กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลอย่างไร ?


สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกิจกรรมบำบัด และสุขภาวะกันก่อนนะคะ

กิจกรรมบำบัด หมายถึง การที่ใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการรักษา เหมือนหมอต้องผ่าตัด ฉีดยา แต่นักกิจกรรมบำบัดจะใช้กิจกรรม หรือเน้นการฟื้นฟูให้ผู้รับบริการกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ส่งเสริมให้ผู้รับบริการใช้ความสามารถของตัวเองดูแลตัวเอง พึ่งพาบุคคลอื่นให้น้อยที่สุด ซึ่งการทำกิจวัตรประจำวัน จะรวมไปถึงการทำงาน การทำกิจกรรมยามว่าง การนอนหลับ การเข้าสังคมด้วย

สุขภาวะ หมายถึง การดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุขทั้งกาย และ จิต คือไม่ใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงการมีร่างกายแข็งแรง จิตแข็งแรง มีความสุขอยู่ในสังคม โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอย่างที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อสุขภาวะคนไทยเกิดเป็นปัญหาด้าน สุขภาพ มลภาวะที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหาร วิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้งสิ้น สิ่งที่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเช่นเกิดโรคเอดส์ เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด เกิดอุบัติภัยสูงขึ้น เป็นต้น มีโรคหลายโรคที่อาจป้องกันหรือสามารถลดอัตราเสี่ยงลงได้ ซึ่งต้องการความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆฝ่ายช่วยการสร้างเสริมสุขภาพให้กับสังคม

ตามความคิดของดิฉันได้เห็นว่า

Hospital based rehabilitation หรือโรงพยาบาล มักจะมีเครื่องมือที่ครบครันและทันสมัยมากกว่าในชุมชน มีระบบความปลอดภัยที่รัดกุม ผู้ให้การบำบัดสามารถควบคุมการรักษาได้ซึ่งส่งผลให้ได้ประสิทธิภาพของการรักษาที่ดีและมีทีมสหวิชาชีพ

Community based rehabilitation เป็นการบำบัดฟื้นฟูเชิงรุกในบริบทที่แท้จริงของผู้รับบริการ ซึ่งนำมาซึ่งแรงจูงใจในการรักษา มีสุขภาพจิตที่ดี มีค่าใช้จ่ายน้อย ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชน สามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ เพื่อที่ผู้รับบริการจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงการปรับสิ่งของรอบตัวมาใช้เพื่อการฟื้นฟูตามกรอบอ้างอิงการปรับสภาพแวดล้อมทางกิจกรรมบำบัด ผู้รับบริการมีความคุ้นชินกับสภาพแวดล้อม เมื่อหายแล้วก็สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ในบริบทสิ่งแวดล้อมเดิมทันทีแต่ก็มีข้อจำกัดที่เกี่ยวกับผู้รับบริการ เช่น อาจไม่สามารถให้การฟื้นฟูในผู้ป่วยระยะ Acute ได้ อาจขาดโอกาสการรักษาจากสหวิชาชีพ รวมถึงเครื่องมืออาจจะน้อยกว่าในโรงพยาบาล
แต่สุดท้ายแล้วทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของผู้รับบริการเอง


มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงบทบาทเพื่อให้เกิดสุขภาวะของบุคคลที่ดีขึ้นกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลง

Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อที่จะทดสอบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามของผู้ป่วยเอดส์กับการฟื้นฟูกลับไปสู่บทบาทการทำงาน ซึ่งการนำกิจกรรมบำบัดมาช่วยเหลือผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ที่ติดเชื้อHIV ให้ผู้ป่วยได้รับรู้ในบทบาทของตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีความเข้าใจตนเอง และนอกจากนี้ยังมีส่งเสริมความสามารถของผู้ป่วยในหลายๆด้าน เช่น การส่งเสริมการทำงานในงานที่ผู้ป่วยเคยทำให้ดีขึ้น หรือพัฒนาทักษะการทำงานใหม่ๆ รวมกับการจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การสามารถกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนคนปกติทั่วไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


Reference:

Braveman, B., Kielhofner, G., Albrecht, G., & Helfrich, C. (2006). Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS. Work, 27(3), 267-276

หมายเลขบันทึก: 623217เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท