา แต่เราต้องให้เวลา(พยายาม - tense - ฟิอิล) ในการแสวงหามัน (มิติของเวลา)...

“พวกท่านทั้งหลายจงแสวงหาความรู้ตั้งแต่ (อยู่ใน) เปลจนถึงหลุมฝังศพ” [ คำนักปราชญ์ ]

หรือ "ไม่มีใครแก่เกินเรียน" ในสำนวนไทย

การรับรู้ การเรียนรู้ การทำความเข้าใจ อยู่ภายใต้การงานของเรา/ความพยายาม (فِعْل ) ที่เราต้องทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำเรื่อยๆ ทำอยู่อยู่ทุกวัน เพื่อให้ #ได้รับ มาซึ่งความเข้าใจ

#Result

เราจะพบว่า จะมีความเป็น Pattern แฝงอยู่ในข้อมูลชุดนี้ ซึ่งก็คือ

Pattern ที่หนึ่ง

‎اسم (#อิซิม) #Static #ศ็อรฟฺ #การคิดแบบแยส่วน

Pattern ที่สอง

‎فِعْل (#ฟิอลฺ) #Dynamic #นะฮวฺ #ความสัมพันธ์ของคำ

#ความรู้ไม่ขึ้นกับเวลาแต่การเข้าใจขึ้นกับเวลา

#Critical Question:

วิทยาศาสตร์สายจิตวิทยากล่าวว่า วุฒิภาวะนั้นเป็นภาคส่วนกับยีน ถ้ายีนตัวนี้สื่อถึงยีนแรกที่อยู่ในตัวบรรพบุรุษที่ได้รับการสอนทุกความรู้ ก็อยู่ที่ #ความพยายาม ของเรา #การรับรู้ #การเรียนรู้ #การเข้าใจ ตามธรรมชาติ #สัญชาตญาณ ที่ถูกสร้างมาให้คิด และเมื่อคิดอย่างใคร่ครวญ (#consciousness #submission) มันจะเป็นมูลเหตุให้เราได้รับ #ฮิดายะฮฺ เมื่อนั้น คือสภาวะที่เรียกว่า #วุฒิภาวะ

#Suggestion

สิ่งที่ต้องไปทำการบ้านเพิ่มเติมคือ การค้นคว้าหาข้อมูล/องค์ความรูขเชิงวิทยาศาสตร์ในด้านจิตวิทยา เพื่อมาสนับสนุนและอ้างอิง คำถามเชิงวิพากษ์อันนี้

อัซตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ วัลลอฮูอะลัม

#EOL in Learning Arabic

#การคิดวิพากษ์ (Critical Thinking)

The Analogy : Prototyping analogical method by applying Dimensional Analysis, Boolean Algebra and #Basic #Principle of #Language(structure)

'http://corpus.quran.com/qurandictionary.jsp?q=smw#(2:31:3)'

'https://quransteps.wordpress.com/2013/02/16/what-does-the-word-اسم-mean-and-what-is-its-root/'

'https://th.m.wikipedia.org/wiki/คำนาม'

'https://en.m.wiktionary.org/wiki/فعل'

'www.facebook.com/ibnufatim/posts/10210755299151958'

'www.facebook.com/hasan.awae/posts/10208216499518692'

หมายเลขบันทึก: 623572เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2017 07:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2017 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท