งานวิจัยIRTโรงเรียนอู่ทอง


ชื่อโครงการวิจัย : การศึกษาผลการใช้ IRT เพื่อการบริหารจัดการและพัฒนาการเรียนการสอน ของครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 3 และ 4 โรงเรียนอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2549

ประเภทการวิจัย    การวิจัยเชิงพัฒนา
ผู้วิจัย 
นางศศิวรรณ คุ้มฉายาและคณะ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
       
1. กลุ่มสาระฯ การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์) 
      
 2. งานเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย  ฝ่ายวิชาการ

                                  แผนผังการเชื่อมโยงเครือข่าย IRT โรงเรียนอู่ทอง

<div style="text-align: center">  </div><p align="justify"></p> <p align="justify"></p> <p style="text-align: center"></p> <p align="justify">
คำสำคัญของการวิจัย    การใช้  IRT  เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544    นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อครูผู้สอนและนักเรียนสามารถช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้สูงสุด ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์  ซึ่งในปัจจุบันนี้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นไร้สายหรือแบบปกติ   ซึ่งการติดต่อดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน  ทำให้การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายมีการเพิ่มเติมและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ   เข้ามาร่วมใช้งานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ   จนทำให้ปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบไวเล็ต(WiFi) กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย   เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารกำลังได้รับการพัฒนาไปเรื่อย ๆ
           โรงเรียนอู่ทองเป็นโรงเรียนที่มีนโยบายชัดเจนในเรื่องการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ   โดยใช้  IRT เป็นเครื่องมือ  ในการฝึกทักษะการเรียนรู้ การพัฒนางานและการบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ 
 ความเป็นมาและความสำคัญ     
          
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาของชาติ  หมวดที่ 4  ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา  มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  หมวดที่ 9  ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  มาตรา 66  ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  เป็นการเปลี่ยนแปลงการจัดกระบวนการเรียนรู้  ซึ่งต้องพัฒนาตัวครูผู้สอนเพื่อให้เป็นครูในยุคปฎิรูปการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมทาง การศึกษาใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544  เป็นนโยบายที่สำคัญยิ่งของกระทรวงศึกษาธิการ , สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2  และนโยบายของโรงเรียนอู่ทอง  ในการส่งเสริมการดำเนินงานด้าน IRT  ดังกล่าว    การจัดการเรียนการสอนผ่านบนเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ  เป็นการเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทาง  และเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน  หมายถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนมีศักยภาพการเรียนการสอนตามลำพัง (One Alone)  กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่เกี่ยวข้องได้อย่าง เหมาะสมทั้งที่บ้านและสถานที่อื่น ๆ ได้ทุกโอกาส  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ตามความต้องการและเรียนตามเวลาที่สะดวก เหมาะสมกับตัวเองการส่งเสริม สนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้บนเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ   จึงเป็นหน้าที่สำคัญของโรงเรียน   ที่ต้องมีการวางแผนบริหารจัดการทำให้เกิดการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์โรงเรียนเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต  เครือข่ายแห่งการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสื่อสารความคิด และสารสนเทศ ผ่านสื่อกลางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้ผู้เรียนสามารถที่จะเข้าไปเรียนรู้ได้ตลอดเวลาดังกล่าว 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย                
         
       
1. เพื่อศึกษาผลการใช้ 
IRT เพื่อการบริหารจัดการของผู้บริหารและพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 3 และ4 ในโรงเรียนอู่ทอง ปีการศึกษา 254 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2         
     
2. เพื่อศึกษาผลการใช้ 
IRT  เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  ช่วงชั้นที่ 3 และ 4  ของโรงเรียนอู่ทอง  ปีการศึกษา 254 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สุพรรณบุรี เขต 2 
ขอบเขตของการวิจัย          
ด้านเนื้อหา  
คู่มือการใช้ IRTเพื่อการบริหารและพัฒนาการเรียนการสอนดังนี้
        1  ศึกษารูปแบบและสภาพการใช้  IRT เพื่อการบริหารและพัฒนาการเรียนการสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ของครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4   ใน โรงเรียนอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี                        
       
2  ศึกษาผลการใช้  IRT  เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3   และช่วงชั้นที่ 4  ( ม.1 ถึง ม.6 )   
</p>
                 เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั่วโลก  โดยมีแฟ้มข้อมูลต่างๆ มากมายหลายพันล้านแฟ้มอยู่ในระบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นใช้งาน   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบหรือโปรแกรมเพื่อช่วยในการค้นหาแฟ้มได้อย่างสะดวกรวดเร็ว                
                 ในการนำบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการเรียนและการฝึกอบรมสามารถทำได้ในลักษณะดังต่อไปนี้  
<p align="center"><div style="text-align: center">วงจรการบริหารจัดการ IRT ในโรงเรียนอู่ทอง <div style="text-align: center"></div></div></p> <p align="justify">                   1. e-Office   การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสาร  อภิปราย  ถกเถียง  แลกเปลี่ยน  และสอบถามข้อมูลข่าวสาร  ความคิดเห็นทั้งกับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องเดียวกันหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ โดยใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)  หรือกลุ่มสนทนา  (MSN)               
               
2.
e-Classroom  การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาค้นหาข้อมูลในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นในหลักสูตรการศึกษา หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง   ผู้ใช้สามารถค้นหาความรู้ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้บริการเวิล์ดไวด์เว็บ(www) , โกเฟอร์ (Gopher) , อาร์คี (Archie) , เวส  (Wide Area Information Server-WAIS) ,  Veronica   หรือ Search Engines   ที่เรานิยมเรียกกว่า e-Learning  นั่นเอง
                  
2.1)  ประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่มีอยู่เดิม
                  
2.2 )  ศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการจัดการศึกษาทางไกลโดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
                                          
                           
1. ในลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนนัดหมายเวลากันแน่ชัดในการเรียนการสอนลักษณะนี้  แม้ผู้เรียนและผู้สอนจะอยู่ห่างไกลแต่ก็สามารถเห็นภาพและโต้ตอบกันได้โดยผ่านอุปกรณ์ส่งสัญญาณภาพ และเสียง                             
                            2. ในลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องนัดหมายเวลาที่แน่ชัด  แต่ผู้สอนต้องเตรียมเอกสารการสอนไว้ล่วงหน้าและเก็บข้อมูลไว้บนเครือข่าย เมื่อผู้เรียนต้องการจะเรียนก็มาเข้าเครือข่ายที่ผู้สอนเตรียมไว้  เอกสารการสอนที่เป็นที่นิยมคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ (
CAI in  the web)
                           3.  การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นลักษณะการเรียนการสอนการฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้อินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคลที่สนใจทั่วไป     (Web-Based Training : WBT)  
                 2.3) การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งเสริมการวัดแววทักษะความเป็นเลิศด้านคอมพิวเตอร์(e-Test) และ(e-Commarice)เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพในรูปแบบการให้บริการ
ของครูและนักเรียนโรงเรียนอู่ทอง         
                   การนำคุณลักษณะของบริการต่างๆ ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตมาใช้นั้นนับว่าสนับสนุนให้ผู้เข้าใช้เกิดการเรียนรู้แบบหลากหลาย โดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อน และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่ง Clark (1996) ได้กล่าวว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ  สามารถเรียกได้ว่าเป็นการฝึกอบรมผ่านเว็บได้เช่นกัน  และการฝึกอบรมผ่านเว็บ เป็นการปรับยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้ ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และเป็นการเรียนแบบร่วมมือ  โดยนำคุณลักษณะต่างๆ ตลอดจนแหล่งการเรียนรู้ที่มีเวิล์ดไวด์เว็บมาสร้างให้เกิดการเรียนรู้  และสนับสนุนการเรียนรู้  ซึ่งการเรียนการสอนผ่านเว็บเหมาะกับการเรียนทางไกล  เนื่องจากมีความประหยัด  อีกทั้งผู้เรียนสามารถเรียนจากสถานที่ใดก็ได้ (Banhan and Miheim, 1997)  และจากคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต  สามารถนำมาพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กล่าวคือ  ผู้เข้ารับการเรียนรู้ศึกษาเนื้อหาจากโปรแกรมอบรมแล้ว  มีความประสงค์จะโต้ตอบหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครู/วิทยากร หรือผู้เข้ารับการเรียนรู้คนอื่นๆ ก็สามารถทำได้ทันทีโดยการสนทนาออนไลน์  หรือใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เป็นการผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์มีเดีย ซึ่งเป็นเทคนิคการเชื่อมโยงเนื้อหาหลักด้วยเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งรูปแบบการเชื่อมโยงนี้เป็นไปได้ทั้งการเชื่อมโยงข้อความไปสู่เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง  หรืออาจเชื่อมโยงด้วยภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียงเข้ากับคุณสมบัติของเวิล์ดไวด์เว็บ  เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขต  ไม่จำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน </p> <p align="justify">สมมติฐานของการวิจัย
1. ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้  IRT ในการบริหารและพัฒนาการเรียนการสอน ของผู้บริหาร ครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 3 และ 4  และแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนโดย  IRT   ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. ได้แนวทางส่งเสริมการใช้  IRT  เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน ให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น  </p>

หมายเลขบันทึก: 62332เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมมากหัวหน้า มันน่าอัศจรรย์ ที่เราเกิดมาในยุคนี้ ได้รู้ได้เห็น ปรากฏการณ์ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เกี่ยวเทคโนโลยี

อยากเห็นคนเก่งอย่างนี้ละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท