กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลอย่างไร


สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน

สืบเนื่องมาจากการเรียนในวิชาสัมมนากิจกรรมบำบัดครั้งสุดท้ายของพวกเรานักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 ซึ่งเราได้มาตั้งโต๊ะโต้วาทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ หนึ่งในหัวข้อโต้วาทีของเราก็คือ “Hospital based rehabilitation VS. Community based rehabilitation” หรือการให้การบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดที่ไหนจะดีกว่ากันระหว่างในโรงพยาบาลและชุมชน โดยมีหลักฐานเชิงประจักษเป็นเครื่องมือสำคัญในการขึ้นเวทีครั้งนี้ค่ะ

ดิฉันจึงจะขอบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการโต้วาทีครั้งนี้ และเสนอมุมมองเกี่ยวกับ การขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาล ในฐานะที่เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดคนหนึ่งค่ะ

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “สุขภาวะ” กันก่อนนะคะ

สุขภาวะ หรือ Well-being แปลตรงตัวก็คงหมายถึงภาวะที่ตัวเรามีความสุข ซึ่งภาวะแห่งสุขนี้เกิดขึ้นเมื่อตัวเรามีความสมดุลขององค์รวมที่สำคัญทั้ง 4 มิติ ก็คือ กาย จิต สังคม ปัญญาหรือจิตวิญญาณ

ซึ่งการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดมุ่งเน้นให้ผู้รับบริการ มีสุขภาวะ(well-being) และคุณภาพชีวิตที่ดี(Quality of life) จากการได้ทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ต้องการ มีความจำเป็น และสนใจได้อย่างมีความหมายและจุดมุ่งหมายได้ด้วยความสามารถสูงสุดของตัวเอง

ต่อไปดิฉันจะมาตอบคำถามข้างต้นที่ว่า “กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลอย่างไร”ขอเริ่มกันด้วยการเรียนรู้ที่ได้จากการโต้วาทีก่อนนะคะ

จากการโต้วาที (ดิฉันอยู่ทีม Hospital based ค่ะคุณผู้อ่าน) ทำให้ทราบว่าการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดใน setting โรงพยาบาลและชุมชน ก็มีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน อย่างเช่น

Hospital based rehabilitation หรือโรงพยาบาล มักจะมีเครื่องมือที่ครบครันและทันสมัยมากกว่าในชุมชน ผู้ให้การบำบัดสามารถควบคุมความถี่ได้มากกว่าซึ่งส่งผลถึงประสิทธิภาพของการรักษาที่ดี มีระบบความปลอดภัยที่รัดกุม มีทีมสหวิชาชีพ ที่สำคัญเลยก็คือ ข้อจำกัดของผู้รับบริการเองที่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยระยะ Acute ผู้รับบริการจิตเวชที่ต้องคดี(นิติจิตเวช) เป็นต้น นอกจากนี้ ผลการศึกษาก่อนหน้ายังพบว่า โปรแกรมการเตรียมความพร้อมกลับสู่ชุมชนภายหลังออกจากโรงพยาบาลจะได้ผลดีเมื่อได้เตรียมตั้งแต่ในระยะที่ผู้รับบริการอยู่ในโรงพยาบาลด้วย แต่ก็มีข้อจำกัด เช่น อาจไม่ได้ให้การบำบัดฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ตามบทบาทและความต้องการของผู้รับบริการ ขาดการฝึกในบริบทจริง

ส่วน Community based rehabilitation นั้นเปิดตัวด้วยใจความที่ว่า เป็นการบำบัดฟื้นฟูเชิงรุกในบริบทที่แท้จริงของผู้รับบริการ ซึ่งนำมาซึ่งแรงจูงใจในการรักษา มีสุขภาพจิตที่ดี มีค่าใช้จ่ายน้อย ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชน สามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ เพื่อที่ผู้รับบริการจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงการปรับสิ่งของรอบตัวมาใช้เพื่อการฟื้นฟูตามกรอบอ้างอิงการปรับสภาพแวดล้อมทางกิจกรรมบำบัด แต่ก็มีข้อจำกัดที่เกี่ยวกับผู้รับบริการ เช่น อาจไม่สามารถให้การฟื้นฟูในผู้ป่วยระยะ Acute ได้ หรือในผู้รับบริการนิติจิตเวช รวมถึงเครื่องมืออาจจะน้อยกว่าในโรงพยาบาล

การฟื้นฟูตามบริบทหรือบทบาทของผู้รับบริการ เช่น ฟื้นฟูหรือส่งเสริมการทำงาน(Work)/การเรียน(Education) เป็นต้น ซึ่งมีการศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมฟื้นฟูการทำงาน (Vocational rehabilitation program) ในวิจัยหัวข้อ Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS ซึ่งวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อที่จะทดสอบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามของผู้ป่วยเอดส์กับการฟื้นฟูกลับไปสู่บทบาทการทำงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Vocational rehabilitation program และการเปลี่ยนแปลงของของเอกลักษณ์กิจกรรมการดำเนินชีวิต(occupational identity), ความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการรับรู้ของหน่วยงานกิจกรรมบำบัด (perception of occupational settings)

ซึ่งผลการศึกษาพบว่าทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการช่วยให้เข้าใจประสบการณ์และความพยายามที่ผ่านมาของผู้ป่วยเอดส์ในการกลับเข้าสู่บทบาทหลักในชีวิตของตัวเอง

อีกหนึ่งประเด็นที่ถูกพูดถึงตอนโต้วาทีก็คือ การที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลมีความเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผู้รับบริการด้วย เช่น ในชุมชนมีแนวโน้มที่ผู้รับบริการจะได้อยู่กับครอบครัวหรือผู้ดูแลมากกว่า แต่ก็เป็นปัญหาหากผู้ดูแลไม่ให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยตัวเอง หรือช่วยเหลือเกินความจำเป็น แต่ในโรงพยาบาลผู้บำบัดสามารถควบคุมการช่วยเหลือจากครอบครัวได้ เพื่อให้ผู้รับบริการได้แสดงความสามารถสูงสุดของตัวเอง

ในเรื่องของ Family centered practice มีงานวิจัยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการสนับสนุนจากผู้ปกครองหรือว่าผู้ดูแลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต(Occupational performance) ของผู้รับบริการออทิสติกในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ที่เข้าร่วม The Social Cognition and Interaction Training-Autism (SCIT-A) ซึ่งถือว่า SCIT-A ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับFamily centered practice ซึ่งผลของการศึกษาแบบ pilot study ในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึง ผลกระทบทางด้านบวกและแนวโน้มในอนาคตของงานวิจัยนี้และโปรแกรม social cognitive ในการเปลี่ยนผ่านสู่กิจกรรมการดำเนินชีวิตในวัยผู้ใหญ่ของผู้รับบริการออทิสติกในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งการสนับสนุนและมีส่วนร่วมของผู้ดูแลจะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนั่นเอง


จากการเรียนรู้ข้อดีข้อด้อยของทั้งสองแบบ ดิฉันจึงคิดว่า กิจกรรมบำบั ดจะช่วยส่งเสริมสุขภาวะของผู้รับบริการได้อย่างดีที่สุดเมื่อเรามีกระบวนการรักษาทั้งใน Hospital based และ Community based ที่เข้มแข็งและสอดคล้องกัน อย่างเช่นกระบวนการรักษาและระบบสุขภาพชุมชนที่โรงพยาบาลลำสนธิ (อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.gotoknow.org/posts/617099 ) ซึ่งเป็นตัวอย่างของระบบการบำบัดฟื้นฟูที่เห็นปัญหา เข้าถึงผู้ป่วยจริงๆ และเข้มข้น(ความถี่เหมาะสม)ค่ะ



อ้างอิง

Loukas, K. M., Raymond, L., Perron, A. R., McHarg, L. A., & LaCroix Doe, T. C. (2015). Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism. Work, 50(3), 457-463.

Braveman, B., Kielhofner, G., Albrecht, G., & Helfrich, C. (2006). Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS. Work, 27(3), 267-276.


สำหรับวันนี้ขอบคุณค่ะ

ณัฐสุดา นวลสำลี

5623009 นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4

หมายเลขบันทึก: 623257เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท