ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : กรณศึกษาศูนย์การเรียนรู้บ้านบางหวายน้อย ลงชุมชนครั้งที่ 1


จากการได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลครั้งที่1 ก็ได้ข้อมูลที่สอบถามเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านบางหวายและความเป็นมาที่มาของการจัดตั้งศูนย์กาเรียนรู้ชุมชนบางหวายน้อย


โดยมีคุณลุง นาย ปัญญา นิตยลาภสกุล ประธานศูนย์การเรียนรู้ เป็นผู้ให้ข้อมูล

ประวัติชุมชน

ประวัติที่มาชื่อหมู่บ้านบางหวายน้อย

เมื่อก่อนนั้นบริเวณก่อนที่จะมีหมู่บ้านเกิดขึ้น เป็นบริเวณที่มีหวายขึ้นอยู่มาก ประชาชนแถบนั้นจึงได้ตัดหวายบริเวณนั้นไปใช้กัน ประกอบกับบริเวณนั้นถูกประชาชนรุกล้ำถลางป่าหวายเอาไปเพาะปลูก หวายที่เคยมีอยู่มากจึงลดลง ชาวบ้านจึงได้เรียกบริเวณที่เคยมีหวายเยอะว่า "บางหวายน้อย" เมื่อมีหมู่บ้านเกิดขึ้นจึงได้เรียกว่า "บ้านบางหวายน้อย"

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านบางหวายน้อย ม.2 ต.หินมูล อ.บางเลน จ.นครปฐม

จากการได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบางหวายน้อยได้ทราบข้อมูลคราวๆของชุมชนว่า ชุมชนบางหวายน้อยเป็นหมู่ที่2 ต.หินมูล อ.บางเลน จ.นครปฐม ซึ่งชุมชนบางหวายน้อยเป็นหมู่ที่ 2 จากทั้งหมด 12 หมู่บ้าน โดยทั้งหมด 12 หมู่บ้านอยู่ภายใต้การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลหินมูลเป็นผู้จัดการดูแลโดยแบ่งพื้นที่เป็นชุมชนต่างๆ และแต่ละชุมชนนั้นก็จะแยกออกเป็นหมู่บ้าน ดังนั้นสภาพโดยทั่วไปของชุมชนบางหวายน้อยนั้นก็จะสามารถมองเป็นภาพรวมขององค์กรบริหารส่วนตำบลหินมูล

ประวัติและความเป็นมาของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบางหวายน้อย

เมื่อปี พ.ศ.2550 รัฐบาลได้มีการสำรวจปัญหาความยากจน ว่ามีใครบ้างที่ยากจน ใครบ้างที่ไม่มีที่ทำกิน และใครบ้างที่ไม่มีงานทำ จากการสำรวจพบว่า ได้มีการวิเคราะห์วิจัยว่ามีสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านยากจนก็คือ ไม่มีความรู้ในด้านเกษตรอย่างแท้จริงและจริงจัง มีรูปแบบในการทำกินแต่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้เกิดการขาดรายได้ ตัวอย่างเช่น ในตำบลหินมูล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อเวลาที่ในตลาดต้องการอะไร ชาวบ้านก็จะเปลี่ยนไปทำงานนั้นตามความนิยมช่วงสั้นๆ เช่น ถ้ากุ้งราคาดีชาวบ้านก็จะขุดที่นาและแห่กันไปเลี้ยงกุ้ง ด้วยสาเหตุนี้ก็ทำให้ชาวบ้านตามเรื่องเกษตรแบบจริงจังไม่ทัน จึงได้มีการวิเคราะห์ว่าชาวบ้านขาดรูปแบบในการตลาดแบบไหนกัน จึงได้มีการให้ผู้นำชุมชนร่วมมือกับรัฐบาลและมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อขอความร่วมมือกับผู้ที่สนใจให้ไปศึกษาอบรมเกี่ยวกับความรู้ที่จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้

การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ในพ.ศ.2550 เป็นการจัดตั้งเพื่อให้รู้ว่าเป็นศูนย์ที่มีตัวตนจริง แต่การเดินทางจริงๆจะมีเครือข่ายรูปแบบของการพัฒนาชุมชน กศน ท้องถิ่น ท้องที่ และต่อมาทางมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนได้หมดลง ทำให้ผู้นำศูนย์กับชาวบ้านต้องดำเนินการกันต่อ เช่น การทำเกษตรปลอดภัย การทำเกษตรอินทรีย์ และการตลาดแพ็คเก็ตต่างๆ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือศูนย์ในทุกๆภาคส่วน เช่น การพัฒนาชุมชนเข้ามาช่วยในด้านแพ๊คเก็ตทางเกษตรก็เข้ามาให้ความรู้ด้านน้ำหมักชีวภาพ ทางท้องถิ่นก็ช่วยในการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ เพราะได้หลายภาคส่วนเข้ามาช่วยจึงทำให้เกิดศูนย์การเรียนรู้

รายชื่อสมาชิกของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านบางหวายน้อย ตำบล หินมูล อำเภอ บางเลน จังหวัด นครปฐม

1.นาย ปัญญา นิตยลาภสกุล ประธาน

2.นาย ไพฑูรย์ นิตยลาภสกุล รองประธาน

3.นาย สมชาย พูลตาล เลขา

4.นาง ศศิพิมพ์ มีสาวงษ์ ผู้ช่วยเลขา

5.นาง สุภาพร มูลประหัส เหรัญญิก

6.นางสาว จิรฐา มูลทองชน ผู้ช่วยเหรัญญิก

7.นาย สมพร ก่อเกษมกุล ฝ่ายตรวจสอบ

8.นางสาว พิชานันท์ นิจยลาภสกุล ฝ่ายตรวจสอบ

9.นางสาว สุธิดา ทัยสงค์ กรรมการ

10.นาง สุภาพร ตาทองศรี กรรมการ

11.นาย ธัชทร มูลทองชุน กรรมการ

12.นาย ปรีชา นิตยลาภสกุล ปฎิคม

13.นาง สุกัลยา นิตยลาภสกุล ประชาสัมพันธ์

การสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณลุงปัญญา นิตยลาภสกุล



หมายเลขบันทึก: 623455เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2017 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2017 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท