วิจัยสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ



จดหมายข่าว ประชาคมวิจัย ของ สกว. ฉบับเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๙ เป็นฉบับสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ดาวน์โหลดได้ ที่นี่


อ่านบทบรรณาธิการของ รศ. จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ ก็ตกใจ ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก อันดับ ๓ รองจากรัสเซีย และอินเดีย ตามรายงานของ Global Wealth Report 2016


ผมขอแนะนำให้อ่านบทความของ ศ. ดร. ผาสุก พงศ์ไพจิตร ที่ชี้ให้เห็นว่า การลดความเหลื่อมล้ำมีผลดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อ่าน ที่นี่


เรามีเป้าหมายร่วมกันว่า จะช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐ การดำเนินการเพื่อช่วยให้โอกาสแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้ลุกขึ้นมาทำงานสร้างสรรค์ เป็ยปัจจัยบวกแก่ประเทศไทย ๔.๐ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง



วิจารณ์ พานิช

๒๖ ม.ค. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 623258เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเข้าไปอ่านเพิ่มเติมในประชาคมวิจัยแล้วครับ ยิ่งมีความมั่นใจในแนวคิด ‘ธุรกิจพอเพียง’ ซึ่งถือเป็นแนวคิดของอาสาสมัครของทีมงานเล็กๆมากขึ้นไปอีกหลายเท่า ยิ่งอ่านข้อความส่วนนี้ ยิ่งทำให้มีกำลังใจในการเพิ่มขึ้นมาก

... ... “ ทางออก: ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างทั่วถึง
สังคมไทยอาจปรับแปลงเป็นสังคมเสมอหน้าได้ด้วยนโยบายการศึกษาที่เพิ่มศักยภาพ ความสามารถของเยาวชนแบบบูรณาการ (ดูบทความของปัณณ์ อนันอภิบุตร)... ...”

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท