กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้อย่างไร? ตามความคิดของฉัน, นักศึกษากิจกรรมบำบัดคนหนึ่ง


"กิจกรรมบำบัด"

ชื่อๆนี้ปัจจุบันในไทยอาจยังไม่เป็นที่รู้จักคุ้นชินมากนัก แต่ทราบหรือไม่ว่าวิชาชีพกิจกรรมบำบัดนั้นได้ถือกำเหนิดขึ้นอยู่บนโลกใบนี้ของเรามาเกือบ 100 ปีแล้ว จากทางฝั่งตะวันตก

ซึ่งความหมายของ กิจกรรมบำบัดนั้น ดิฉันขออธิบายให้ฟังอย่างเข้าใจง่ายๆว่า คือคนๆหนึ่งที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ที่มีความยากลำบากในการทำ 'กิจกรรมการดำเนินชีวิต' (กิจกรรมการดำเนินชีวิต? คืออะไร? มีมากมายหลายสิ่งเลยละค่ะท่านผู้อ่าน ยกตัวอย่างเช่นการทำกิจวัตรประจำวัน การเรียน การทำงาน การทำกิจกรรมยามว่าง การเข้าสังคม และการนอนหลับพักผ่อน) เพื่อเป้าหมายสูงสุดที่จะให้เขาเหล่านั้นสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ตามความสามารถสูงสุดของตัวพวกเขาเองในสภาพแวดล้อมหรือบริบทบทบาทของแต่ละบุคคล นำไปสู่การที่มีความพึงพอใจในการใช้ชีวิต คุณภาพชีวิตที่ดี และ สุขภาวะที่ดี



ดิฉันขอแอบเล่าให้ฟังว่า เมื่อหลายวันก่อน ดิฉันและเพื่อนๆ นักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสในการจัดการโต้วาทีเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ในขอบเขตของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดขึ้น โดยมีหัวข้อในการอภิปรายด้วยกันทั้งหมด 2 หัวข้อ นั่นก็คือ

  • Blended learning VS Traditional classroom (การเรียนแบบสมัยใหม่หรือ คือการเรียนในรูปแบบออนไลน์ ยกเว้นคาบที่เป็นปฏิบัติจะมีการเรียนในห้องเรียนเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองต่อสู้กับ การมาเรียนที่สถาบันการศึกษาในห้องเรียน ได้เจอหน้าอาจารย์ผู้สอนแบบจะๆ)
  • Hospital-based rehabilitation VS Community-based rehabilitation (การให้บริการ บำบัดฟื้นฟู ทางกิจกรรมบำบัดภายในโรงพยาบาล ที่มีอุปกรณ์ครบครัน ต่อสู้กับ การให้บริการ บำบัดฟื้นฟู ทางกิจกรรมบำบัดภายในชุมชน ที่เน้นนำสิ่งของรอบตัวรวมถึงคนในชุมชนมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการบำบัด)

.

.

มาเริ่มที่หัวข้อแรกกันเลยค่ะ

หลังจากที่ดิฉันได้ฟังการโต้วาทีเรื่อง การเรียนแบบสมัยใหม่, การเรียนในรูปแบบออนไลน์ VS การเรียนแบบนั่งเรียนปกติในห้องเรียน จบดิฉันก็พบว่าหัวข้อนี้เป็นประโยชน์มาเลยทีเดียวสำหรับนักกิจกรรมบำบัดในการช่วยส่งเสริมหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของคนในช่วง วัยเด็ก - วัยรุ่นในเรื่องของ "การเรียน(Education)" และก็พบว่าในการเรียนทั้งสองรูปแบบนั้นก็มีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน

  • การเรียนในรูปแบบออนไลน์ดีตรงที่ประหยัดเวลาและสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ทุกที่ตามที่ต้องการและเหมาะสำหรับผู้เรียนที่ต้องการสมาธิจดจ่อมากๆ เพราะจะไม่มีสิ่งแวดล้อมมารบกวนขณะเรียนเหมือนดังการเรียนในห้องเรียน แต่จะพบข้อเสียตรงที่ต้องใช่อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ซึ่งมาราคาค่อนข้างสูง เรื่องการเชื่อมต่อinternet การเข้าสู่ระบบรวมไปถึงการที่ไม่ได้ออกพบปะเพื่อนหรือผู้คนอื่นเป็นต้น
  • การเรียนรูปแบบดั้งเดิมหรือการนั่งเรียนในห้องเรียนข้อดีคือ ผู้เรียนสามารถสอบถามเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นได้ในทันทีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจได้มีการสร้างเสริมทักษะสังคมและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันคนในสังคม

แต่อย่างไรก็ดี การเรียนทั้งสองแบบนี้จะดีหรือไม่ ขึ้นกับหลากหลายปัจจัย เช่นรูปแบบการใช้ชีวิต, ความถนัด, ประสบการณ์, บริบทหรือระบบการจัดการของสถานศึกษา ,มุมมองความคิดของแต่ละบุคคล รวมไปถึงความสามารถของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยที่มีชื่อว่า Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism ที่ได้ให้ความสำคัญถึงการช่วยเหลือของคุณครูและเพื่อนๆในห้องเรียน ที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเข้าสังคมและการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่นในเด็กออทิสติกพัฒนาได้ดีมากขึ้น

ในหัวข้อที่สอง

การให้บริการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดภายในโรงพยาบาล VS การให้บริการ บำบัดฟื้นฟู ทางกิจกรรมบำบัดภายในชุมชน เช่นเดียวกันกับหัวข้ออภิปรายก่อนหน้า การให้บริการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดทั้งที่โรงพยาบาลและทั้งในชุมชน ต่างก็ช่วยส่งเสริมความสามารถด้านการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะได้ทั้งสิ้น

  • การให้บริการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดภายในโรงพยาบาล ด้วยความที่มีอุปกรณ์ครบครัน และบุคคลากรทางการแพทย์ที่ถึงพร้อมที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถของผู้รับบริการให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับบริการในรายที่ยังเจ็บป่วยอยู่ในระยะแรก อาการของโรคอาจยังไม่คงที่ ควรได้รับการดูแลจากทีมแพทย์และสหวิชาชีพอย่างใกล้ชิด ผู้รับบริการในระยะแรกจึงเหมาะสมที่จะรักษาตัวที่โรงพยาบาลก่อน
  • การให้บริการ บำบัดฟื้นฟู ทางกิจกรรมบำบัดภายในชุมชน การรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้นอาจเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ สุดท้ายแล้วผู้รับบริการก็ต้องกลับมาใช้ชีวิตตามปกติที่บ้านหรือในชุมชนของตนเอง ซึ่งกิจกรรมบำบัดในชุมชนก็จะช่วยดูแลปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อให้ส่งเสริมการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการให้ได้ดีที่สุด และการที่ได้มาทำการบำบักฟื้นฟูในสถานที่ที่ผู้รับบริการอยู่อาศัยจริงนั้น ถือเป็นการดูแลเชิงระยะยาว ที่มีทีมสหวชีพคอยมาเยี่ยมบ้าน ติดตามผลสุขภาพเป็นระยะๆ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของผู้รับบริการอย่างถาวร

จะเห็นได้ว่าการดูแลรักษา บำบัดฟื้นฟูทั้งแบบภายในโรงพยาบาลและภายในชุมชนก็สามารถนำมาประกอบกันเพื่อไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของผู้รับบริการได้อย่างดียิ่งขึ้น ดังงานวิจัยที่มีชื่อว่า Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS ที่ได้กล่าวถึงการนำกิจกรรมบำบัดมาช่วยเหลือผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ที่ติดเชื้อHIV ให้ผู้ป่วยได้รับรู้ในบทบาทของตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน และเข้าใจตนเอง นอกจากนี้ยังมีส่งเสริมความสามารถของผู้ป่วยในหลายๆด้าน อาทิเช่น การส่งเสริมการทำงานในงานที่ผู้ป่วยเคยทำให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั้งพ้ฒนาทักษะการทำงานใหม่ๆ บวกกับการจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การสามารถกลับไปทำงานได้อย่างเต็มที่เหมือนคนปกติทั่วไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


กล่าวโดยสรุป จากหัวข้อเรื่องที่ว่ากิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้อย่างไร?
คำว่า "สุขภาวะ" (Well-Being) หมายถึงการมีสุขภาพดี มีความรู้สึกเป็นสุข ความสมดุล ความเป็นองค์รวมของ 4 มิติ คือ กาย จิต สังคม ปัญญาหรือจิตวิญญาณ ที่บูรณาการอยู่ในการพัฒนามนุษย์และสังคม เพื่อสร้าง “ความอยู่เย็นเป็นสุข” (ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล, 2549 อ้างถึงใน กองบรรณาธิการใกล้หมอ, 2547)
ซึ่ง"กิจกรรมบำบัด" นี้จะช่วยในการบำบัดฟื้นฟูรักษาผู้ป่วยให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ให้มากที่สุดตามความสามารถ รวมถึงทำการส่งเสริมความสามารถให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างดียิ่งขึ้น โดยเน้นไปที่ความต้องการของผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางซึ่งเมื่อคนเราสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ดี มีสุขภาพที่ดีไม่ว่าจะในสถานที่โรงพยาบาลหรือในชุมชนหรือบ้านตนเองหรือที่ใดก็ตาม ก็จะทำให้ชีวิตเกิดความสมดุล และเป็นสุข หรือเรียกว่าเกิดสุขภาวะที่ดี well-being ตามความหมายที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนัั่นเองค่ะ



หมายเลขบันทึก: 623210เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท