มานุษยวิทยาวัฒนธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา: เป็นส่วนสำคัญในการศึกษาศตวรรษที่ 21


มานุษยวิทยาวัฒนธรรมควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาระดับมัธยมศึกษา คนที่เรียนมานุษยวิทยาจะรู้เป็นอย่างดีว่าวิชาจะสั่งสอนในเรื่องความยืดหยุ่น (resilience), ความมุ่งมั่น (persistence), ความมั่นใจ (confidence), การเปิดกว้าง (openness), ความคิดสร้างสรรค์ (creativity), ความกล้าหาญ (courage), ความอดทน (patience), การปรับตัว (adaptability), การมีมุมมอง (perspective taking), ความเมตตา (empathy), และการควบคุมตนเอง (self-control) การศึกษามานุษยวิทยาในชั้นมัธยมจะเกิดการพัฒนาในสติปัญญา และการยกระดับตัวตน เมื่อนักเรียนต้องเข้าใจพื้นที่ทางในโลก, เคี้ยวความยึดติดในชาติพันธุ์ เพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น และซาบซึ้งกับความหลากหลายทางประสบการณ์ของมนุษย์ มานุษยวิทยาสอนนักเรียนให้เข้าใจความคิดทางวัฒนธรรมที่ต่างจากตนด้วยความเมตตา เพื่อก่อให้เกิดโลกที่สันติมากกว่านี้ ซึ่งก็คือ เป็นอิสระจากความเกลียดชังในความเข้าใจเข้าใจผิดทางศาสนา และเป็นอิสระจากการประเมินค่าในเรื่องประเพณีทางวัฒนธรรมที่ต่างจากกัน

การศึกษาโลก (global education), พลเมืองโลก (global citizenship), ความสามารถที่จะดำรงชชีวิตในทางโลก (global competence), การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม, การลงไปสู่สนามจริง (authentic immersion), และประสบการณ์การบริการกับชุมชนเป็นแก่นหลักๆในหลักสูตร และสิ่งที่ต้องปฏิบัติในชีวิตจริงในโรงเรียนทุกวันนี้ พื้นฐานทางทฤษฎีในเรื่องการคิดเชิงระบบ (systematic thinking)และเป็นองค์รวม (holistic) ซึ่งหาได้จากการเรียนมานุษยวิทยา จะนำเสนอประสบการณ์แบบข้ามวัฒนธรรมให้กับนักเรียน

การเดินทางไปฝังตัวของนักเรียน ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นประเทศกำลังพัฒนา การฝังตัวมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนมีโอกาสใช้ชีวิตและมีความเป็นอยู่ในสภาพที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตนเอง อย่างไรก็ตาม ปัญหาในการส่งนักเรียนพวกนี้ไปดำรงชีวิตอยู่ในที่ต่างวัฒนธรรม แต่ไม่มีการให้เครื่องมือ และความรู้พื้นฐานทางมานุษยวิทยาไปล่วงหน้า จะทำให้นักเรียนเหล่านี้ไม่สามารถมีความเข้าใจ และซาบซึ้งกับสิ่งที่พวกเขาประสบได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงก็คือ ต้องทำให้นักเรียนพวกนี้มีความสามารถ สร้างสรรค์ หรือออกแบบสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง, มีการปรับตัวเชิงวัฒนธรรมที่สลับซับซ้อน และสามารถดำรงชีพอยู่ในสภาพแวดล้อมและระบบทรัพยากรที่ต่างออกไปจากตน หากปราศจากความสามารถในการมองการปฏิบัติเชิงวัฒนธรรม (cultural practice) ภายในบริบทของวัฒนธรรมของตัวมันเอง สุดท้ายนักเรียนก็จะมีความเข้าใจในทางวัฒนธรรมที่ตื้นเขิน และไม่สามารถแก้ปัญหาที่ประสบได้

วิธีการทางมานุษยวิทยาเรื่องการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม (participant observation)จะทำให้นักเรียนมีเครื่องมือในการทำความเข้าใจประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรม เมื่อคนที่สังเกตการณ์ในอีกวัฒนธรรม ซึ่งไม่ใช่เป็นวัฒนธรรมของตัว คนนี้ต้องไม่ให้อคติที่มีมาก่อนเข้ามาตีความวัฒนธรรมที่ตนประสบอยู่ได้ และต้องถามคำถามที่ว่าตนเองมีความเข้าใจ และซาบซึ้งกับประสบการณ์หรือโลกทัศน์ของอีกวัฒนธรรมหนึ่งได้อย่างไร

วลีที่ว่า “ในความเร็วเหนือความเร็ว และการเชื่อมโยงในโลกศตวรรษที่ 21” เป็นการประเมินทั่วไปในการศึกษาโลก (global education) สภาพการเชื่อมโยงดังกล่าว จะถูกพูดถึงในแง่เศรษฐกิจ และความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมจะอยู่แค่ธุรกิจเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จะมีครูและนักเรียนจำนวนน้อยมากๆ ที่จะตระหนักรู้ถึงผลกระทบในการเชื่อมโยงกันทั้งโลกต่อชาวบ้านชายขอบ หรือคนพื้นถิ่น เราที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ศึกษามานุษยวิทยาต้องมีศีลธรรม (moral imperative) เรื่องความยุติธรรมทางสังคม (social justice) และความจำเป็นที่ต้องาปฏิบัติตนอย่างมีความรับผิดชอบต่อความเข้าใจในวัฒนธรรมที่ตนประสบอยู่ เพื่อสร้างโลกที่มีความยุติธรรม และโลกที่มีความยั่งยืน

ธรรมชาติของโลกที่สลับซ้อนมากขึ้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสอนมานุษยวิทยาในโรงเรียนมัธยม เนื้อหาที่น่าใช้ ในสาขาวิชายังให้เลนส์หลายๆเลนส์ ซึ่งนักเรียนจะได้มองโลกได้หลากหลาย บทเรียนต่างๆยังสามารถบูรณาการในหลักสูตรได้อย่างแนบแน่น

แปลและเรียบเรียงจาก

Laura P. Appell-Warren. Cultural Anthropology in Secondary Schools: An Essential Part of a 21st Century Education

http://www.huffingtonpost.com/american-anthropological-association/cultural-anthropology-in_b_8045130.html

หมายเลขบันทึก: 623453เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2017 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2017 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท