บันทึก : ศิษย์นอกคอก(๑)


บันทึกนี้ อาจเป็นโลกทัศน์ค่อนข้างนอกกรอบ เเละกระบวนทัศน์นอกกระเเส เเต่มันเป็นความจริงในระดับพื้นฐานที่เราควรมองเเละเห็นในบางส่วนที่เราหลงลืม เห็นในบางความหมายที่เราเฝ้ารอคำตอบมานานเเสนนาน ให้ชื่อว่า บันทึกศิษย์นอกคอก เพราะมิใช่งานเขียนที่อ่านเเล้วจะเข้าใจได้เลย เเต่ต้องอาศัยใจในการมองเป็นหลัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑) โลกนี้มี ๔ ขั้ว : หากเราถามคนทั่วไปว่า ปกติเเล้วโลกนี้มีกี่ขั้ว เเน่นอนว่าเขาจะตอบว่า ๒ ขั้วได้แก่ ขั้วบวกเเละขั้วลบ หรือถูกเเละผิดนั่นเอง แต่ทว่าโลกมันมิได้มีเพียงเเค่นั้น มันมีอีกจำนวนมาก เเต่หลักๆมีอีก ๒ ขั้ว ได้แก่ ทั้งถูกเเละผิด เเละไม่ถูก ไม่ผิด เพราะในโลกของตรรกศาสตร์ล้วนเป็นไปได้เสมอ เเละทุกสรรพสิ่งเชื่อมโยงกัน

๒) การศึกษา คือ ความหลอกลวง : คำๆนี้มันคงจะขัดกับความรู้สึกเราทุกคน เพราะเราตีความว่าการศึกษา คือ การก้าวไปข้างหน้าเเละเจริญงอกงาม เเต่ทว่ามันก็มีนัยของความหลอกลวงซ่อนอยู่ เช่น มาหลอกเราว่าการสอบมีคุณค่ากว่าความสุข คะแนนมีคุณค่ากว่าประสบการณ์จริง เเละการเชื่อครูจะช่วยให้ได้ข้อเท็จจริงที่เเท้ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นคุณค่าเทียมที่หลอกลวงเราให้ตกหลุมพรางไปตามๆกันทั้งสิ้น

๓) ความรู้ขยะ : บางทีคำๆนี้ก็ขัดกับปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน เเต่อยากให้ท่านมองดูว่า เรามีความรู้จำนวนมากที่ไม่จำเป็นเเละใช้ประโยน์ไม่ได้เลย ความรู้เหล่านั้นให้ชื่อว่าความรู้ขยะ สมองก็เหมือนขวดโหลบรรจุทราย หากเราเอาเเต่ก้อนกรวดใหญ่ๆที่ไม่มีประโยชน์มาบรรจุใส่โหล เเน่นอนว่าเราจะมีพื้้นที่ว่างสำคัญสิ่งดีๆเเละความรู้ที่จำเป็นน้อยมาก ฉะนั้นเเล้วความรู้ขยะจึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรนำมาใส่หัวมากจนเกินไป

๔) การสร้างหุ่นยนต์ : การศึกษาในปัจจุบัน คือ ระบบการผลิตหุ่นยนต์ให้ไปเป็นเเรงงานทำงานให้รัฐในอนาคต มิใช่การศึกษาเพื่อชีวิต เเต่เป็นการศึกษาเพื่อการสร้างหุ่นยนต์ "พิมพ์เดียวเขียวทั้งโรงงาน" ฉะนั้นเเล้วเราต้องผลักดันการศึกษาเพื่อชีวิตให้มีมากขึ้นเเละมากที่สุด

๕) ระดับชั้นทางจิตวิญญาณ : ระดับที่ ๑) คุณวิทยา(ถูกเเละผิด) ๒)ญาณวิทยา(ไม่ถูกเเละไม่ผิด) ๓)อภิปริชญา(ความจริงเเเท้) เราต้องเดินทางจากเบื้องต่ำ คือ คุณวิทยา ให้ไปถึงอภิปรัชญา นี่ คือ ยกระดับทางจิตวิญญาณ ซึ่งนอกจากที่จะพัฒนาโลกเเล้วต้องพัฒนาจิตตนเองด้วย

๖) เป้าหมายการเรียนรู้ต้องเป็นทางออกด้านจิตวิญญาณหรือนามธรรม : โดยมิใช่การเเสวงหาทางออกด้านวัตถุ นั่นมิใช่ทางออกแต่เป็นทางตัน เพราะยิ่งเดินยิ่งแบก มิใช่การละวาง

๗) อย่าติดตำรา ให้รู้คำว่าเถื่อนบ้าง : หากครูสอนเรามาว่า หลักการต้องเป็นแบบนี้ๆ หากเราเชื่อเลยว่าเป็นเเบบนั้น การศึกษาคงจะล้มเหลวมาก เพราะที่ครูสอนเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆเท่านั้น ยังมีหลักการอื่นๆอีกมากที่เรายังมิได้เรียนรู้ เเละความเข้าใจที่ลึกซึ้งเราต้องตระหนักรู้ด้วยตนเอง เเละเราไม่อาจทรนงค์ตนว่า เป็นผู้รู้ตราบใดที่เรายังมิได้เข้าใจมันจริงๆอย่างพหุทฤษฎี

๘) การศึกษา คือ ความสุขที่เเท้ : การศึกษามิใช่ความสุขที่เทียมแบบติดอยู่ในโลกของการเถียง การคัดค้าน หรือจิตพิพากษา เเต่ต้องข้ามพ้นคุณวิทยาแบบโลก ไปสู่โลกแห่งธรรมชาติหรือความจริงเเท้ นั่นเอง

๙) Steel Reader : คือ ผู้นำที่เเท้ มิใช่การออกไปพูดดีๆเเล้วไม่เกิดประโยชน์ ไม่ทำอะไร เเต่ผู้นำอย่างเเท้จริงต้องเข้าใจ เรื่อง การเเสดงออกเเละคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่เเท้จริงต่างหากเล่า

๑๐) ฝึกสิ้นคิด : ปัจจุบันเราฝึกเเต่การคิดแบบนั้น แบบนี้ จนเป็นทุกข์ทางใจมาก ซึ่งเราไม่เคยฝึกสิ้นคิดให้ตนเองสุขเลย มีความหมายว่า เราควรฝึกยั้งคิดเพื่อความสงบสุขทางใจ ที่เป็นสุขที่เเท้ การศึกษาที่เเท้ นั่นเอง

๒๐ ม.ค. ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 621848เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2017 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2017 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท