วันที่ 24 ทัศนศึกษา พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต (วันที่ 16 ธันวาคม 2559)


นนี้เป็นวันศุกร์คะ เป็นวันที่นักเรียนตื่นเต้นมากๆ เช้านี้ที่โรงเรียนคึกคักกันเป็นพิเศษ รวมถึงครูแนนด้วย เพราะว่า โรงเรียนของเราไปจะไปทัศนศึกษากันทั้งโรงเรียนที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” นักเรียน จะได้ ตามรอยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และครูแนนก็ต้องดูแลลูกๆประตำคันรถของตัวเองคือนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ซึ่งนักเรียนเกาะติดครูแนนเหมือนมีลูกเป็นขโยง ซึ่งวันนี้ เป็นงานที่มีนักเรียนโรงเรียนอื่นมาทัศนศึกษาด้วย


ภาพลูกน้อยห้อยข้างคะ เด็กเดินตามครูมานะคะ


วันนี้นักเรียนจะได้เข้าไปในบูทกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะศึกษา การใช้ชีวิตอย่างเศรษฐกิจพอเพียง และรวมถึงวันนี้นักเรียนได้ออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ ได้สัมผัสกับบรรยากาศจริงที่ห้องเรียนไม่มี รวมถึงครูแนนด้วยที่ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ และรวมไปถึงการสอนวิทยาศาสตร์ไปในตัว (พลิกให้เป็นโอกาส)



ภาพ นักเรียนเรียนรู้เรื่องไฟฟ้า สอนเรื่องการใช้ไฟฟ้าประหยัด พอดีเลยคะ พลิกโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้วิทยาศาสตร์


ตลอดเส้นทางศึกษา นักเรียนได้ได้ดูการบรรยายของแต่ละบูท ประหนึ่งเหมือนแต่ละบูทมีการเดี่ยวไมโครโฟนยังไงยังงั้น มีหลายบูทที่ให้ความรู้เยอะมากคะ ทั้งเรื่อการจักสาร น้ำผึ้ง การทอผ้า ซึ่งนักเรียนก็ให้ความสนใจกันเยอะมาก และมาถึงบูทที่ให้ความเกี่ยวกับสถานที่ วิทยากรเล่าให้ฟังไปตามทางว่าที่ห้วยฮ่องไคร้มันอุดมสมบูรณ์ขึ้นหายแห้งแล้งก็เพราะระบบท่อส่งน้ำที่ระบายน้ำลงสู่ลำห้วยให้กับฝายเก็บกักน้ำต่างๆ ในระบบไส้ไก่และระบบก้างปลาไว้ แล้วสร้างฝายปิดกั้นน้ำในคูไว้เป็นช่วงๆ ให้น้ำขังอยู่ในคูได้เป็นระยะเวลานาน เพื่อให้น้ำซึมลงไปเพิ่มความชุ่มชื้นในดิน ส่วนฝายที่ใช้ทำก็จะเป็นฝายไม้ไผ่ง่ายๆ ที่ชาวบ้านสามารถเอาไปทำได้


ภาพวิทยากร บูทต่าง ๆ บรรยายความรู้ให้กับนักเรียน

ส่วนไฮไลน์ทางลงเขาที่นักเรียนสนใจกันใหญ่ คงจะไม่พ้นเจ้ากบที่มามากมายหลายสาพันธ์ คือ เลี้ยงกบของที่นี้ครับ กบที่นี้ก็มีกันสองสายพันธุ์ที่เลี้ยง คือกบนาของไทย และกบบูลฟร็อกของเมืองนอก กบนาจะเด่นในเรื่องของการเจริญเติบโตเร็ว สามารถจับขายได้ เพียง 3-4 เดือน แต่ปัญหาคือ มันชอบจำศีลในช่วงหน้าหนาว

ส่วนกบบูลฟร็อกเลี้ยงกบบูลฟร็อกได้ตลอดทั้งปี แม้กระทั่งในฤดูหนาว และไม่มีการจำศีลเหมือนกบนาแต่อย่าง แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกันตรงที่ ข้อเสียใช้ระยะเวลาการเลี้ยงค่อนข้างนานกว่ากบนา แถมรูปร่าง ผิวหนัง หน้าตาไม่ชวนน่ารับประทานซักเท่าไหร่


ภาพ กบ กบ สนใจกันใหญ่เลย


แล้วก็นักเรียนได้ดู สัตว์ด้วยนะคะ ถึงจะไม่ได้เดินไปไกลขนาดที่จะไปถึงสวนสัตว์ที่นักเรียนคาดถึงไหว ครูแนน เหนื่อยจริงๆคะ แต่เห็นนักเรียนมีความสุขครูก็มีความสุขไปด้วยคะ


วันนี้นักเรียนได้อยู่ที่นี่ทั้งวัน ได้ทั้งกิน นอน นั่งที่นี่ นับว่านักเรียนได้เรียนรู้เยอะจริงๆ แล้วก็ครูแนนก็ไปพานักเรียนไปเดินชมรอบๆ โดยการพาไปดูสัตว์น้ำ นักเรียนนี่ตื่นเต้นกันใหญ่ เพราะว่า ตู้ปลาเยอะมาก จริงๆ แล้วก็ยังมีแบบที่เลี้ยงไว้ตามธรรมชาติตรงสระ นักเรียนไม่ลังเลที่จะลงไปดูเลย ความน่ารักของเด็กมันก็มีอยู่นะคะ

ภาพ ดูสัตว์ คะ เยอะแยะไปหมดเลยคะครูแนน


ช่วงใกล้ที่จะกลับโรงเรียนก็จะมีการเปิดโอกาสไว้ให้นักเรียนเดินชมของ ซื้อของฝากกลับไปฝากคุณพ่อคุณแม่ หรือซื้อให้ตัวเอง ส่วนครูแนน ซื้อฝากหมดคะ อิอิ แล้วก็ไปเล่น มอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กที่บิดอ่างเดียว ตลกดีคะ นักเรียนชอบเล่น และแพง แบตหมดไวมาก ครูแนนก็จิกของนักเรียนเล่นเหมือนกัน วันนี้ เหมือนเราไปย้อนกลับไปเป็นเด็กนักเรียนอีกครั้งนะคะ สนุกมากๆคะ


ภาพ จดความรู้ พักผ่อนหย่อนใจ


ช่วงกลับโรงเรียนนักเรียนทั้งหลาย รวมถึงครูแนนด้วยก็หลับเป็นตายคะ บางคนก็ร้องเพลง ทายอะไรเล่นเรื่อยเปื่อย แต่ครูไม่ไหวละคะขอบายนะคะ วันนี้ขอบคุณโรงเรียนและก็เด็กน่ารักของครูแนนทุกๆคนนะคะ วันนี้ก็ขอขอบคุณสถานที่ ที่ให้ความรู้กับพวกเรามากๆ คะ สมแล้วกับที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มันเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” สำหรับราษฎรชาวไทยคะ


ปิดท้ายด้วยถาะน่ารัก ของวันนี้คะ เฮ้ !!


เกร็ดความรู้ ประวัติความเป็นมา

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อกำเนิดจากการที่ได้รับพระราชดำริ เมื่อวัน 11 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ที่พระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง ที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตัวเองต่อไป โดยทำการศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนคงความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และ พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารและ ปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฏิบ้ติอย่างได้ผลต่อไป ดังมีพระราชดำริว่า "ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" หรืออีกนัย หนึ่งเป็น "สรุปผลการพัฒนา" ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้"

ผู้ที่สนใจ ที่ อยากจะเข้ามาศึกษา สามาะเข้ไปดูตามเว็ปไซค์ ด้านล่างที่ให้ไว้ได้เลยคะ คุ้มค่ากับการเรียนรู้ เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่น่าศึกษาอยากมากคะ ^^

ที่มา : http://www.hongkhrai.com/history.php

หมายเลขบันทึก: 623433เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2017 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2017 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท