กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยได้อย่างไร


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในวันนี้ผมจะกล่าวถึง กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยได้อย่างไร ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล

ก่อนอื่นผมจะขอพูดถึงความหมายของสุขภาวะก่อน สุขภาวะหมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งร่ายกาย จิตใจ สังคม และปัญญา มิใช่เพียงการปราศจาโรคภัย เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่า การดำรงชีวิตของบุคคลที่มีร่างกายที่แข็งแรง มีความสุขอยู่ในสังคม ซึ่งในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งปัญหาด้านต่างๆแก่สังคม

หลายคนอาจมีคำถามว่านักกิจกรรมคืออะไร มีบทบาทอะไรต่อสังคมไทย จากประสบการณ์ในการเรียนเกือบ 4ปี ของผม จะขอให้คำนิยามว่า ผู้สอนส่งเสริมทักษะการดำเนินชีวิตไมว่าจะเป็นกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ขั้นสูง รวมไปถึงการทำงานการเข้าร่วมสังคม ในทุกช่วงวัย เด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน และ วัยชรา ซึ่งส่งเสริมให้ผู้รับบริการผู้มีความบกพร่องนั้นสามารถทำกิจกรรมได้มากที่สุดเท่าที่ผู้รับบริการสามารถทำได้ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดได้นำ หลักการและเทคนิคมากมายใช้ในการบำบัดและรักษา ผมขอกล่าวถึง 2หลักการ ที่เรียกว่านักกิจกรรมบำบัดคำนึงถึงเป็นอย่างแรก

  • Client-centred practiceการบำบัดแบบยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางไม่มีการชี้นำ เกิดจากความต้องการของผู้รับบริการ ซึ่งเป้าหมายของหลักการนี้ เพื่อส่งเสริม การเข้าใจตนเองดียิ่งขึ้น การลดการป้องป้องตนเอง ความรู้สึกผิด ความไม่มั่นคงในใจ การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นดีขึ้น รวมไปถึงแรงจูงใจในการบำบัด(Motivation) ความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem)
  • Holistic approach เป็นการมองผู้รับบริการแบบไม่แยกส่วนทั้ง จิตใจ (Mind) ร่ายกาย(Body) และ จิตวิญญาณ (Spirit) นั้นคือ ร่างกายแข็งแรง จิตใจก็ต้องแข็งแรงด้วยนั้นเอง

จากหลักการข้างต้นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ นักกิจกรรมบำบัดยึดกิจกรรม(Occupation) เป็นสื่อการรักษาและเป็นตัวกำหนดการบำบัดรักษา ซึ่งต้องตรงความต้องการ ต้องมีคุณค่า และความหมายต่อผู้รับบริการนั้นเอง โดยฝ่ายการรักษาบำบัดนั้นแบ่งได้ออกเป็น 4 ฝ่ายใหญ่ๆ ได้แก่ เด็ก กาย จิต และผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าจะแบ่งออกเป็นฝ่ายแต่นักกิจกรรมบำบัดนั้นจะมองคนไข้แบบไม่แยกส่วนตามหลักการ Holistic approach ที่กล่าวข้างต้นไปนั้นเอง นอกจากนั้น นักกิจกรรมบำบัดนั้นยังมีบทบาทในผู้ติดเชื้อเอดส์ในการกลับสู่สังคม ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การดำเนินชีวิตกับผู้อื่นในสังคม ผู้ติดเชื้อเอดส์นั้นก็สามารถกลับไปทำงานที่เค้าต้องการ ได้นั้นเอง

จากบทความการศึกษาชื่อ “Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS” เป็นการทดสอบและอธิบายถึง ผู้รับบริการชาย 12 คนที่มีเชื้อ เอดส์มี่กลับไปทำงานและมีบทบาทในสังคม จากผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า

“Occupation identity” ที่เกิดจาก สิ่งที่เป็น ประกอบกับสิ่งที่อยากจะเป็น ทั้งเรื่องในอดีต เจตจำนงค์(Volition) นิสัย(Habituation) และ ประสบการณ์ (Experience) ประกอบกันเป็น เอกลักษณ์การดำเนินชีวิต หรือ Occupation identity

“Occupational competence” ความสามารถในการดำเนินชีวิต การทำกิจกรรม รวมถึงความสามารถในการนำทักษะที่มีอยู่ไปใช้ในสถานการณ์ หรือกิจกรรมใหม่ๆ

“Environment” ทั้งบริบททางบุคคล และสังคม ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย บ้าน คนรอบตัว พ่อแม่พี่น้อง และ เพื่อนร่วมงาน

ทั้ง 3 อย่างนี้ จะช่วยสร้างให้ผู้มีเชื้อเอดส์เข้าใจ และ กลับไปมีบทบาทในสังคมในงานของผู้รับบริการเอง

นอกจากนั้นกิจกรรมบำบัดยังมีบทบาทในเด็ก ออทิสติกรวมไปถึงเด็กที่จะโตเป็นวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่มีภาวะออทิสติก จากบทความการศึกษาที่ชื่อว่า Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism” พบว่าพ่อแม่หรือ ผู้ปกครอง มีบทบาทสำคัญที่ช่วยส่งเสริมวัยรุ่นที่มีภาวะออทิสติกในการดำเนินชีวิตในสังคม โดยส่งเสริมร่วมกับโปรแกรม Social Cognition and Interaction Training-Autism (SCIT-A)

จะเห็นได้ว่ากิจกรรมบำบัดมีบทบาทในการส่งเสริมให้กลับสู่สังคมในผู้รับบริการประเภทต่างๆ เช่น ผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องการกลับไปทำงาน ผู้มีภาวะออทิสติกที่ต้องการอยู่ในสังคมได้ นอกจากนี้จากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจจากคลาสเรียนในห้อง เป็นการโต้วาทีเรื่องกิจกรรมบำบัดในโรงพยาบาล vs กิจกรรมบำบัดในชุมชน จากการโต้วาทีครั้งนี้ผมได้ประโยชน์อย่างมากและสรุปออกมาได้ดังนี้ ในโรงพยาบาลนั้นเหมาะสมในแง่ของการรักษาระยะเฉียบพลัน พร้อมด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์สามารถควบคุมบุคคลากรและผู้รับบริการได้ง่าย เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้รับบริการสู่ชุมชนจริง ส่วนในชุมชน เป็นบริบทที่ผู้รับบริการต้องใช้ชีวิตอยู่จริงทำตามบทบาทจริง ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดมีหน้าที่บำบัดฟื้นฟูให้ผู้รับบริการสามารถกลับมาดำเนินชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยยึดหลักของ กิจกรรมที่ผู้รับบริการต้องการ สนใจ และให้คุณค่า ไม่ว่าจะบริบทไหนก็ตาม

จากที่กล่าวไปข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทบาทกิจกรรมบำบัดที่ขับเคลื่อนสังคม ยังมีอีกหลายส่วนมากมายที่กิจกรรมบำบัดมีส่วนช่วยในสังคม



อ้างอิง

Loukas, K. M., Raymond, L., Perron, A. R., McHarg, L. A., & LaCroix Doe, T. C. (2015). Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism. Work, 50(3), 457-463.

Law, M., Baptiste, S., & Mills, J. (1995). Client-centred practice: What does it mean and does it make a difference? Canadian journal of occupational therapy, 62(5), 250-257.

Braveman, B., Kielhofner, G., Albrecht, G., & Helfrich, C. (2006). Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS. Work, 27(3), 267-276.

หมายเลขบันทึก: 623216เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท