วปช. สะสมกำลัง ดักทาง ไทยแลนด๋ 4.0


ประธานสภาองค์การบริหารจังหวัดพัทลุง คุณ วงษ์รัตน์ เพชรตีบ มานั่งคุย ร่วมคิด ค้นทุน ของคนลุ่มน้ำทะเลสาบพัทลุง สงขลา นครศรีฯ

ในค่ำคืนที่ประเสริฐเมื่อ นักศึกษา วิทยาลัยป้องกันชุมชน จาก3 จังหวัด สุราษฎร์ ตรังสตูล เดินทางมาปากพะยูน มาพรวนความคิด สำนึกพลเมือง ที่บ้านผู้เขียน ได้เรียนเชิญ ประธานสภาองค์การบริหารจังหวัดพัทลุง คุณ วงษ์รัตน์ เพชรตีบ มานั่งคุย ร่วมคิด ค้นทุน ของคนลุ่มน้ำทะเลสาบพัทลุง สงขลา นครศรีฯ หลังอาหารคำ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในมุมมองของผู้มาเยือนและมุมเจ้าของพื้นที่ ได้ข้อสรุปว่า พื้นที่รอบลุ่มน้ำทะเลสาบ เหมาะแก่การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพราะมีทุนทางสังคมสูงในภูมินิเวศน์ พหุวัฒนธรรม แต่ยังขาดทุนเงินตรา และทุนวิชาการ ในส่วนของทุน วิชาการ ท่านประธานรับเป็นผู้ประสานกับ สำนักวิจัย สกว และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในส่วนภาคประชาสังคม มอบให้ผู้เขียนประสานงาน กับ นักศึกษา วปช ทั้ง 3 จังหวัดนัดมารือร่วมกัน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยวโดยชุมชน รอบลุ่ม3 น้ำ น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม ดักทาง นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ตามโครงการ


"โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้พหุสังคมของชุมชนทะเลสาบสงขลา

เจตนารมณ์

1. ให้ประชากรในพื้นที่มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยถึงระดับปานกลางของระดับเฉลี่ยทั่วประเทศ

2. ชุมชนมีสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3. อาชีพหรือกิจการอยู่บนฐานการใช้ความรู้โดยประยุกต์ภูมิปัญญากับเทคโนโลยีที่คงอัตตลักษณ์และสงวนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

4. การพัฒนาทางเศรษฐกิจต้องบูรณาการได้กับวัฒนธรรมและวิถึชึวิตที่ดำรงอยู่และชุมชนมีส่วนร่วม

พื้นที่ดำเนินการ

1. ทะเลสาบสงขลาตอนกลางและตอนบนรวมถึงเกาะในทะเลสาบ

2. พื้นที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ติดกับทะเลสาบสงขลาตอนบนและตอนกลาง

ข้ันตอนดำเนินการ

1. สำรวจสำมโนประชากร ชาติพันธ์ วัฒนธรรม คุณภาพชีวิต ในภาวะปัจจุบัน

2. จัดกลุ่มฐานอาชีพ และแนวโน้มการใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพ

3. สำรวจทรัพยากรและความเท่าเทียมในการเข้าถึง

4. สำรวจทางธรณีวิทยา อุทกวิทยา โครงสร้างพื้นฐานที่ได้พัฒนามาแล้ว

5. สำรวจทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และร่องรอยทางอารยธรรม

6. ศึกษาเรื่องอื่นที่อาจจะเกี่ยวข้อง

แผนและงบประมาณ

ดำเนินการเมื่อมีข้อสรุปจากงานสำรวจหรือวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์

-ด้านเศรษฐกิจตามเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0

-ด้านสังคมลดความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเข้าถึง

-ประชาชนมีจิตสำนึกพลเมือง

ตัวชี้วัด

-เกิดกิจกรรมที่กระจายรายได้ เช่นการท่องเที่ยวโดยชุมชน วิสาหกิจชุมชน

-สังคมมีสุขภาวะ ประชาชนมีส่วนร่วมจัดระบบสวัสดิการ

-ลดความขัดแย้งด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเช่น project citizens

-เกิดเป็นสังคมความรู้และใฝ่รู้โดยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

จังหวะก้าว ภาคประชาสังคม ต้องทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลที่รู้เท่าทัน ตัดสินใจอนาคตของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนลุ่มน้ำแห่งประวัติศาสตร์ พัทลุง สงขลา นครศรีฯ



หมายเลขบันทึก: 620941เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2017 03:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2017 03:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีปีใหม่จ้ะลุงวอ

หากทุก ๆ ชุมชนในเมืองไทย

เป็นแบบนี้ เมืองไทยคงเป็นสวรรค์

ที่น่าอยู่ที่สุดนะจ๊ะ



น้องมะเดื่อ เมืองกุย ยังลุยน้ำเหลยม้าย( น้ำยังท่วมอยู่มั้ย)

ปากยูน โซนเขา เบาบาง มาหนักโซนเล น้ำท่วมขัง รอบลุ่มน้ำทะเลสาบ

มีหน่วยงานมา ส่งเสบียงหลายสำนัก

ขอบคุณอาจารย์ จัน สวัสดีปีใหม่เช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท