OT จะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลอย่างไร


จากการโต้วาทีของนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ในหัวข้อเรื่อง Hospital base VS Community base ทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านได้นำคุณสมบัติต่างๆและข้อดีของฝ่ายตนเองมาสนับสนุน ในฝั่งของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น การรักษาในโรงพยาบาลดีกว่าเนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ครบครั้น มีผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถ มีการควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบ เช่น การฝึกเพื่อฟื้นฟู อาหารที่ให้แก่ผู้ที่อยู่ในโรงพยาบาล ส่วนฝั่งที่มีการรักษาในชุมชนดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น สิ่งแวดล้อมตามความเป็นจริงเมื่อได้อยู่ที่บ้าน และในชุมชุน ความรู้สึกของผู้รับบริการที่ต้องการจะอยู่ที่บ้านมากกว่าที่โรงพยบาล รวมถึงการได้ทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเองได้สมจริงมากกว่าการอยู่ที่โรงพยาบาล หรืออาชีพและงานอดิเรก เป็นต้น ซึ่งโดยสรุปแล้วการรักษาทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันจึงทำให้การรักษาทั้งสองแบบควรเป็นการรักษาที่ควบคู่กันไป เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดที่จะได้แก่ผู้รับบริการ

นักกิจกรรมบำบัดในปัจจุบันขของประเทศไทยส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในโรงพยาบาล มีเพียงส่วนน้อยที่ได้เข้าไปลงในชุมชน เช่น อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่างทำให้ไม่สามารถลงไปทำงานในชุมชนได้อย่างเต็มตัวของนักกิจกรรมบำบัด ร่วมถึงการขาดแคลนบุคลากรของนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีอยู่ค่อนข้างน้อยในประเทศไทย

นักกิจกรรมบำบัดที่ดีและเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาล สิ่งแรกที่ควรทำก่อนเลยก็คือ การทำ Focus group ในผู้รับบริการที่ใกล้จะออกจากโรงพยาบาลหรือผู้รับบริการที่ต้องการจะเตรียมความพร้อมในการฝึกตามบริบทจริงในสังคม ให้มีการบอกเล่าประสบการณ์ของตนเอง สิ่งที่ตนเองต้องการจะทำ อาชีพที่ต้องออกไปประกอบอาชีพ รวมถึงงานอดิเรกที่ตนเองได้สนใจ อุปสรรคในการทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการ ให้ผู้รับบริการท่านอื่นได้ออกความเห็นที่อาจจะมีมุมมมองและวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันตามประสบการณ์ของแต่ละท่าน จากคำที่บอกว่า " ทุกเรื่องมีสามมุมเสมอ คือ มุมของเรา มุมของเขา และมุมที่เป็นจริง " ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการมองวิธีการแก้ปัญหาหรือเรื่องอื่นใดก็ตามจะมีวิธการที่หลากหลายตามแต่ของแต่ละคนจะมอง หรือในกลุ่มอาจจะมีการเชิญผู้ที่มีประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกับผู้รับบริการนำมาเสนอะแนะหรือชี้ทางให้เห็นว่า ตัวของเขานั้นประสบความสำเร็จโโยทำอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้รับบริการที่มีปัญหาเช่นเดียวกับตน

การทำ Focus group อาจรวมถึงการให้ผู้ที่ดูแลที่บ้านมารวมทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีแก้ปัญหา ก็ได้เช่นเดียวกันอาจเป็นเพราะผู็รับบริการไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ เช่น ผู้รับบริการ Autism เป็นต้น ให้มีส่วนร่วมในการช่วยสนับสนุนเมื่อผู้รับบริการอยู่ที่บ้านและในสิ่งแวดล้อมของตน ทั้งในการส่งเสริมกิจวัตรประจำวันเบื้องต้น การเรียนหนังสือ รวมถึงการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ

การส่งเสริมการใช้ตัววัดที่มีประสิทธิภาพของต่างประเทศ เช่น The Social Cognition and Interaction Training-Autism (SCIT-A) หรือ OPHI-II แต่อาจจะมีข้อที่บกพร่องคือ บริบทของต่างชาติกับประเทศไทยอาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับการนำมาปรับใช้ในบริบทของประเทศไทยของนักกิจกรรมบำบัด

หลังจากการให้เข้าทำ Focus group ต่อจากกนั้นจะเป็นช่วงเวลาของการฝึกให้คล้ายคลึงกับบริบทจริงให้มากที่สุด โดยทำในโรงพยาบาล เพื่อช่วยส่งเสริมและการดูแลอย่างใกล้ชิดของบุคลากรที่มีความสามารถ เพื่อช่วยผู้รับบริการในการทำสิ่งที่ตนเองต้องออกไปทำหรือตนเองต้องการจะทำในบริบทจริงของชุมชน และเมื่อได้รับความมั่นใจจากนักกิจกรรมบำบัด จึงส่งตัวคืนสู่ชุมชน เมื่อคืนสู่ชุมชนแล้วนักกิจกรรมบำบัดยังคงต้องติดตามดูผลของการฝึกและความสามารถเมื่ออยู่ในบริบทจริงว่าผู้รับบริการมีปัญหาในส่วนใดแล้วนำมาแก้ไข อาจจะให้ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยเสริม เป็นต้น หรือนำกลับเข้ามาฝึกฝนที่โรงพยาบาลอีกครั้ง รวมถึงการให้ความรู้กับผู้ดูแลให้มีความเชี่ยวชาญให้มากที่สุด และอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเลย คือ การทำความเข้าใจกับคนในชุมชน บอกถึงข้อจำกัดและความสามารถของผู้รับบริการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับคนในชุมชน เช่น ผู้รับบริการเป็นเอดส์ ก็จะถูกต่อต้านจากสังคม นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องช่วยส่งเสริมบอกให้คนในชุมชนให้เข้าใจว่า โรคเอดส์มีข้อจำกัดอย่างไร แต่ในส่วนอื่นๆผู้รับบริการยังสามารถทำร่วมกับบุคลอื่นในชุมชนอื่นได้

โดยสรุปแล้วการที่นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยส่งเสริมสุขภาวะได้ ต้องเริ่มจากการเจาะปัญหาและหาความต้องการของผู้รับบริการให้ได้ก่อนสิ่งอื่นใด เพื่อเป็นการคิดหาวิธีที่ดีที่สุดมารักษาผู้รับบริการต่อไป

หมายเลขบันทึก: 623263เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท